เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นโยบายการบริหารความเสี่ยง และโครงสร้างการจัดการ
บริษัทพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล COSO-ERM 2017 (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) โดยดําเนินการแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร และครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทและทุกกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการ บริหารความเสี่ยงของบริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงพอ สามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และสนับสนุนการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การดําเนินการดังกล่าวมีผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
  • คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในการสอบทานความเพียงพอ ประสิทธิผล และการปฏิบัติตามนโยบาย กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • คณะกรรมการบริหารกํากับดูแลและติดตามสถานะความเสี่ยงสําคัญ การบริหารความเสี่ยง ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง
  • คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงถูกแต่งตั้งขึ้นอย่างเป็นอิสระแยกออกจากหน่วยธุรกิจ โดยมีประธานผู้บริหารฝ่าย การเงินเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท โดยมีหน้าที่สอบทานความเสี่ยงสําคัญของบริษัท ติดตามการดําเนินงานตามมาตรการจัดการความเสี่ยงและตัวชี้วัดความเสี่ยงสําคัญ โดยร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฐานะเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงจะมีการประชุมทุกไตรมาส
  • สํานักบริหารความเสี่ยงทําหน้าที่ส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ ตลอดจนให้คําแนะนําแก่หน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการบริหาร ความเสี่ยง พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการจัดการ
  • ผู้บริหารหน่วยธุรกิจและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงต่อการประเมินและบริหารความเสี่ยงในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • ผู้ประสานงานด้านความเสี่ยง (Risk Champion) เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างหน่วยธุรกิจและสํานักบริหารความเสี่ยง
  • พนักงานทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือในการบริหารความเสี่ยง โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง และรายงานความเสี่ยงที่พบตามช่องทางที่กําหนดอย่างทันเวลา
  • สํานักตรวจสอบภายในมีหน้าที่ทบทวนกระบวนการประเมินความเสี่ยง เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อนโยบายการจัดการความเสี่ยง ติดตามการดําเนินงานตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฐานะเจ้าของความเสี่ยง และให้คําแนะนําเพื่อพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง
ทั้งนี้ บริษัทกําหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงทุกไตรมาส หรือเมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ โดยคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงจะรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงตามลําดับ รวมถึงมีการแจ้งผลการประเมินต่อคณะกรรมการจัดการเพื่อทราบและให้ดําเนินการตามมาตรการที่ระบุไว้
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทถูกรวบรวมไว้ใน “คู่มือการบริหารความเสี่ยง” โดยมีขั้นตอนการดําเนินงานและเครื่องมือที่ใช้ ดังนี้
  1. พิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยการวิเคราะห์สภาวะของโลกในระดับมหภาค อุตสาหกรรมและธุรกิจ ตลอดจน บริษัท เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มในอนาคต
  2. ระบุความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัททั้งความเสี่ยงที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน และความเสี่ยงใหม่ที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Emerging Risk) รวมถึงโอกาสในการดําเนินธุรกิจให้ครอบคลุมทั้งปัจจัยภายในและภายนอก องค์กร โดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคต่างๆ เช่น การสอบทานประเด็นที่อาจเกิดขึ้นจากภายในบริษัท การพิจารณาข้อมูลจากแหล่งภายนอกที่เชื่อถือได้ การศึกษาจากแบบสอบถามหรือแบบประเมินความเสี่ยงขององค์กรต่างๆ การวิเคราะห์ ความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่สมมติขึ้น เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายความหมายของความเสี่ยง เพื่อช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงขอบเขตความเสี่ยง
  3. ประเมินความเสี่ยง จัดอันดับของความเสี่ยง รวมถึงกําหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงสําคัญและตัวชี้วัดความเสี่ยงสําคัญ
    1. กําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ในด้านต่างๆ ดังนี้
      1. โครงการลงทุนจะต้องมีผลตอบแทนมากกว่าต้นทุนทางการเงิน
      2. ดําเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ และวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงไม่บกพร่องต่อประเด็นด้านความปลอดภัย ตลอดจนคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและ รับผิดชอบต่อสังคม
      3. ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กําหนด
      4. รักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์ และชื่อเสียงองค์กร
      5. เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง และเชื่อถือได้
    2. ความเสี่ยงที่ยอมรับได้นี้เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของบริษัท ตลอนจนคำนึงถึงระดับที่ผู้มีส่วนได้เสียยอมรับได้ โดยมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของซีพีเอฟ ในขณะที่มีคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงช่วยสอบทานการปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ซีพีเอฟนำความเสี่ยงที่ยอมรับได้เหล่านี้มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง

    3. ประเมินความเสี่ยง โดยรวบรวมข้อมูลผ่านแบบประเมินความเสี่ยง (Risk Survey) และประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่กําหนดไว้ทั้งมุมมองด้านผลกระทบ (Impact) และโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง (Likelihood) จากนั้นแสดงผลของความเสี่ยงบนแผนภูมิความเสี่ยง (Risk Heat Map)
    4. จัดอันดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงนั้น โดยความเสี่ยงที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ถือเป็นความเสี่ยงสําคัญ ซึ่งต้องมีการระบุสาเหตุสําคัญของความเสี่ยง
    5. กําหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ควรทําเพิ่มเติม และตัวชี้วัดความเสี่ยง สําหรับความเสี่ยงสําคัญ ทั้งนี้ ต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลก่อนการตัดสินใจดําเนินการ
  4. รายงาน และติดตามความคืบหน้าของมาตรการจัดการ และสถานะของตัวชี้วัดความเสี่ยงสําคัญตามรอบที่กําหนด ต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง
บริษัทสื่อสารบทบาทหน้าที่ และสร้างความตระหนัก เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบในการคํานึงถึงความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการดําเนินการดังต่อไปนี้
  • ด้านสภาพแวดล้อมในการบริหารความเสี่ยง: สื่อสารนโยบายการบริหารความเสี่ยง บูรณาการหลักการเข้ากับ กระบวนการทํางาน กําหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์องค์กร กําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทําเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง รวมทั้งกําหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง
  • ด้านความตระหนัก: บริษัทส่งเสริมการพัฒนากรรมการและผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอผ่านการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการกำกับดูแลที่ดี การพัฒนาที่ยั่งยืน และความเสี่ยงตามธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจ เช่น สินค้าใหม่ การกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวปฏิบัติของบริษัทในด้าน เหล่านี้ สำหรับพนักงาน บริษัทจัดทําคลิปสื่อสารความมุ่งมั่นและความสําคัญของการบริหารความเสี่ยงถึงพนักงาน จัดทําโปสเตอร์ เหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ ถึงแนวทางป้องกันและจัดการ พัฒนาหลักสูตรอบรมด้าน ความเสี่ยงทั้งแบบออนไลน์ (E-Learning) และการเรียนรู้ใน ห้องเรียน (On-site) รวมถึงทบทวนความเข้าใจด้านการ บริหารความเสี่ยงก่อนการประเมินความเสี่ยง
  • ด้านการปฏิบัติ: ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านความเสี่ยงร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารหน่วยธุรกิจ และสํานักบริหารความเสี่ยงเป็นประจํา จัดทําแนวทางจัดการ และกําหนดตัวชี้วัดความเสี่ยงสําคัญ (Key Risk Indicators: KRIs) พร้อมทั้งติดตามความ คืบหน้าการดําเนินงาน และจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตัดสินใจลงทุนในโครงการขนาด ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ น้ำท่วม ภัยแล้ง ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ความไม่ปลอดภัยในการทํางาน เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมให้มีวาระด้านความเสี่ยงในการประชุมประจําเดือนของหน่วยธุรกิจ และสนับสนุนให้มีการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยธุรกิจ ดังนั้น พนักงานจึงมีความรู้เชิงปฏิบัติในการดำเนินงานและการจัดทำโครงการโดยคำนึงถึงความเสี่ยง เช่น การผสานการบริหารความเสี่ยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ การลงทุนในโครงการ การควบรวมและซื้อกิจการ เป็นต้น
  • แรงจูงใจทางการเงิน: การพิจารณาค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับขึ้นอยู่กับผลการประเมินผลงานที่มีตัวชี้วัดระดับองค์กรที่ นอกเหนือจากการประเมินผลสําเร็จของงานทางเศรษฐกิจ ได้รวมถึงตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามคุณค่าองค์กร (CPF VALUE) การปฏิบัติตามจรรยาบรรณพนักงาน การพัฒนาบุคลากร การจัดการความเสี่ยง เป้าหมายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และความเสี่ยงด้านกฏหมายและกฎระเบียบ บริษัทมีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ตั้งเป้าหมาย และผลการดำเนินงาน จากนั้นมีการประเมินผลการดำเนินงานรายปี และเชื่อมโยงผลลัพธ์กับผลประโยชน์ทางการเงิน และการเลื่อนตำแหน่งที่บุคลากรจะได้รับ
การกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายความรับผิดชอบจากประธานคณะกรรมการบริหาร โดยดำเนินงานตามกรอบการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance Framework) เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของ CPF สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติที่ดี โดยในปี 2566 สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ต่อเนื่องจากปีก่อน ดังนี้
  1. ติดตามกฎหมาย/กฎเกณฑ์ที่ออกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ CPF และสื่อสารไปยังหน่วยธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ อีเมล Infographic การประชุมคณะกรรมการจัดการ รวมถึงการอบรมทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ นอกจากนี้ เมื่อมีกฎหมายและข้อบังคับที่กำลังจะประกาศใช้ สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ รวมถึงสอบถามและรวบรวมความคิดเห็นของหน่วยธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุนเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในฐานะข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน
  2. มีกระบวนการสอบทานการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ประจำปีผ่านแบบประเมินตนเองสำหรับหน่วยธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุน และกำหนดความถี่ในการสอบทานเป็น 2 ครั้งต่อปีสำหรับหน่วยธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง กรณีเมื่อพบประเด็น สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้มีการดำเนินการและติดตามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง
  3. มีกระบวนการในการบริหารจัดการกรณีพบการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้น จากการแจ้งผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแส (Whistle Blowing) และช่องทางอื่นๆ โดยทำงานร่วมกับหน่วยธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบจากการดำเนินคดีหรือข้อพิพาททางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น และปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
  4. เพื่อส่งเสริมให้การกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้แต่งตั้งผู้ประสานงานด้านการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance champion) ประจำแต่ละหน่วยธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเพื่อประสานและทำงานร่วมกับสำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างใกล้ชิด ในปีนี้สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้ดำเนินการสร้างความตระหนักรู้ด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างต่อเนื่องโดยได้จัดทำหลักสูตร Compliance E-learning รวมถึงแบบสำรวจการรับรู้ด้านจรรยาบรรณธุรกิจและการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Code of Conduct and Compliance Awareness Survey) เพื่อเน้นย้ำว่าการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นหน้าที่ของทุกคนในบริษัท และนำผลสำรวจระดับความรู้ความเข้าใจไปปรับปรุงการกำกับดูแลด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยได้จัดทำ Compliance Page (Intranet ภายในบริษัท) เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถเข้าถึงกฎหมายที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ และนโยบายหลักระดับองค์กร นอกจากนี้ มีการเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมถึงการปรับเงินเดือนและการปรับตำแหน่งของผู้บริหารและพนักงานกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงจรรยาบรรณธุรกิจในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
    สำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีการรายงานความคืบหน้าและสรุปผลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และจรรยาบรรณธุรกิจต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการจัดการ และคณะกรรมการต่างๆ รวมถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x