ประเทศไทยบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ฐานเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy) โดยมีอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาดังกล่าว และมุ่งเน้นการใช้ฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่าร่วมกับการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่ปี 2559 บริษัทจึงได้ริเริ่มโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมของพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำคัญในการดำเนินธุรกิจอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และอาหารของบริษัท
ในปี 2561 ผลการดำเนินงานพบว่าอัตราการรอดตายของต้นไม้ปลูกใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 90 ขณะที่ชุมชนโดยรอบก็สามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตที่ได้จากการฟื้นตัวของป่าไม้ด้วย บริษัทยังคงดูแลรักษาผืนป่าแห่งนี้ และดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมโดยสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่าอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดทำแนวกันไฟ รวมถึงปลูกเสริมป่า และกำจัดวัชพืชเพื่อส่งเสริมการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 5,971 ไร่
นอกจากนี้ บริษัทร่วมกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินโครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานในการเปรียบเทียบความหลากหลายทางชีวภาพที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการดำเนินโครงการ โดยสำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 9 ชนิด นก 119 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 20 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 15 ชนิด
ปี 2559
ปี 2563
การดำเนินโครงการฯ ในปี 2565 สามารถอ่านรายละเอียดได้ใน รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2565 หน้า 109
(อ่านรายละเอียดโครงการได้ที่ “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง”)