เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

บริษัทตระหนักดีว่าการพัฒนาคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน นำมาซึ่งโอกาสและความรับผิดชอบของบริษัทในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ด้วยธุรกิจของบริษัทมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และการใช้วัตถุดิบ บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ” ในปี 2557 และดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟ หรือ CPF Supply Chain ESG Management Approach มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558

แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟครอบคลุม 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์มูลค่าการซื้อและคู่ค้าที่สำคัญ การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG การจัดการความเสี่ยงด้าน ESG และการวางเป้าหมายและเปิดเผยผลการดำเนินงาน

โดยในแต่ละองค์ประกอบจะช่วยส่งเสริมดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้

การวิเคราะห์มูลค่าการซื้อและคู่ค้าที่สำคัญช่วยให้บริษัททราบถึงคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical supplier) ที่มีมูลค่าการซื้อสูง เป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบที่สำคัญต่อการผลิตสินค้า หรือเป็นคู่ค้าธุรกิจที่ไม่สามารถทดแทนได้ ซึ่งช่วยในการลำดับความสำคัญในการจัดการ

การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ผ่านการศึกษาแนวโน้มความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในแต่ละสินค้า กลุ่มอุตสาหกรรม และประเทศ รวมถึงการจัดทำแบบประเมินตนเองด้านความยั่งยืนสำหรับคู่ค้าธุรกิจ และการตรวจประเมินแบบลงพื้นที่ ช่วยให้บริษัททราบถึงความเสี่ยงด้าน ESG ที่อาจเกิดขึ้น

การจัดการความเสี่ยงด้าน ESG ประกอบด้วยการให้ความรู้ในข้อกำหนดและกระบวนการด้าน ESG ของบริษัท สร้างความตระหนักด้าน ESG การส่งเสริมคู่ค้าในการกำหนดแผนปรับปรุงการดำเนินงาน ไปจนถึงการพัฒนาศักยภาพคู่ค้าในเชิงรุก

การวางเป้าหมายและเปิดเผยผลการดำเนินงาน เป็นกำหนดความมุ่งมั่นและแสดงผลการดำเนินงานต่อสาธารณะ

ในปี 2555 ซีพีเอฟ (กิจการประเทศไทย) มีผลการประเมินคู่ค้าและผลดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

  • คู่ค้าธุรกิจลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญ* (Significant Tier-1) มีจำนวน 338 ราย
  • คู่ค้าธุรกิจทางอ้อมที่มีนัยสำคัญ* (Significant Non-Tier-1) มีจำนวน 45 ราย
  • ค่าใช้จ่ายในกลุ่มคู่ค้าธุรกิจลำดับที่ 1 ที่มีนัยสำคัญคิดเป็น ร้อยละ 48%
  • ร้อยละ 100 ของคู่ค้าธุรกิจได้ลงนามรับทราบนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน บรรลุเป้าหมายประจำปี 2565 ที่ร้อยละ 100
  • ร้อยละ 100 ของคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical supplier) ได้รับการประเมินการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม บรรลุเป้าหมายประจำปี 2565 ที่ร้อยละ 100
  • คู่ค้าธุรกิจ 414 รายเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า บรรลุเป้าหมายประจำปี 2565 ที่ 414 ราย

ทั้งนี้ ซีพีเอฟอยู่ระหว่างขยายผลการดำเนินงานไปต่างประเทศโดยจะเปิดเผยผลการดำเนินงานในลำดับต่อไป

หมายเหตุ: คู่ค้าธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Significant suppliers) หมายถึงคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงด้าน ESG หรือ คู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical supplier) หรือทั้งสองข้อ

การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x