ซีพีเอฟเชื่อว่าการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านกฎระเบียบช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร อันนำมาซึ่งการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัททั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซีพีเอฟจึงยึดถือการช่วยพัฒนานโยบาย กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศที่บริษัทดำเนินกิจการ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง บริษัทมีส่วนร่วมกับองค์กรและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและการค้า เช่น สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม อย่างสม่ำเสมอในรูปของการสนับสนุนค่าสมาชิกและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในปี 2566 บริษัทได้สนับสนุนองค์กรและสมาคมเหล่านี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 8,268,738 บาท
1. จำนวนเงินค่าสมาชิกสำหรับการเข้าร่วมสมาคมการค้า
2563 (บาท) | 2564 (บาท) | 2565 (บาท) | 2566 (บาท) | |
---|---|---|---|---|
การโน้มน้าวหรือชักชวนเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืออย่างอื่นที่คล้ายกัน | 0 | 0 | 0 | 0 |
การรณรงค์ / สมาคม / ผู้สมัครทางการเมืองระดับท้องถิ่น ภูมิภาค หรือประเทศ | 0 | 0 | 0 | 0 |
สมาคมการค้าหรือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี (เช่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ) | 7,604,842 | 6,515,265 | 8,080,204 | 8,268,738 |
อื่นๆ (เช่น การใช้จ่ายที่เกี่ยวกับมาตรการการลงคะแนนเสียงหรือประชามติ | 0 | 0 | 0 | 0 |
รวม | 7,604,842 | 6,515,265 | 8,080,204 | 8,268,738 |
2. จำนวนเงินสนับสนุนค่าสมาชิกสมาคมและสถาบันต่างๆ 3 อันดับสูงสุดในปี 2566
สมาคมและสถาบัน | รายละเอียด | บาท | |
---|---|---|---|
1 | สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อการส่งออกไทย | สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยก่อตั้งเมื่อปี พ. ศ. 2534 เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมและให้บริการสำหรับผู้ผลิตและส่งออกเนื้อไก่จำนวนมาก สมาชิกสมาคมทั้งหมดเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกของไทยซึ่งมีประวัติอันยาวนานหลายสิบปีในอุตสาหกรรมไก่ สมาคมฯเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไก่ เกรดพรีเมี่ยมแก่ลูกค้าทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thaipoultry.org/?p=home&lang=TH | 4,319,046 |
2 | สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย | สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เริ่มต้นจากการรวมตัวของกลุ่มพ่อค้าวานิชที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือในการพัฒนาวงการปศุสัตว์ไทย จัดตั้งชมรมผู้ผลิตอาหารสัตว์ และพัฒนาสถานะของชมรมเป็น สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และได้ขึ้นทะเบียนตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 มีวัตถุประสงค์หลักคือ การเป็นศูนย์กลางความร่วมมือของผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยในการแก้ปัญหาต่างๆ ของธุรกิจอาหารสัตว์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคปศุสัตว์ไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thaifeedmill.org/ | 2,657,489 |
3 | สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับการยอมรับทั่วไป ในฐานะตัวแทนภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งและผลิตภาพอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทยให้ยั่งยืน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.fti.or.th | 268,776 |
ซีพีเอฟได้มีส่วนร่วมกับสมาคมและสถาบันที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของสังคมผ่านการโน้มน้าวทางนโยบายและกฎหมาย ในฐานะกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรในด้านโปรตีนสัตว์ บริษัทมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับห่วงโซ่คุณค่าของปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับธุรกิจหลักของบริษัท ความร่วมมือหลักที่บริษัทให้การสนับสนุนในปี 2566 ได้แก่
-
ภาคีปศุสัตว์และสัตว์น้ำไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน:
ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำในภาคีปศุสัตว์และสัตว์น้ำไทย ได้ส่งเสริมความร่วมมือที่หลากหลายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรม เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์น้ำภายในปี 2583 ซึ่งช่วยสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero emissions) ของประเทศ หนึ่งในความร่วมมือดังกล่าวได้แก่ การลงนามความร่วมมือโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย (Thai Livestock Technical Consortium for Climate Neutrality, LCCN) กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนวทางการดำเนินงานประกอบด้วย การจัดทำข้อมูลปีฐาน การวิเคราะห์วัฏจักรชีวิต และการวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Gas chromatography) และการศึกษาการประยุกต์การดักจับก๊าซด้วยเทคโนโลยี Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) เพื่อจัดการก๊าซมีเทน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปศุสัตว์ ความร่วมมือดังกล่าวช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันและเตรียมพร้อมต่อกฎระเบียบด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่อาจเข้มงวดขึ้นในอนาคตในปี 2566 คณะทำงานข้าวโพดได้เริ่มวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการปลูกข้าวโพดในฤดูฝนและฤดูแล้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซ พื้นที่นำร่องสองแห่งในลพบุรีและชัยนาทเป็นเกษตรกรที่อยู่ในโครงการเกษตรพันธสัญญากับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส (CPP) สำหรับคณะทำงานปลาป่นมีการรวบรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโรงงานผลิตห้าแห่ง รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ข้อมูล ในขณะเดียวกันได้มีการแนะนำวิธีการคำนวณก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตให้กับพนักงานในทุกโรงงานที่เข้าร่วม การสรุปผลการวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมปลาป่นจะดำเนินการก่อนการอภิปรายแผนบรรเทาผลกระทบในเดือนกรกฎาคม 2567 -
มาตรฐานการประมงยั่งยืนระดับสากล (IFFO Global Standard for Responsible Supply (IFFO RS) or MarinTrust):
ความร่วมมือกับ MarinTrust, มาตรฐานการประมงยั่งยืนระดับสากล (เดิมชื่อ IFFO RS): ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสัตว์น้ำหลากหลายชนิดและการประมงลากคู่แบบผสมที่ซับซ้อนและจัดการยากกว่าการประมงชนิดเดียว และยังไม่มีมาตรฐานการประมงที่ยั่งยืนที่เหมาะสม การเปิดตัวมาตรฐาน MarinTrust ซึ่งเป็นโครงการรับรองส่วนประกอบทางทะเลระดับนานาชาติหรือชื่อเดิม IFFO Global Standard for Responsible Supply (IFFO RS) จะช่วยให้บริษัทผลิตอาหารสัตว์สามารถจัดหาปลาป่นได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้มาตรฐานนี้ยังอาจใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการกำหนดนโยบายการประมงของไทยในอนาคตเราสนับสนุนประเด็นนี้ผ่านการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยและเป็นผู้ก่อตั้ง Thai Sustainable Fisheries Roundtable (TSFR) ซีพีเอฟได้เริ่มโครงการปรับปรุงประมงอวนลากสำหรับสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ (Fishery Improvement Plan – FIP) ตามชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันร่วมกับ MarinTrust โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาแนวทางสำหรับการจัดการการประมงอวนลากสำหรับสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นมาตรฐานการประมงที่ยั่งยืนครั้งแรกและใช้ได้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คู่มือดังกล่าวถูกใช้ในการดำเนินโครงการ FIP ในการประมงอวนลากในเวียดนามในปี 2566 TSFR ได้จัดตั้งแผนปฏิบัติการประมง: (Fishery Action Plan – FAP) ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับการตรวจสอบจากผู้ประเมิน จนถึงปัจจุบันมีโรงงานผลิตปลาป่นสี่แห่งที่ได้รับการรับรองจาก MarinTrust ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืนให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมTSFR สนับสนุนการวิจัยความเสี่ยงด้านการประมงในระบบนิเวศและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA นอกจากนี้ยังมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกรมประมงในการพัฒนานโยบายการประมงที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อสร้างแนวทางการประมงอวนลากของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก
3. สมาชิกสมาคมการค้าและการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2566
อันเนื่องมาจากผลกระทบทางกายภาพและการเปลี่ยนผ่านที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และแรงผลักดันที่เพิ่มขึ้นของผู้มีส่วนได้เสียในการเปลี่ยนผ่านไปยังสังคมคาร์บอนต่ำ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราจึงได้จัดให้มีแนวทางของบริษัทในการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะและการเป็นสมาชิกสมาคมการค้าในทุกหน่วยธุรกิจที่เราดำเนินการอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงปารีสที่จำกัดอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ในขณะที่เรายังคงมุ่งมั่นในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
บริษัทจัดให้มีโครงสร้างการจัดการและกระบวนการนการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะและการเป็นสมาชิกสมาคมการค้า เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปยังสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีประธานคณะบริหารเป็นผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบในการตัดสินใจถึงทิศทางในการมีส่วนร่วมและติดตามผลจากการมีส่วนร่วมนั้น ผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณา ตัดสินใจและดำเนินการตามบทบาทและกระบวนการในการมีส่วนร่วม และรายงานผลให้ประธานคณะบริหารทราบอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทมีการทบทวนและติดตามสถานะของการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะและการเป็นสมาชิกสมาคมการค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากจุดยืนของสมาคมการค้าในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของบริษัท เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการเพื่อปรับการดำเนินการของสมาคมการค้านั้นให้กลับมาสอดคล้องกับทิศทางของบริษัทเพื่อให้ก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นการเร่งให้เกิดความสำเร็จของเส้นทางไปสู่คาร์บอนต่ำของบริษัท ของประเทศ และของโลกด้วยเครื่องมือด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภาครัฐและเอกชน
สมาคม/ สถาบัน | รายละเอียด | |
---|---|---|
1 | The Science Based Target initiative (SBTi) | ซีพีเอฟมุ่งมั่นสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 2593 และเป็นบริษัทผลิตอาหารแห่งแรกในโลก ที่ได้รับอนุมัติทั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว สอดคล้องตามมาตรฐาน Forest, Land and Agriculture (FLAG) ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับภาคเกษตรและอาหาร จากองค์กร the Science Based Targets initiative (SBTi) เทียบกับปีฐาน 2563 ซีพีเอฟตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% และ 90% สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภท non-FLAG ภายปี 2573 และปี 2593 ตามลำดับ รวมทั้ง 30.3% และ 72% สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภท FLAG ภายปี 2573 และปี 2593 ตามลำดับ นอกจากนี้เรายังกำหนดเป้าหมายต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าสำหรับสินค้าหลักที่มีความเชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2568 |
2 | คณะทำงาน Food Reform for Sustainability and Health (FReSH) ภายใต้สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) | ความร่วมมือระดับโลกของสมาชิกในการหาวิธีการทางธุรกิจที่ก้าวหน้าเพื่อปรับเปลี่ยนระบบเกษตรและอาหาร ให้บรรลุระบบอาหารฟื้นฟูและมีความเสมอภาค บริษัทเป็นสมาชิกที่มีบทบาทในกลุ่มการทำงานด้านเกษตรกรรมและอาหาร ซึ่งมุ่งเน้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านนวัตกรรม การเกษตรที่ยั่งยืน และอาหารที่ยั่งยืน WBCSD มีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอกับผู้กำหนดนโยบาย เพื่อเป็นตัวแทนของภาคเอกชนในการผลักดันการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลก |
3 | สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) | บริษัทเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายท้องถิ่นในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญระดับโลกด้านความยั่งยืน เครือข่ายนี้ทำงานร่วมกันเพื่อวางแผนกลยุทธ์และผลันดันการดำเนินงาน มุ่งบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนทางสังคม โดยเน้นด้านสิ่งแวดล้อมในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครือข่ายนี้ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและโอกาสในการร่วมกันขับเคลื่อนความมุ่งมั่นระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นตัวแทนของภาคเอกชนในการผลักดันการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ESG |
4 | โครงการ Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) | Seafood Business for Ocean Stewardship หรือ SeaBOS เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่หลากหลายในอุตสาหกรรมอาหารทะเลโลก โดยมีบริษัทอาหารทะเลขนาดใหญ่ที่สุด 9 แห่งของโลกเข้าร่วมทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการก้าวสู่การผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืน มหาสมุทรที่มีความอุดมสมบูนณ์ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ความร่วมมือนี้ทำงานผ่านคณะทำงานในหลายมิติ หนึ่งในนั้นคือความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมในการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการเปิดเผยผลการดำเนินงานต่อสาธารณะ |
5 | โครงการ Global Sustainable Seafood Initiative (GSSI) | โครงการ GSSI เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนทั่วโลก โดยมีบริษัทชั้นนำ (ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าอาหารทะเลทั้งหมด) องค์กร NGO และองค์กรรัฐบาลและระหว่างรัฐบาล รวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงอาหารทะเลที่ได้รับการรับรอง โดยเครื่องมือเกณฑ์มาตรฐานระดับโลกด้วยความโปร่งใสสอดคล้องกับแนวทาง FAO ความริเริ่มนี้เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันในขณะที่ภาคส่วนอาหารทะเลทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและยั่งยืนผ่านการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมการบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ |
6 | สภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ (USSEC) | ผู้แทนซีพีเอฟจากสำนักงานติดตามกฎระเบียบการค้า ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสำนักงานปศุสัตว์ยั่งยืน สมาคมโรงงานผลิตอาหารสัตว์ไทย (TFMA) ประสานงานกับสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐฯ (USSEC) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวัดและลด GHG ในการปลูกถั่วเหลืองที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจปศุสัตว์ไทย TFMA และ USSEC ได้พัฒนาความร่วมมือและลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ยั่งยืนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำ |
7 | เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN) | ซีพีเอฟ พร้อมด้วยบริษัทเอกชนชั้นนำ 8 บริษัท ร่วมก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย ในปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ประกอบการ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ โดยเครือข่ายสนับสนุนธุรกิจไทยในการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซีพีเอฟมีบทบาทอย่างยิ่งในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเน้นการบูรณาการกรอบ ESG การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และการติดตามกฎระเบียบที่เกิดขึ้นใหม่ เครือข่ายยังเปิดโอกาสให้สมาชิกแลกเปลี่ยน มีส่วนร่วม และมีส่วนร่วมในการร่างนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศอย่างสม่ำเสมอ |
8 | สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) | สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ TIPMSE เป็นองค์กรที่ถูกก่อตั้งด้วยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้การกำกับดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมุ่งลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ใข้แล้วในขยะทั่วประเทศ สถาบันส่งเสริมระบบการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลที่เหมาะสม เน้นให้ขยะบรรจุภัณฑ์ถูกจัดการและรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน และมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging lifecycle) |
9 | คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย) | ที่ปรึกษาซีพีเอฟและผู้แทนสำนักติดตามกฎระเบียบการค้า ได้เป็นตัวแทนสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้าน Climate Change เพื่อจัดทำข้อเสนอของภาคธุรกิจในการติดตามและผลักดันนโยบายของไทยที่สนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของไทยและภาคธุรกิจ รวมถึงการให้ความเห็นต่อการ พรบ. Climate change และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง |
10 | สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย |
- ผู้แทนสำนักติดตามกฎระเบียบการค้า ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนหลักของสภาหอการค้าฯ ด้านการลดก๊าซเรือนกระจกด้านเกษตร และได้เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตรของไทย กำหนดเป้าหมายภาคเกษตรเพื่อบรรจุใน National Determined Contributions ของประเทศ - นำเสนอให้มีการยกระดับความเข้าใจเรื่องการลด GHG ภาคเกษตรต้นน้ำให้มากขึ้น ด้วยการจัดกิจกรรมต่อสมาชิกสภาหอการค้าฯ และเครือข่ายเกษตรกร เช่น สัมมนา, อบรม |
11 | สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
ผู้แทนสำนักติดตามกฎระเบียบการค้า ได้เข้าร่วมเป็น คณะทำงานส่งเสริมและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมในการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้แทนฯ มุ่งเน้นให้สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมฯ เข้าใจและดำเนินการวัดคาร์บอนในสินค้า เช่น ประสานหน่วยงานรัฐ เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้สนับสนุนด้านองค์ความรู้ |
12 | สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย |
ซีพีเอฟมอบหมายที่ปรึกษา(นายกสมาคมฯ) ผลักดันนโยบายสมาคม ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ในสมาคมฯ ดังนี้ 1.การผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจกวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3 ชนิด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ข้าว โดยได้ร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ในการสนับสนุนการวัดและการลดฯ เชิงโครงการวิจัย เช่น - กรมวิชาการเกษตร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง) : สมาคมมีมติมอบที่ปรึกษา เป็นผู้แทนสมาคมเข้าร่วมกำหนดเนื้อหาโครงการกับกรมฯ - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) : การประเมินความยั่งยืนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการปล่อย GHG 2. จัดตั้งสำนักงานปศุสัตว์ยั่งยืน ในสมาคมฯ โดยให้ผู้แทนสำนักติดตามกฎระเบียบการค้าเป็นผู้จัดการ ผู้จัดการสำนักงาน |
13 | สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย |
ที่ปรึกษาซีพีเอฟ ในฐานะนายกสมาคมอาหารสัตว์ฯ ได้นำเสนอแนวคิดต่อผู้บริหารสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยให้ร่วมสนับสนุนงบประมาณในโครงการวิจัย ดังนี้ - โครงการการประเมินความยั่งยืนในมิติด้านสิ่งแวดล้อมของการทำเกษตรเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงราย (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) - โครงการลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่ปศุสัตว์ไทย (ในส่วนการวัด GHG การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) |
14 | สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (สมาคมด้านธุรกิจปศุสัตว์และ กุ้ง ปลา รวม 11 สมาคม) | ยกระดับความเข้าใจสมาชิกของสมาพันธ์ฯ ด้วยการให้ข้อมูลและเชิญเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ประชุมเชิงปฏิบัติการ: อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ |
15 | สมาคมผู้นำเข้าและผู้ส่งออกระดับมาตรฐานเออีโอ | ซีพีเอฟมอบหมายที่ปรึกษาเป็นนายกสมาคมฯ และนำเสนอให้สมาชิกมีความตระหนักเรื่องคาร์บอน และมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง |
16 | โครงการ Project Gigaton ของ Walmart | ซีพีเอฟเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Project Gigaton ริเริ่มโดย Walmart ในปี 2560 โดยโครงการนี้เน้นการมีส่วนร่วมในการร่วมจัดการความท้าทายของสภาพภูมิอากาศ (Climate actions) ของคู่ค้า องค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ (NGOs) และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดและหลีกเลี่ยงก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1 พันล้านตัน (a gigaton) ในห่วงโซ่คุณค่าโลก ภายในปี 2573 ซีพีเอฟได้รับรางวัลด้านความยั่งยืน ‘Merchandising Impact Award of Sustainability’ ในงานคู่ค้าของ Walmart ประจำปี (Walmart Annual Supplier Growth Forum) 2566 ด้วยผลงานการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและตรวจสอบย้อนกลับได้ ในรูปแบบการลดพลาสติกอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มการรับรองฟาร์มของ Best Aquaculture Practices (BAP) 4 star และการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดผ่านเทคโนโลยี |
17 | สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (ESG Network) | สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัทจดทะเบียนและบริษัทรับอนุญาต เพื่อสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดด้าน ESG รวมไปถึงการสนับสนุนการผนวกความยั่งยืนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทมุ่งทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม และภาครัฐในการสร้างผลลัพธ์เชิงบวกและความยั่งยืนในระดับประเทศ |
การดำเนินการ