ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมระหว่างสถานประกอบการทั้งโรงงานและฟาร์มกับชุมชน โดยมีการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) ด้วยเครื่องมือด้านชุมชน อาทิ การจัดทำแผนที่เดินดิน การสานเสวนาสำรวจความต้องการชุมชน เพื่อวางแผนส่งเสริม สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้สามารถอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและสถานประกอบการของบริษัทได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ในปี 2565 กิจการในประเทศไทยได้นำความต้องการชุมชนมาพัฒนาเป็นโครงการต่างๆ อาทิ โครงการ ซีพีเอฟ อิ่มสุขปลูกอนาคตเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กและเยาวชนในโรงเรียนรอบโรงงานและฟาร์ม โครงการสร้าง สาน สุข วิถีชุมชน โครงการน้ำดื่มชุมชน โครงการปุ๋ยเปลือกไข่เพื่อชุมชน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน นอกจากนี้ บริษัทได้ร่วมสนับสนุนชุมชนกว่า 8,000 ราย จากกิจการประเทศไทย เวียดนาม ตุรเคีย กัมพูชา ลาว อินเดีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย อาทิ โครงการฝูงไก่ผ้าพันคอแดงในประเทศเวียดนาม และโครงการปลูกผักสะอาด ปลอดสารพิษในประเทศลาว
"โครงการ 3 ประสาน พัฒนาวิสาหกิจชุมชน" เป็นโครงการความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน สายธุรกิจสุกรภาคอีสานโดยโรงชำแหละทรายมูลของบริษัท และเทศบาลตำบลทรายมูล จังหวัดยโสธรนับเป็นโครงการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยจากเนื้อสุกรซึ่งเป็นวัตถุดิบของบริษัท เป็นการนำงานวิจัยมาปฏิบัติใช้จริง รวมทั้งได้ฝึกอบรมและลงมือทำด้วยตนเองทำให้ชุมชนเข้าใจและสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปต่อยอดได้
โครงการฝูงไก่ผ้าพันคอแดง กิจการประเทศเวียดนาม
โครงการปลูกผักสะอาด ปลอดสารพิษ กิจการประเทศลาว
การดำเนินการ