ในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ. 2050) ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 9 พันล้านคน1 ทำให้โลกอาจต้องเผชิญกับปัญหา การขาดแคลนทรัพยากรที่นำมาผลิตอาหาร ในขณะที่ปัจจุบันทั่วโลกมีอาหารถูกทิ้งราวร้อยละ 30 จากจำนวนที่ผลิตมาเพื่อการบริโภค คิดเป็นปริมาณ 1,300 ล้านตันต่อปี2 และขยะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการปลอ่ยก๊าซเรือนกระจกราวร้อยละ 8 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ไม่เพียงขยะอาหารเองที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์อาหารก็เป็นปัญหามลพิษที่สำคัญในทะเล ประมาณร้อยละ 10 ของขยะพลาสติกที่พบในทะเลมาจากบรรจุภัณฑ์อาหาร3 ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร ของมนุษย์ และจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มสูงขึ้นจากการสั่งอาหารกลับบ้านและการจัดส่งสินค้า/บริการถึงที่ (Delivery) เพื่อร่วมแก้ปัญหาดังกล่าว รวมถึงเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสมดุลสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟจึงนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาบูรณาการตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท
- 1 United Nation, World Population Prospect 2019: June 2019.
- 2 Food and Agriculture Organization of the United Nation, Global Food Losses and Food Waste – Extent, causes and prevention: 2011.
- 3 Morales-Caselles et al, An inshore–offshore sorting system revealed from global classification of ocean litter, Nature Sustainability, 2021.
แนวทางการบริหารจัดการ
การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ
กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหารและนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งติดตามทบทวนผลการดำเนินงาน และปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
การใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
มุ่งมั่นพัฒนาจัดการการสูญเสียอาหาร ขยะอาหาร และบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถกลับมาสร้างคุณค่าใหม่ หมุนเวียนเป็นวงจร เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
การสร้างความตระหนักรู้
สื่อสารและเสริมสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการจัดการขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งต่อบุคลากรภายในองค์กรและผู้บริโภค
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรอิสระ และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อยกระดับการจัดการขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
ความมุ่งมั่น :
จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ และความปลอดภัย ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน
เป้าหมาย ปี 2573 :
- ลดปริมาณขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯให้เป็นศูนย์
- ร้อยละ 100 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุอาหารที่นำมาใช้จะต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรืออสามารถย่อยสลายได้
ผลการดำเนินงานปี 2565 :
- ขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีปริมาณ 2,143 ตัน (กิจการประเทศไทย)
- ร้อยละ 99.9 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุอาหารที่นำมาใช้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรืออสามารถย่อยสลายได้ (กิจการประเทศไทย)
การออกแบบและนวัตกรรมสำหรับบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่ที่โดดเด่น
สัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร จำแนกตามประเภทของพลาสติก ในปี 2565
การดำเนินการ