ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ยังคงเป็นประเด็นความท้าทายที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทั่วโลก กอปรกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ยาวนานกว่า 2 ปี เกษตรกรรายย่อยผู้ผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรจึงเป็นกลุ่มหนึ่งที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ด้วยปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ราคาผลผลิตตกต่ำ และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น[1] นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90 ของการประกอบธุรกิจทั่วโลก และมีอัตราการจ้างงานกว่าร้อยละ 50 ของการจ้างงานทั่วโลก[2]ก็เป็นอีกกลุ่มที่เผชิญกับความท้าทายนี้ ขณะเดียวกันโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีจำนวนกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมจากวิกฤตต่างๆ เพิ่มขึ้น[3] การประกอบธุรกิจของซีพีเอฟเชื่อมโยงกับเกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมาก บริษัทจึงตระหนักถึงบทบาทการมีส่วนร่วมจัดการประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงผู้เปราะบาง เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี เพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็น สนับสนุนคู่ค้าธุรกิจและชุมชนในการเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยเชื่อว่าความตั้งใจจริงในการยกระดับคุณภาพชีวิตคือจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ส่งผลลัพธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน
- [1] Unsung Heroes: How Small Farmers Cope with COVID-19, International Trade Center, April 2020.
- [2] Small and Medium Enterprises (SMEs) Finance, The World Bank, January 2022.
- [3] World Population Ageing 2020 Highlights, United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division.
แนวทางการบริหารจัดการ
การประกาศนโยบายและความมุ่งมั่น
ในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
การสร้างการมีส่วนร่วม
กับคู่ค้า เกษตรกร และคนในชุมชน เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการ พร้อมร่วมพัฒนาแนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลบวกต่อชีวิตความเป็นอยู่
การสนับสนุนและส่งเสริม
นำศักยภาพขององค์กร ทั้งทรัพยากร บุคลากร และองค์ความรู้ มาสนับสนุนคู่ค้า เกษตรกร และคนในชุมชนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและบรรเทาผลกระทบเชิงลบในสังคม
การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายพันธมิตร
ผสานความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมพัฒนาแนวทางการดำเนินงานที่ช่วยส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ความมุ่งมั่น :
มีส่วนร่วมกับชุมชนผ่านการดำเนินงานที่ช่วยสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย การศึกษาของชุมชน และเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น
เป้าหมายปี 2573 :
3,000,000 ราย ที่เชื่อมโยงกับการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท ได้รับการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ผลการดำเนินงานปี 2565 :
2,516,456 ราย ที่เชื่อมโยงกับการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท ได้รับการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
การดำเนินการ