ซีพีเอฟตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ครอบคลุมตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหาร ศูนย์กระจายสินค้า และช่องทางจำหน่ายอาหารและร้านอาหาร สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) เรื่องการผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืน จึงกำหนดนโยบายการจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
จัดทำฐานข้อมูลการสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหารสอดคล้องกับข้อกำหนด Food Loss & Waste Protocol
บริษัทจัดทําข้อมูลการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ตามแนวทางการเก็บข้อมูลขององค์การอาหารและ การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อประเมิน การสูญเสียอาหารและหามาตรการลดการสูญเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ปัจจุบันครอบคลุมการดําเนินงานใน ธุรกิจสุกร ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ ไก่ไข่ สัตว์น้ํา อาหารสําเร็จรูป และแปรรูปไข่และขนมปัง โดยเก็บรวบรวมและ วิเคราะห์ปริมาณการสูญเสียอาหารในแต่ละกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท เพื่อหาจุดวิกฤตของ การสูญเสียอาหาร (Hotspot) นําไปสู่การจัดทําโครงการป้องกันและลดการสูญเสียอาหาร เช่น การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตเนื้อสุกร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเลือดก้อน และการปรับปรุงสูตรแผ่นแป้งเกี้ยว เพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารระหว่างผลิต นอกจากนี้ ซีพีเอฟได้มีการส่งเสริมให้ผู้ส่งมอบ (Supplier) เก็บรวบรวมข้อมูลการสูญเสียอาหาร (Food loss) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดปริมาณของเสียจากกระบวนการ ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น โรงงานจ้างชําแหละสุกร ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเกษตรกร และฟาร์มเลี้ยงเป็ด เป็นต้น
ลดการสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางการผลิต
มีกรอบการบริหารจัดการดังนี้



