เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
บริษัทมุ่งพัฒนาและยกระดับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสัตว์ และบ่มเพาะจิตสำนึกบุคลากรในการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ โดยได้จัดทำนโยบาย คู่มือ และมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างชัดเจน ทั้งยังนำแนวปฏิบัติสากล หรือ “หลักอิสระ 5 ประการ” มาประยุกต์ใช้ในการจัดการฟาร์มสัตว์บกและสัตว์น้ำ ในกิจการทุกประเทศ
บริษัทกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงของแต่ละสายธุรกิจทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ประจำแต่ละประเทศที่มีกิจการเลี้ยงสัตว์ และมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสายธุรกิจทำหน้าที่ดำเนินงานและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตามนโยบายและแนวปฏิบัติของบริษัทอย่างเคร่งครัด ครอบคลุมทั้งฟาร์มของบริษัทและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการเป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของประเทศไทย กฎระเบียบของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ข้อกำหนดของลูกค้า ตลอดจนมาตรฐานสากลด้านสวัสดิภาพสัตว์ โดยมีหลักเกณฑ์ครอบคลุมตั้งแต่การเลือกสถานที่ การจัดการเลี้ยงสัตว์ การจัดการอาหารและวิธีการให้อาหารสัตว์ การจัดการสุขภาพและการป้องกันโรค สุขอนามัยที่ฟาร์ม การเคลื่อนย้ายสัตว์สู่โรงงานแปรรูป การจดบันทึกข้อมูล และการฝึกอบรมพนักงาน
พันธุวิศวกรรมหรือการโคลนนิ่ง
บริษัทให้ความสำคัญกับการคัดเลือกและทดสอบสายพันธุ์ตามหลักพันธุกรรมธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมหรือการโคลนนิ่งในกระบวนการเพาะพันธุ์สัตว์ ทั้งยังมั่นใจได้ว่าคู่ค้าธุรกิจที่ส่งมอบพันธุ์สัตว์รุ่นปู่ย่าและพ่อแม่พันธุ์ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ตามหลักพันธุกรรมธรรมชาติ
การเลี้ยงสัตว์ การขนส่ง และการชำแหละ

บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดให้มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ปราศจากการควบคุมสัตว์ให้อยู่ในพื้นที่แคบ เพื่อให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ โดยการเลี้ยงสุกรขุน ไก่พันธุ์ ไก่เนื้อ เป็ดพันธุ์ และเป็ดเนื้อ ของกิจการในทุกประเทศเป็นการเลี้ยงแบบคอกรวม มีพื้นที่ให้สัตว์เพียงพอในการแสดงออกของพฤติกรรมตามธรรมชาติ ส่วนในสุกรพันธุ์ บริษัทได้นำระบบการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องในคอกขังรวมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ปี 2543 และมีเป้าหมายปรับเปลี่ยนให้ได้ร้อยละ 100 ในฟาร์มของบริษัทและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ในกิจการของทุกประเทศภายในปี 2571 ส่วนในไก่ไข่ บริษัทมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงจากแบบเดิม (Conventional Cage) เป็นแบบปล่อยอิสระในโรงเรือน (Cage-Free) โดยในปี 2562 กิจการในประเทศไทยเริ่มดำเนินการเลี้ยงไปแล้วที่ฟาร์มไก่ไข่วังสมบูรณ์ จังหวัดสระบุรี

ขณะเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ บริษัทมีนโยบายชัดเจนในการควบคุมระยะเวลาในการขนส่งสัตว์มีชีวิตทุกประเภท ในทุกประเทศที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ ให้อยู่ภายในระยะเวลา 8 ชั่วโมง ให้ได้ร้อยละ 100 บนรถขนส่งที่มีการควบคุมอุณหภูมิและระบายอากาศได้ดี เพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบายตลอดการเดินทาง โดยการกำหนดจุดพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ใกล้กับโรงชำแหละ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนฉุกเฉินรองรับ ในกรณีที่ลักษณะภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยและนำมาซึ่งความจำเป็นในการขนส่งที่นานกว่า 8 ชั่วโมง บริษัทจะเพิ่มมาตรการลดความเครียดในการขนส่ง โดยกำหนดให้มีการหยุดรถทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำและตรวจสภาพสัตว์ในรถขนส่ง นอกจากนี้ การเคลื่อนย้ายสัตว์มีชีวิตลงจากรถขนส่งจะต้องปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์และกระทำโดยนุ่มนวลที่สุด ซึ่งรวมถึงการจัดให้อยู่ในพื้นที่ผ่อนคลาย (Unloading Area) ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้สัตว์รู้สึกผ่อนคลายและอยู่ในอาการสงบ

100%

กิจการเลี้ยงสัตว์

ครอบคลุมถึง

  • ฟาร์มของบริษัท
  • ฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบพันธสัญญา

ในทุกประเทศที่มีกิจการ

ขนส่งสัตว์มีชีวิตไปยังโรงชำแหละของบริษัทภายใน
ระยะเวลา 8 ชั่วโมง

ระยะเวลาเฉลี่ยในการขนส่งสัตว์มีชีวิต*
(ชั่วโมง)
ระยะเวลามากที่สุดในการขนส่งสัตว์มีชีวิต*
(ชั่วโมง)
2565 2566 2565 2566
2.4 1.8 N/A 6.5
3.3 3.2 N/A 7.0
2.3 1.1 N/A 6.0
3.8 3.7 N/A 7.8
2.9 2.7 N/A 5.0
** 10.0 10.2 N/A 17.0
หมายเหตุ: *คำนวณจากระยะเวลาขนส่งสัตว์มีชีวิตของทุกประเทศที่บริษัทมีกิจการ
** สำหรับการขนส่งปลามีชีวิต จะเป็นการขนส่งทางน้ำด้วยเรือขนส่งซึ่งถูกออกแบบพิเศษให้ท้องเรือเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่และมีช่องให้น้ำในแม่น้ำไหลผ่านได้ เพื่อสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ตลอดการขนส่ง จึงไม่ทำให้ปลารู้สึกเครียดและมีชีวิตตลอดการขนส่งมายังโรงงาน
นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำให้สัตว์หมดความรู้สึกหรือสลบก่อนเข้ารับการชำแหละด้วยวิธีการสากลที่ได้รับการยอมรับ โดยมีเป้าหมายให้ร้อยละ 100 ของสัตว์ทุกชนิดและทุกประเทศที่เราเข้าไปลงทุนเลี้ยงสัตว์ ที่จะเข้าชำแหละในโรงชำแหละของบริษัทจะต้องผ่านขั้นตอนการทำให้หมดความรู้สึกหรือสลบ เพื่อไม่ให้รู้สึกถึงความเจ็บปวดและทรมาน
100% ของสัตว์ทุกประเภทที่จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปของบริษัทจะทำให้หมดความรู้สึกหรือสลบก่อนเข้าชำแหละ
  • ใช้กระแสไฟฟ้าในอ่างควบคุม
  • ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ
  • ใช้น้ำแข็ง
  • ใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ (บางส่วน)
การเสริมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์
นอกจากการดูแลและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด การเสริมสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นอีกหนึ่งการเติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐานของสัตว์ ให้สามารถแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ตลอดการเลี้ยงดู บริษัทจึงนำหลักการเสริมสภาพแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ทุกประเภทและในทุกประเทศที่บริษัทมีกิจการอยู่เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดความไม่สบายกาย ความรู้สึกหดหู่ และสนับสนุนการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ เพื่อให้สัตว์ทุกชนิดได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมและสามารถแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้ โดยบริษัทส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้กับปศุสัตว์ที่เลี้ยงในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ดังนี้
การสร้างสภาพแวดล้อม
ทางกายภาพ (%)
แม่สุกร สุกรอนุบาล สุกรหย่านม-ขุน
2564 64.87 100* 100 40.01 37.53 71.44
2565 61.13 100* 100 44.02 97.31 71.09
2566 88.00 100* 83.34 41.68 60.64 90.18
หมายเหตุ: * สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในโรงเรือน (Cage-Free)

ถุงแกลบสำหรับปีนป่าย

คอนสำหรับยึดเกาะ

รางน้ำสำหรับจุ่มหัวเล่น
(มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ)

วัสดุสำหรับเคี้ยวเล่น เช่น เชือก หญ้าเนเปียร์

วัสดุสำหรับจิกเล่น

วัสดุปูพื้นสำหรับคุ้ยเขี่ยและจิกเล่น

 

การเก็บตัวอย่างจากน้ำลาย

 

สถานที่สำหรับวางไข่

   
การตรวจประเมิน
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดของบริษัทและของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในกิจการประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ ได้ผ่านการตรวจประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 3 ปี และผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมถึงการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ และสอดคล้องตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) และหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice: GMP) ทั้งนี้ การรับรองมีอายุคราวละ 3 ปี มากไปกว่านั้น ธุรกิจไก่เนื้อยังได้รับการรับรองมาตรฐาน QS จาก SGS ประเทศเยอรมนี เป็นรายแรกของไทย Global GAP จาก Control Union Certifications ประเทศเนเธอร์แลนด์ ALO จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ คอมพาร์ตเมนต์ปลอดโรคไข้หวัดนก จากกรมปศุสัตว์ อีกด้วย (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน รายงานความยั่งยืนประจำปี หัวข้อการตรวจประเมิน)
ตัวอย่างเอกสารรับรองมาตรฐานด้านการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ในระดับสากล
ธุรกิจไก่เนื้อ
ธุรกิจไก่ไข่
ธุรกิจสุกร
ธุรกิจสัตว์น้ำ
จากความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการสวัสดิภาพสัตว์ข้างต้น เราจึงมั่นใจและรับรองได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารสดไปจนไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ทั้งหมดภายใต้ตราสินค้าของเรา ตราสินค้าของลูกค้า รวมถึงจำหน่ายในตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศมาจากฟาร์มที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
การสนับสนุนและส่งเสริม
การถ่ายทอดความรู้
ทีมสัตวแพทย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญของบริษัทจะทำการถ่ายทอดความรู้และความชำนาญด้านสวัสดิภาพสัตว์กับผู้ควบคุมฟาร์ม สัตวบาล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ทุกประเภท ให้เข้าใจถึงลักษณะทางกายภาพ นิสัยและความต้องการของสัตว์ เพื่อการปฏิบัติที่ดีต่อทั้งสุขภาพและร่างกายของสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้สามารถควบคุม จัดการ และป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ก่อนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้เฉพาะด้าน เช่น เจ้าหน้าที่สวัสดิภาพสัตว์ปีกด้านฟาร์มไก่เนื้อ (PWO) และการป้องกันโรค ASF (African Swine Fever) ในสุกร เป็นต้น

บุคลากร

รูปแบบการถ่ายทอดความรู้

ซีพีเอฟ

การสัมมนา การประชุม การเยี่ยมชมฟาร์ม การฝึกปฏิบัติงาน และการสอนงานที่หน้างานจริง

เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์

การสัมมนา การประชุม การเยี่ยมชมฟาร์ม และการสอนงานที่หน้างานจริง

เกษตรกรภายนอก

การสัมมนา และการเยี่ยมชมฟาร์ม

การประชุมทางไกล (VDO Conference) คณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์
บริษัทดำเนินการประชุมคณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์ทุกประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสวัสดิภาพสัตว์ ปีละ 2 ครั้ง ผ่าน VDO Conference
การอบรมเจ้าหน้าที่สวัสดิภาพสัตว์ปีกด้านฟาร์มไก่เนื้อ (Poultry Welfare Officer: PWO)
บริษัทดำเนินการอบรมเจ้าหน้าที่ PWO อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้มีเจ้าหน้าที่ PWO ประจำในทุกประเทศที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ ซึ่งเริ่มดำเนินการอบรมเจ้าหน้าที่ต่างประเทศตั้งแต่ปี 2560 และบรรลุเป้าหมายร้อยละ 100 ในปี 2562 การอบรมครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2562 ที่ประเทศไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์จากสถาบัน AW Training, UK ประเทศอังกฤษ
การอบรม Swine Health and Welfare
ธุรกิจสุกรในกิจการประเทศไทย ตั้งเป้าหมายให้มีการอบรม Swine Health and Welfare ให้ได้ร้อยละ 100 ในฟาร์มบริษัทและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ภายในปี 2563
การอบรมการป้องกันโรค ASF (African Swine Fever) ในสุกร
เพื่อให้สัตว์ปราศจากควมเจ็บป่วยตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ การป้องกันโรค ASF ในสุกรที่กำลังเป็นปัญหารุนแรงระดับโลก เป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ เราเป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ผนึกกำลังร่วมป้องกันโรค ASF โดยร่วมกับกรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย 3 ระดับ ดังนี้
ระดับประเทศ:
สนับสนุนการสร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์ที่อยู่บริเวณชายแดนประเทศที่จังหวัดเชียงรายและมุกดาหาร รวม 4 ล้านบาท
ระดับจังหวัด:
จัดโครงการสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อ “รู้ทัน ป้องกันโรค ASF ในสุกร” ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งหมด 38 จังหวัด 7,262 ราย รวม 2.2 ล้านบาท
ระดับพื้นที่:
ลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรค ASF ในสุกร ให้กับเกษตรกรรายย่อยรอบรัศมีฟาร์ม 5 กิโลเมตร ทั้งหมด 58 จังหวัด 2,156 ราย รวมถึงการส่งมอบอุปกรณ์ในการป้องกันโรครวม 2.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยังสนับสนุนการป้องกันโรค ASF ในอีกหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปนส์ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น ทั้งการออกมาตรการป้องกันโรค การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันโรค
มาตรการป้องกันโรค ASF, ประเทศกัมพูชา
การนำระบบ GPS มาใช้ในการแจ้งเตือนผ่านระบบ SMS, ประเทศลาว
การลงพื้นที่สนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ASF, ประเทศฟิลิปปินส์
โครงการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
การถ่ายทอดความรู้สวัสดิภาพสัตว์ด้านฟาร์มไก่เนื้อ
กิจการในประเทศอินเดียจัดการอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ปีกสำหรับฟาร์มไก่เนื้อกับผู้เกี่ยวข้องกับการทำงานในฟาร์มที่มาจากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของอินเดีย รวม 30 คน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรม PWO จากประเทศไทย
การทดลองใช้อุปกรณ์ให้น้ำเป็ด
กิจการในประเทศไทยทดลองใช้อุปกรณ์ให้น้ำเป็ด (Pekino Duck) ที่ถูกออกแบบมาให้มีคอลึกตามลักษณะของคอเป็ด ซึ่งธรรมชาติการดื่มน้ำของเป็ดจะมุดทั้งหัวลงในน้ำเพื่อดื่มน้ำ ส่งผลให้เป็ดมีสุขภาพดี แข็งแรง และอำนวยความสะดวกให้เป็ดมุดหัวลงในน้ำจนมิดได้ และยังสามารถใช้จะงอยปากอมน้ำขึ้นมาสะบัดและแต่งขนตามร่างกายได้ด้วย ซึ่งเป็นการสนับสนุนการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของเป็ด
การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในโรงเรือนระบบปิด
กิจการในประเทศมาเลเซียเริ่มทดลองเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระในโรงเรือนระบบปิดเป็นหลังแรก เพื่อให้แม่ไก่ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างอิสระในโรงเรือน ส่งผลให้แม่ไก่รู้สึกผ่อนคลายและมีสุขภาพดี
การสร้างแผงกั้นคอกแบบถอดได้ในโรงเรือนสุกร
กิจการในประเทศเวียดนามพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุนเดิมที่แบ่งเป็นคอกย่อยให้สุกรแสดงพฤติกรรมได้อย่างอิสระ เป็นผนังกั้นคอกที่สามารถถอดยกออกได้ ทำให้สุกรสามารถข้ามไปยังคอกอื่นได้ ตั้งแต่คอกแรกจนถึงคอกสุดท้าย เป็นการเพิ่มพื้นที่ให้สุกรเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระมากขึ้น ส่งผลให้ความเครียดลดลง
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x