การบริหารจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานตลอดจนผู้รับเหมา เนื่องจากพนักงานและผู้รับเหมาเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม และมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซีพีเอฟจึงดำเนินงานภายใต้นโยบายและมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงานของซีพีเอฟ (CPF SHE&En Standard) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ISO14001, ISO45001, และ ISO50001 และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดทั้งในระดับประเทศและระดับสากลอย่างเคร่งครัด โดยมีการทบทวนเป็นประจำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรและประเด็นความสนใจของผู้มีส่วนได้เสียที่เปลี่ยนแปลงไป และใช้เป็นกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงานซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในระดับหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของซีพีเอฟทุกหน่วยงานโดยครอบคลุมทั้งพนักงานของซีพีเอฟและผู้รับเหมา ในระดับหน่วยงานมีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สอดคล้องตามกฎหมายกำหนด โดยมีตัวแทนผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน โดยมีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน นอกจากนี้ยังรับฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากพนักงานเพื่อปรับปรุงมาตรการควบคุมความเสี่ยงและอันตรายต่างๆให้สอดคล้องกับ SHE&En Standard ของหน่วยงานอีกด้วย
ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลความปลอดภัยในการทำงานพนักงาน การดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น นอกจากการให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันอันตราย การบาดเจ็บจากการทำงานแล้ว ยังส่งเสริมให้มีการสร้างพฤติกรรมและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (Safety, Health, Environment and Energy หรือ SHE&En) ไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้นผู้บริหารแสดงถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีและความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้าน SHE&En เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมด้าน SHE&En ขององค์กรผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม
พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงผลการทำงานด้าน SHE&En อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้พัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (CPF Safety, Health, Environment, and Energy Standard) หรือ CPF SHE&En Standard ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการอันตรายและความเสี่ยงด้าน SHE&En ของ CPF ซึ่งอาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มาตรฐานนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ CPF โดยผนวกเข้ากับการวางแผนและดำเนินธุรกิจตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหารงาน แผนการดำเนินงาน ของหน่วยงาน การวัดและติดตามประสิทธิผลการดำเนินงานของธุรกิจ รวมทั้งมีกระบวนการสื่อสารนโยบายไปสู่องค์กรภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับให้มีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
ข้อกำหนดของ CPF SHE&En Standard นี้ ได้รับการทวนสอบและยืนยันจากผู้ทวนสอบอิสระว่ามีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องคือ ISO14001:2015 ISO45001:2018 และ ISO50001:2018 และเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติเพื่อจัดการอันตรายและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล บริษัทจึงได้จัดให้มีการตรวจประเมินและรับรองการดำเนินงาน CPF SHE&En Standard ในระดับหน่วยงานโดยหน่วยตรวจประเมินอิสระ (Independent Certification Body) ด้วยกระบวนการตามหลักสากล เป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าและลูกค้าในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยของพนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกคน ตลอดจนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรไปพร้อมกัน
ปัจจุบัน CPF มีหน่วยงานที่ได้รับรอง CPF SHE&En Standard ไปแล้วกว่า 200 หน่วยงานในประเทศไทย ประสิทธิผลการนำ CPF SHE&En Standard ไปใช้ในการบริหารจัดการอันตรายและความเสี่ยงด้าน SHE&En สามารถวัดผลได้จากตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (Safety, Health, Environment and Energy Key Performance Indicators, SHE&En KPIs) ซึ่งมีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างสอดคล้องกับ Global Reporting Initiative Standard หรือ GRI Standard ทุกหน่วยงานจะต้องรายงานข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ผู้บริหารทั้งในระดับหน่วยงาน สายธุรกิจ และ บริษัทในภาพรวมสามารถติดตามข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของบริษัท
การวางแผน |
กำหนดโครงสร้างการบริหารงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย กลยุทธ์ แผนงาน ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ระบุ ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง พร้อมทั้งกำหนดแผนควบคุมและลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตลอดเวลา ครอบคลุมทุกกิจกรรมในทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน
ระบุข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามอย่างครบถ้วน
กำหนดและทบทวนเป้าหมาย ตัวชี้วัดและแผนงานที่สอดคล้องและสนับสนุนแผนธุรกิจ เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี
เพิ่มขีดความสามารถและสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานและผู้รับเหมา ผ่านการฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเชิงรุก
สื่อสารและเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร
|
การดำเนินงาน |
กำหนดระเบียบปฏิบัติ ปฏิบัติและควบคุมการดำเนินงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตาม ทั้งในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์ไม่ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน
|
การติดตาม ทบทวน และปรับปรุง |
ติดตามและประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการทวนสอบภายในและการทวนสอบโดยผู้ทวนสอบอิสระ พร้อมดำเนินกระบวนการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติการณ์ (Incident Fact Finding) เพื่อวิเคราะห์และนำมากำหนดมาตรการป้องกันเชิงรุก รวมทั้งแบ่งปันบทเรียนที่ได้รับให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
|
ความปลอดภัยในการทำงาน
ซีพีเอฟจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure: SOP) สำหรับงานที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อพนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยงานที่มีความเสี่ยงสูงประกอบด้วย
นอกจากนี้ การปฏิบัติงานในงานที่มีความเสี่ยงสูง งานติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงและเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน และงานที่มีการกำหนดให้ต้องขออนุญาตเข้าทำงาน ก่อนปฏิบัติงานจำเป็นต้อง
- วิเคราะห์อันตราย (Job Hazard Analysis) และกำหนดมาตรการควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทุกครั้ง โดยผู้ที่ผ่านการอบรมและมีความรู้ความสามารถตามข้อกำหนดของ CPF SHE&En Standard
- มีการตรวจสอบและสังเกตการความเสี่ยงในระหว่างปฏิบัติงาน
- มีนโยบายและกระบวนการให้พนักงานและผู้รับเหมาสามารถหยุดการทำงานของผู้อื่นได้ รวมถึงสามารถปฏิเสธการปฏิบัติงานตามความเหมาะสมโดยที่จะไม่มีผลกระทบใดๆต่อการประเมินผลงาน และสามารถรายงานความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (Near Miss Report) เมื่อพบเห็นเหตุการณ์หรือสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
รวมทั้งกำหนดกฏระเบียบความปลอดภัยสำหรับรถบริการรับส่งพนักงานและความปลอดภัยสำหรับหอพักพนักงานอีกด้วย
การสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย
ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับซีพีเอฟที่มีความมุ่งหวังให้พนักงานทุกคนภายในองค์กรมีความตระหนักและทัศนคติที่ดีกับความปลอดภัย จนเกิดเป็นพฤติกรรมและวัฒนธรรมความปลอดภัยในที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะที่ซีพีเอฟมีการจัดจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความรู้ การศึกษาสังคม เชื้อชาติ และสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบัน การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนี่งของ CPF SHE&En Standard โดย
- สร้างภาวะผู้นำให้ผู้บริหารเข้าใจบทบาทหน้าที่และการเป็นตัวอย่างที่ดีด้านความปลอดภัย
- สร้างแรงจูงใจโดยมอบรางวัลแก่พนักงาน เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน
- เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพูดคุยความปลอดภัยก่อนเริ่มงานประจำวัน (Safety Talk) การแลกเปลี่ยนความรู้ (Lesson Learned) ทั้งในระดับผู้บริหารสายธุรกิจ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับเหมา โดยข้อมูลจะถูกรวบรวมและใช้เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอต่อคณะกรรมบริหารจัดการด้าน SHE&En เพื่อทบทวนกลยุทธ์ เป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติเป็นประจำทุกปี
- นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการความปลอดภัย (Safety Week) การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยที่มาจากโครงการ “คิดก่อนทำ” “เพื่อนช่วยเพื่อน” และ”การสังเกตการณ์ (Behavior -Based Safety Observation)” โดยมีการติดตาม ให้คำแนะนำ และสร้างแรงจูงใจในเชิงบวก เป็นต้น
กระบวนการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติการณ์ที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ซีพีเอฟมีกระบวนการรายงานสาเหตุในกรณีที่พบอุบัติการณ์ (Incident) และเหตุการณ์ที่เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) รวมถึงกรณีที่พบสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยหรือที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือมีแนวโน้มที่จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด นอกจากนี้ยังมีกระบวนการในการค้นหาสาเหตุ วิเคราะห์ แก้ไข ป้องกัน และติดตามผลการแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ หากเกิดอุบัติการณ์รุนแรงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างน้อยหนึ่งสิ่งที่ทำให้ 1) ธุรกิจหยุดชะงัก 2) เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่ามาก 3) มีผู้เสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือส่งผลกระทบต่อบุคคลจำนวนมาก 4) ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นวงกว้าง ซีพีเอฟกำหนดขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
การเพิ่มขีดความสามารถพนักงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ซีพีเอฟกำหนดหลักเกณฑ์ในการระบุความต้องการและจัดทำแผนการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีว อนามัย (Training Matrix) ที่จำเป็นสำหรับพนักงานและผู้รับเหมาให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง หรือตรงตามประเภทของงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในสิ่งที่อาจเป็นอันตรายและก่อให้เกิดอุบัติเหตุ วิธีการป้องกันและควบคุมอันตรายในขณะปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยความปลอดภัย ตัวอย่างหลักสูตรการอบรม เช่น หลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม หลักสูตรการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ระดับหัวหน้างาน ระดับปฏิบัติการ ระดับผู้บริหาร และหลักสูตร 5 อันตรายอุบัติภัยใกล้ตัว เป็นต้น
อาชีวอนามัย
ซีพีเอฟประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน (Health Risk Assessment) และกำหนดมาตรการป้องกัน ควบคุมอันตรายจากการทำงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยใช้ระบบควบคุมทางวิศวกรรม หรือระบบการจัดการอื่นๆ เพื่อลดการสัมผัสกับอันตรายในระหว่างการทำงาน ได้แก่
- จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนพอเพียงกับพนักงาน
- จัดให้มีการเฝ้าระวังทางการแพทย์ (Medical Surveillance) รวมถึงโปรแกรมการตรวจสุขภาพ ให้เหมาะสมกับเพศ อายุ และความเสี่ยงจากการทำงานแต่ละประเภท
- จัดให้มีโปรแกรมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจากการทำงานโดยบุคลากรทางการแพทย์
- จัดให้มีบริการทางการแพทย์ และการปฐมพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ โดยให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการทำงานและลักษณะของงานตามความเสี่ยง รวมถึงพิจารณาข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องให้มั่นใจว่าการดูแลสุขภาพของพนักงานอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
- สนับสนุนให้พนักงานมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือโปรแกรมการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพและสภาวะแวดล้อมในการทำงานได้ ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ อีเมล์ HRcommunication และเฟสบุ๊คขององค์กร และ แอพพลิเคชั่น CPF Connect
- มีกระบวนการเฝ้าระวังโรคติดต่อ โรคระบาด มีแนวทางและมาตรการป้องกันโรคดังกล่าว เช่น โรคติดเชื้อโควิด-19 ไข้หวัดประจำฤดู
- ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในให้กับพนักงาน รวมถึงคู่สมรสและบุตร
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว บริษัทตระหนักถึงความปลอดภัยของพนักงานจึงแต่งตั้งคณะกรรมการและจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อกำหนดมาตรการและแผนงานในการรองรับสถานการณ์ นอกจากนี้ บริษัทยังเปิดสายด่วนพิเศษให้กับพนักงานทุกคน ตอบทุกคำถามหรือข้อสงสัย เรื่อง COVID-19 ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเราเป็นห่วงสุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงานทุกคน