ระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2559 ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (The Living Planet Index: LPI) มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่ง ณ ปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรสัตว์โลกลดลงถึงร้อยละ 68 ทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพันธุกรรมเพื่อผลิตยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยของสัตว์และแมลงผสมเกสร ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบุกรุกป่าเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชผลิตอาหารและเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี การเผาซากพืชไร่ ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกที่มีความสำคัญในการสนับสนุนระบบผลิตอาหารของมนุษย์สูญเสียไปทั่วโลก ผู้ผลิตอาหารและค้าปลีกจึงหันมาให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงปราศจากแรงงานบังคับ
เป้าหมาย ปี 2568 :
- ร้อยละ 100 ของวัตถุดิบหลักมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
เป้าหมาย ปี 2573 :
- 20,000 ไร่ (3,200 เฮกตาร์) ของพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าต้นน้ำ เพิ่มขึ้นในพื้นที่ยุทธศาสตร์ และพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการi
- 200,000 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมที่ดูดซับจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการi
ผลการดำเนินงาน ปี 2566 :
- ร้อยละ 35.4 ของวัตถุดิบหลักมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าii
- 19,932 ไร่ (3,189 เฮกตาร์) ของพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าต้นน้ำ เพิ่มขึ้นในพื้นที่ยุทธศาสตร์ และพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการi
- 46,392 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมที่ดูดซับจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการi
หมายเหตุ:
iกิจการประเทศไทย
iiวัตถุดิบหลัก ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และมันสำปะหลัง ครอบคลุมวัตถุดิบหลักสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ใน กิจการประเทศไทย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม และอินเดีย และวัตถุดิบหลักสำหรับธุรกิจอาหารในกิจการประเทศไทยและเวียดนาม
การดำเนินการ