บริษัทผลักดันการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มสัดส่วนการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ รวมถึงการจัดการและเพิ่มมูลค่าของเสีย/น้ำเสียให้เปลี่ยนมาเป็นพลังงาน ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์-แปรรูป และธุรกิจอาหารมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบสถานประกอบการ เพื่อช่วยดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ด้วย ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยการผลิตต่อหน่วยการผลิตลงร้อยละ 25 เทียบกับปีฐาน 2558 ภายในปี 2568
การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
ซีพีเอฟวางแผนบริหารจัดการพลังงาน ตั้งแต่การออกแบบโรงงานการผลิต โดยพิจารณาทั้งประสิทธิภาพในการผลิตควบคู่กับการใช้ทรัพยากรในการเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงตรวจสอบ ดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิต เรายังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วยการดำเนินการโครงการต่างๆ ได้แก่
- โครงการโรงไฟฟ้าระบบพลังงานความร้อนร่วม (Co-generation)
- โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ
- โครงการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง (LED Project)
การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
- กำหนดเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตทั้งหมด สำหรับกิจการในประเทศไทย ในปี 2565 หรือ “CPF Coal Free 2022” ซึ่งประสบความสำเร็จในเดือนธันวาคมปี 2565 (ดู Assurance Statement ที่นี่) ครอบคลุมโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของบริษัทฯทั้งหมด 12 แห่ง โรงงานอาหารสัตว์น้ำ 2 แห่ง และโรงงานแปรสภาพขนเป็ด-ไก่ท้ายบ้าน 1 แห่ง พร้อมวางแผนขยายไปยังกิจการในต่างประเทศในอนาคต
- นำชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนมาใช้ทดแทนถ่านหินในการผลิตไอน้ำ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 42,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
- การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานอาหารแปรรููป โรงงานอาหารสำเร็จรูป และศููนย์กระจายสินค้า ติดตั้งแผง Solar PV เพื่่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในกระบวนการผลิต โดยในปี 2565 มีกำลังการผลิตทั้งหมด 20 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระยะที่สาม โดยจะติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป โซลาร์ ฟาร์ม และโซลาร์ ลอยน้ำ อีกไม่น้อยกว่า 60 แห่ง คาดว่าหลังจากดำเนินการทั้ง 3 ระยะเสร็จสิ้นในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 43 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าการใช้ไฟฟ้า 62 ล้านหน่วยต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 26,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ปีละ 2.8 ล้านต้น
- การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ บริษัทดำเนินโครงการ “ฟาร์มสุกรสีเขียว (Green Farm)” ในฟาร์มเลี้ยงสุกรของบริษัททั้งหมดและฟาร์มส่งเสริม (Contract Farming) โดยนำน้ำเสียและมูลสัตว์ไปบำบัดผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ที่สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าเพื่อนำกลับไปใช้ภายในฟาร์ม ทดแทนการซื้อไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก นอกจากนี้ ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากก๊าซชีวภาพได้อีกด้วย จากความสำเร็จของการเปลี่ยนมูลสัตว์ไปเป็นพลังงานในโครงการดังกล่าว จึงมีการนำแนวทางดังกล่าวไปขยายผลต่อในธุรกิจไก่ไข่ตั้งแต่ปี 2560
ความสำเร็จในการยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100% ในกิจการประเทศไทย
ซีพีเอฟมีความมุ่งมั่นในการดูแลสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน จึงได้ริเริ่มโครงการ CPF Coal Free 2022 เพื่อยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100% ในกิจการประเทศไทย ซึ่งดำเนินการสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยในเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา และจะขยายผลต่อไปยังกิจการในต่างประเทศด้วย ถือว่าเป็นต้นแบบที่สำคัญในการก้าวสู่ Net- Zero ของซีพีเอฟ
ตั้งแต่ปี 2019 ซีพีเอฟใช้เงินลงทุนเพื่อปรับปรุงเครื่องจักรในหน่วยงานที่ยังคงใช้ถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกบางนา กม.21 โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัย โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำหนองแค และโรงงานแปรสภาพขนเป็ด ขนไก่ท้ายบ้าน เพื่อให้สามารถนำเชื้อเพลิงสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างชีวมวล (Biomass) เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย ซัง ข้าวโพด เป็นต้น มาใช้ทดแทนถ่านหินในการผลิตไอน้ำได้ ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 42,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) และลดความเสี่ยงจากกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
และเพื่อยืนยันความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ ซีพีเอฟได้มอบหมายให้บริษัท LRQA (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ทวนสอบอิสระ (Independent Third Party) ในการทวนสอบผลลัพธ์โครงการ ด้วยกระบวนการที่เป็นสากลและโปร่งใส และผลการทวนสอบก็สามารถยืนยันได้ว่าซีพีเอฟไม่มีใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา
ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ รับมอบใบรับรองโครงการ CPF Coal Free by the Year 2022 จากผู้ทวนสอบ LRQA
ดูใบรับรองได้ ที่นี่
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate-friendly Products)
นวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์สิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่ปี 2560 ซีพีเอฟพัฒนาอาหารสุกรอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สามารถลดปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินที่สุกรขับทิ้งออกมาในรูปของสิ่งขับถ่ายในสุกรถึงร้อยละ 20-30 ในปี 2563 เราต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวในการพัฒนาสูตรอาหารไก่ไข่ โดยการปรับสมดุลชนิดของแหล่งโปรตีนร่วมกับการคัดเลือกเอนไซม์ (Enzyme) ที่เหมาะสมกับสัตว์ในแต่ละช่วงวัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่สัตว์กินเข้าไป ส่งผลต่อการเติบโตของสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ขณะเดียวกันจะช่วยลดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ปลาป่นและกากถั่วเหลืองที่มากเกินความต้องการของสัตว์และกำจัดออกมาเป็นมูลสัตว์ ทั้งยังช่วยในการลดกลิ่นที่เกิดจากมูลสัตว์ได้อีกด้วย ปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินในมููลไก่ไข่ลดลงร้อยละ 12-13
ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low-Carbon products)
บริษัทให้ความสำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (CPF Low-carbon Products) โดยประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2552 ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน ISO 14040 ISO 14044 และ ISO 14067 และได้รับการรับรองฉลากผลิตภัณฑ์กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำทั้งหมดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า
1,831,204 ตัน CO2 เทียบเท่า
ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำคำนวณจากน้ำหนักผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CFP) หรือฉลากลดโลกร้อน (CFR) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. คูณกับปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์เทียบกับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ยของประเทศไทยหรือเทียบกับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของปีฐาน (Base year)
*อ้างอิงจากค่า Emission Factor โดย อบก
การสนับสนุนกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก
การใช้พลังงานและการจัดการของเสียเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีพีเอฟจึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพและแสงอาทิตย์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง โดยได้ขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) กับ อบก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
นอกจากนี้ ซีพีเอฟได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก อบก. ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ประเภทโครงการด้านป่าไม้และการเกษตร จากโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธงและพื้นที่สีเขียวในฟาร์มและโรงงาน และโครงการด้านพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้
การเพิ่มขีดความสามารถให้พนักงานผ่านหลักสูตร "การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint)"
ซีพีเอฟจัดฝึกอบรมหลักสูตร "การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint)" ในรูปแบบออนไลน์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint) กับการดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักการ ความสำคัญ และขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรได้อย่างสอดคล้องกับข้อกำหนด CPF SHE&En Standard ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้
เนื้อหาภายในหลักสูตรครอบคลุมสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
โครงการดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ CPF SHE&En Standard ของหน่วยงานโดยในปี 2565 มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 2 รุ่น รวม 348 ท่าน
ความร่วมมือในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในห่วงโซ่อุปทาน
ซีพีเอฟมีระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงพื้นที่เพาะปลูกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งบริษัทดำเนิน “โครงการเกษตรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อยกระดับการทำการเกษตรที่สามารถเพิ่มผลผลิตไปพร้อมกับการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับพื้นที่และการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การปลูกพืชคลุมดิน การลดการไถพรวนหรือเผาต่อซัง เป็นต้น ในปี 2565 มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการกว่า 462 ราย รวมพื้นที่กว่า 25,054 ไร่ (4,008 เฮกตาร์)
ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านพัลังงานและการปล่อยก๊าซต่างๆ สามารถอ่านได้ที่ ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2567