เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

ด้วยความสำคัญของทรัพยากรน้ำต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ประกอบกับ
ซีพีเอฟตระหนักดีถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เราจึงให้ความสำคัญในการตั้งแต่การคัดเลือกสถานที่ตั้งของสถานประกอบการใหม่บนพื้นฐานการจัดการความเสี่ยงด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นควบคู่ไปกับการวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการออกแบบกระบวนการผลิตและเครื่องจักรที่ต้องคำนึงถึงความสมดุลของประสิทธิภาพในการผลิตร่วมกับการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าอีกด้วย

โดยซีพีเอฟใช้น้ำในกระบวนการผลิต ตั้งแต่ ใช้ในหม้อต้มไอน้ำ (Steam Boiler) ในธุรกิจอาหารสัตว์ ใช้ในการเลี้ยงสัตว์และเป็นน้ำหล่อเย็นในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ในธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และแปรรูป ใช้ในระบบทำความเย็น ระบบทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในธุรกิจอาหาร เป็นต้น

บริษัทได้จัดตั้งให้มี คณะกรรมการบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (SHE&En Committee) โดยมีประธานคณะผู้บริหารเป็นประธานคณะกรรมการฯ และผู้บริหารของทุกสายธุรกิจร่วมเป็นกรรมการ ได้มีการระบุเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักด้าน SHE&En ขององค์กร ได้มีนโยบายกำหนดเป้าหมายการนำน้ำมาใช้ต่อตันการผลิต บรรจุอยู่ในเป้าหมายด้าน SHE&En KPIs ประจำปี (เป้าหมายประจำปี) โดยเป้าหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายหลัก (เป้าหมายระยะยาว) ของการทำงานของสายธุรกิจ (Business’s Key Performance Indicators)

คณะกรรมการบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน มีการประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี เพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการด้าน SHE&En ติดตามและวัดผลการดำเนินงานตามนโยบายการบริหารจัดการน้ำที่กำหนดไว้ของแต่ละหน่วยธุรกิจ รวมทั้ง การพิจารณานวัตกรรมในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากการบริหารจัดการด้านปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตแล้ว บริษัทยังร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนโดยรอบติดตามสถานการณ์ปริมาณและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำจะเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชน้ำเพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงการสร้างแหล่งเก็บน้ำให้ได้ปริมาณมากขึ้นเพื่อใช้ในยามเกิดภัยแล้งและสามารถแบ่งปันให้กับชุมชนรอบสถานประกอบการ

การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ

ซีพีเอฟประเมินความเสี่ยงด้านน้ำเป็นประจำทุกปีบนพื้นฐานข้อมูลปริมาณการดึงน้ำมาใช้ในแต่ละหน่วยงานควบคู่กับภาวะขาดแคลนน้ำ (Baseline Water Stress) ของพื้นที่ลุ่มน้ำที่หน่วยงานของซีพีเอฟตั้งอยู่ครอบคลุมทุกหน่วยงานที่มีการดำเนินกิจการอยู่และกิจการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยใช้ Aqueduct Water Risk Atlas ซึ่งพัฒนาโดย World Resources Institute (WRI) ช่วยให้เราสามารถลำดับความสำคัญในการกำหนดแผนบริหารจัดการน้ำจากความเสี่ยงด้านน้ำในแต่ละหน่วยงานได้ดังนี้

เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของบริษัทมีความต่อเนื่องและยั่งยืน สามารถป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของบริษัท จึงกำหนดให้ทุกหน่วยงานจะต้องกำหนดมาตรการการจัดการน้ำของหน่วยงานให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรือ CPF SHE&En Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานที่บริษัทสร้างขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการจัดการความเสี่ยงด้าน SHE&En ของบริษัท และสนับสนุนเป้าหมายสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
นอกจากนี้ บริษัทยังสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อรับฟังข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้น้ำ สนับสนุนจัดสรรบุคลากรเพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่คู่ค้าธุรกิจ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตลอดจนจัดทำแผนรองรับความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำอีกด้วย การดำเนินงานทั้งหมดนี้ไม่เพียงจะช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจทั้งของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจ หากแต่ยังช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบในสภาวะภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การประเมินฉากทัศน์และความอ่อนไหวด้านภาวะขาดแคลนน้ำ (Water stress)

ซีพีเอฟดำเนินการประเมินฉากทัศน์และความหวั่นไหวด้านภาวะขาดแคลนน้ำ เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำในอนาคตซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้เครื่องมือ WRI Aqueduct Water Risk Atlas การประเมินครอบคลุม 3 ฉากทัศน์ ได้แก่ (“Optimistic”, “Business as Usual” และ “Pessimistic” หรือเทียบเท่ากับ SSP2 RCP4.5, SSP2 RCP 8.5 และ SSP3 RCP8.5 ตามลำดับ) และมีกรอบเวลาถึงปี 2573 และ ปี 2583 ผลการประเมินฉากทัศน์ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ดำเนินงานส่วนใหญ่ของซีพีเอฟในประเทศไทย อาจเผชิญความเครียดน้ำในระดับที่ใกล้เคียงหรือสูงขึ้นในทุกๆ ฉากทัศน์เมื่อเทียบกับปีฐาน มาตรการรองรับการขาดแคลนน้ำต่าง ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

แม้ปัจจุบันซีพีเอฟมีการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำผ่านหลากหลายมาตรการ เช่น การขุดน้ำบาดาล การติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ และระบบกักเก็บน้ำฝน แต่หากเกิดภาวะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้ธุรกิจจำเป็นต้องมีการซื้อน้ำจืดจากแหล่งอื่นๆ เพื่อรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ผลการศึกษาความอ่อนไหวของผลกระทบทางการเงินจากค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ดำเนินงานที่เสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนน้ำมีดังนี้

3 วัน

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

ผลกระทบทางการเงินจากค่าใช้จ่ายด้านน้ำ (ล้านบาท)

15

34

69

103

138

หมายเหตุ จำนวนสัปดาห์หมายถึงระยะเวลาที่จำเป็นต้องมีการซื้อน้ำจากแหล่งอื่นๆ เพื่อรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจในพื้นที่ดำเนินงานที่เสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนน้ำทั้งหมด ค่าที่แสดงเป็นตัวเลขประมาณการจากค่าใช้จ่ายด้านน้ำที่เพิ่มขึ้น

การจัดการน้ำในกระบวนการผลิต

บริษัทให้ความสำคัญกับการใช้น้ำอย่างเหมาะสมในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีระบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนควบคุมการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามา สนับสนุนตลอดกระบวนการเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะในธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีการใช้น้ำในปริมาณที่มากกว่าธุรกิจอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลงร้อยละ 30 เทียบกับปีฐาน 2558 ภายในปี 2568 โดยมีโครงการที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำของบริษัท ดังนี้

การจัดการน้ำทิ้ง

ซีพีเอฟพยายามอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการผลิตโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้น และยังออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถหมุนเวียนน้ำที่บำบัดแล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น นำมาใช้รดน้ำต้นไม้ หรือในระบบระบายความร้อน นอกจากนี้ซีพีเอฟยังติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วโดยห้องปฏิบัติที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งให้เทียบเท่าหรือดีกว่ามาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x