เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ตลอดเวลาของการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร บริษัททุ่มเทและพยายามอย่างเต็มศักยภาพในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งไม่จำกัดเพียงแค่การผลิตและการส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การจ้างงานอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค การส่งเสริมขีดความสามารถในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนโดยรอบ
นอกจากนี้ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญและการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทได้เริ่มกระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence Process) ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งเป็นการตรวจประเมินทุก 3 ปี ประกอบด้วยกระบวนการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การบริหารจัดการความเสี่ยง การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทุกสายธุรกิจในกิจการประเทศไทย
ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินกระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน สำหรับกิจกรรมการดำเนินงานในทุกธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัททั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งหมด 17 ประเทศ โดยครอบคลุมพนักงานของบริษัทและผู้ทรงสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าที่มีโอกาศถูกละเมิด (คู่ค้าและผู้รับเหมา ชุมชนท้องถิ่น ลูกค้าและผู้บริโภค) รวมถึงกลุ่มความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเพศ (LGBTQI+) เชื้อชาติ ศาสนา ชนกลุ่มน้อย กลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกาย และผู้เปราะบางทางสังคม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรี สตรีมีครรภ์ เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ กระบวนการตรวจประเมินดังกล่าวของบริษัทยังครอบคลุมถึงบริษัทร่วมทุนและกิจกรรมทางธุรกิจ (การควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการ) ด้วย ทั้งนี้ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ (Salient Human Rights Issues) ประกอบด้วย
กิจการของบริษัท
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัยในชุมชน
  • การดำรงชีวิตที่ดีของชุมชน รวมถึงการเข้าถึงน้ำสะอาดและระบบสุขาภิบาล
  • สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและผู้บริโภค
  • สุขภาพและความปลอดภัยของคู่ค้า
คู่ค้าลำดับที่ 1
  • สภาพการจ้างงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
สำหรับประเด็นข้อมูลส่วนบุคคล ซีพีเอฟและบริษัทย่อยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร ลูกค้า คู่ค้าธุรกิจ และพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมุ่งมั่นที่จะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และรักษาข้อมูลดังกล่าวให้ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ใน จรรยาบรรณธุรกิจ และ นโยบายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยในปีนี้ ซีพีเอฟและบริษัทย่อยในประเทศไทยได้นำนโยบายนี้ไปปฏิบัติแล้ว โดยการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการและคณะทำงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่าซีพีเอฟและบริษัทย่อยทั้งหมดได้ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น

เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมุ่งมั่นบริหารจัดการประเด็นสำคัญข้างต้นอย่างต่อเนื่อง เรายังคงส่งเสริมการยุติปัญหาแรงงานบังคับและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อแรงงานต่างด้าวในห่วงโซ่อุปทาน ผ่านการถ่ายทอดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ ฝึกอบรมให้ความรู้ สนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจหลักตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืน ดำเนินการตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจหลักด้านความยั่งยืน รวมถึงจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรจากแหล่งที่มาที่รับผิดชอบ

ขณะเดียวกัน บริษัทยังดำเนินนโยบายการดูแลสุขอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานตามกฎหมายและมาตรฐานต่างๆ ด้วยความรับผิดชอบและใส่ใจ เพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมาทุกคนสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขระหว่างการทำงาน

การจัดการข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

ซีพีเอฟให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับเรื่องช่องทางการสื่อสารและการร้องเรียนต่าง ๆ ของพนักงาน คณะกรรมการสวัสดิการประจำสถานประกอบการถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารระหว่างพนักงานและบริษัท ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและความเคารพถึงสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกันในพนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกเชื้อชาติ เพื่อมีส่วนร่วมในการแสดงมุมมอง ความเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่างๆ ผ่านตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา อนึ่ง บริษัทได้จัดให้จำนวนกรรมการในคณะกรรมการฯ เพิ่มขึ้นจากจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งกำหนดให้สูงสุดไม่เกิน 17 คนต่อสถานประกอบการแต่ละแห่ง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับขนาดของสถานประกอบการแต่ละแห่ง รวมทั้งครอบคลุมกลุ่มความหลากหลายและกลุ่มเปราะบางในด้านเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และผู้บกพร่องทางร่างกาย และหากคณะกรรมการฯ ที่ได้รับการเลือกตั้งไม่ได้ครอบคลุมกลุ่มเปราะบางดังกล่าว ยังจัดให้มีคณะอนุกรรมการสวัสดิการประจำสถานประกอบการให้ครอบคลุมมาทำหน้าที่รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพนักงานในกลุ่มเปราะบางเหล่านั้นเพื่อนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ไปยังคณะกรรมการ ฯ ก่อนจะมีการประชุมร่วมกับผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของบริษัทอีกด้วย

บริษัทได้ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ Labor Protection Network (LPN) ลงนามบันทึกข้อตกลงจัดตั้ง “ศูนย์ Labor Voices Hotline by LPN” ต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกเชื้อชาติของเราได้มีช่องทางการแสดงความคิดเห็นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือต่างๆ ผ่านองค์กรกลาง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน นอกจากนี้ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวยังมีการฝึกอบรม ให้ความรู้กับแรงงานในประเด็นสิทธิของแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านแรงงานได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

การดำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนในสถานการความขัดแย้ง

บริษัทมีวิสัยทัศน์เป็นครัวของโลกที่ยั่งยืน ภายใต้พันธกิจในการยึดมั่นที่จะผลิตอาหารปลอดภัย มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต นั่นคือการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับมวลมนุษยชาติ ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนมีสิทธ์เข้าถึงอาหารได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกพรมแดน เชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ อันเป็นหลักสำคัญต่อดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนทุกคน อันเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาทียั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ข้อที่ 2, 8, 12, และ 17

บริษัทได้มีการลงทุนในทุกภูมิภาคต่างๆทั่วโลก อันรวมถึง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเซีย ด้วยความมุ่งมั่นในการขจัดซึ่งภาวะอาหารขาดแคลน ประเทศรัสเซียเป็นประเทศหนึ่งที่บริษัทเข้าไปลงทุนเพราะภาวะเนื้อสัตว์ที่ขาดแคลน บริษัทจึงเข้าลงทุนเพื่อต่อยอดฐานผลิตอาหารเนื้อสัตว์ให้กับผู้บริโภคในประเทศรัสเซียและประเทศอื่นๆ ในอนาคต ดังเช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา

โดยในภาวะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการขาดแคลนอาหาร บริษัทยังมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตอาหารให้เพียงพอต่อทุกชีวิต ตามภารกิจ โดยไม่ละเมิดต่อหลักการของสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม อนึ่ง บริษัทได้ติดตามและตระหนักในสถานการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนอย่างใกล้ชิดเสมอมา ภายใต้หลักการของประเทศ โดยมีแนวทางในการเฝ้าระวังและดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนรอบด้านจากผลกระทบดังกล่าว และได้มีการทบทวนแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตในประเทศรัสเซียในแนวทางที่ดีที่สุด

การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x