เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีกว่าของคนรุ่นถัดไปภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainovation)
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

บริษัทมุ่งเน้นการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน (Care for Career) โดยการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เพื่อให้พนักงานสามารถเติบโตในสายอาชีพได้อย่างมั่นคงและสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยโปรแกรมการพัฒนาบุคลากร 4 ด้านหลัก ดังนี้

  1. โปรแกรมพัฒนาความรู้พื้นฐาน (CPF Fundamental Program) ให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในข้อบังคับและนโยบายของบริษัท สามารถปฏิบัติตนตามค่านิยมขององค์กร เข้าใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งยังพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน
  2. โปรแกรมพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills Program) แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นฐาน ระดับกาง และระดับสูง ครอบคลุมทักษะที่จำเป็น 7 ด้าน กว่า 65 หลักสูตร
  3. โปรแกรมพัฒนาทักษะการบริหารจัดการและความเป็นผู้นำ (Managerial & Leadership Development Program) เสริมทักษะด้านการบริหารบุคลากร (สร้างคน ใช้คน และรักษาคน) พร้อมการเป็นผู้นำที่มีทักษะและความเข้าใจทางธุรกิจ ออกแบบให้เหมาะสมกับบทบาทของผู้บริหารใน 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง (Senior Management) กลุ่มผู้บริหารระดับต้น (Management) กลุ่มหัวหน้าและผู้ชำนาญการ (Manager) และกลุ่มหัวหน้าผู้ปฏิบัติการ (Supervisor)
  4. โปรแกรมพัฒนาทักษะเฉพาะงาน (Technical Skills Program) พัฒนาความสามารถของพนักงานให้ตรงกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ และมีระบบการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามกลุ่มวิชาชีพ (Technical Academy) ในแต่ละหน่วยธุรกิจตั้งแต่ปี 2564

นอกจากนี้ ยังมีทุนการศึกษาของบริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานและบุตรของพนักงานได้รับทุนการศึกษา โดยมีจำนวนทุนการศึกษากว่า 80 ทุน เพื่อสนับสนุนพนักงานที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ในระดับสูง ปัจจุบันมีพนักงานที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 11 คน และกำลังศึกษาอยู่ 7 คน แสดงถึงการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง และยังมีโครงการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล โดยเฉพาะการเพิ่มทักษะพนักงานในหลักสูตร Gen AI ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถนำความรู้มาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้จัดอบรมอย่างต่อเนื่องและมีหลักสูตรให้พนักงานเข้าร่วมตลอดปีที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 12,500 คน ซึ่งแต่ละโครงการมีรูปแบบแตกต่างกัน เช่น CPF Hack the Future: Pitching Project นำเสนอโครงการต่อผู้บริหารในรูปแบบ Pitching Project และหลักสูตร AI เน้นการลงมือทำจริง พัฒนาทักษะการใช้ AI ผ่านกิจกรรม สามารถนำไปใช้ในการทำงานและส่งเสริมการต่อยอดองค์ความรู้นวัตกรรมใหม่ๆ

บริษัทยังมีกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรอีก 3 แนวทางหลัก ดังนี้

  1. การจัดโครงสร้างองค์กรแบบแบนราบและการทำงานแบบ Modular & Agile ช่วยลดลำดับชั้นการบังคับบัญชา เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการสื่อสารและการตัดสินใจ ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมและมีอำนาจการตัดสินใจในหน่วยงานของตน สนับสนุนการทำงานแบบ Modular & Agile ช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พร้อมเสริมสร้างการสื่อสารและความร่วมมือในทีม
  2. การวางแผนอัตรากำลังเชิงกลยุทธ์ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในอนาคต เน้นการคาดการณ์ความต้องการบุคลากรในระยะยาว การวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็น และการสร้างแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรมีทักษะและความสามารถที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนธุรกิจ นอกจากนี้ ยังจัดสรรบุคลากรอย่างเหมาะสมตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนขององค์กร
  3. การสนับสนุนการหมุนเวียนงาน ส่งเสริมการเติบโตในสายอาชีพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างยั่งยืน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การหมุนเวียนงานภายใน (Internal Resourcing) ช่วยสร้างประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย สนับสนุนให้พนักงานกำหนดเส้นทางอาชีพของตนเอง และการหมุนเวียนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Rotation) มุ่งยกระดับศักยภาพของกลุ่มผู้มีความสามารถสูง (Talent Successor) ผ่านการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในหลายแขนงและส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบยั่งยืน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย หรือที่เรียกว่า Hybrid training มีทั้งรูปแบบ On-line On-site On-ground และ On-demand ซึ่งปรับให้เหมาะสมกับหลักสูตรการเรียนรู้แต่ละรายการ เน้นให้เกิดการเรียนรู้ นำไปปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน E-Learning การเรียนสดผ่านระบบออนไลน์ (Virtual Training) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Coaching) และการทำจริงที่หน้างาน (On-the-job Training) เป็นต้น

โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทได้เปิดโอกาสให้ปรับรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับเนื้องานและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองได้จากทุกที่ทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ “อิ่มรู้” ที่ให้พนักงานสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และการพัฒนาทักษะ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงองค์ความรู้รูปแบบ On-demand Learning มากกว่า 900 หลักสูตร

ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์

ซีพีเอฟเปิดเผยตัวชี้วัดที่สำคัญด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อปี ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อปีของพนักงานประจำ และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล (Human Capital ROI)

ในปี 2566 ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลสำหรับกิจการทั่วโลกอยู่ที่ 0.89 บาท

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x