ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
How well prepared is Thailand for ASF outbreak prevention
21 Mar 2019
How well prepared is Thailand for ASF outbreak prevention

         โดย รศ.ดร.กานต์ สุขสุแพทย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถานการณ์เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่กำลังระบาดอย่างหนักในจีนและเวียดนามยังคงมีแนวโน้มระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองประเทศยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ด้วยเหตุผลสำคัญคือไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน และหากเชื้อยังคงแพร่กระจายอยู่เช่นนี้ท่ามกลางโลกไร้พรมแดน ที่ทั้งคน สัตว์ และพาหนะ สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแพร่ไปได้ทั่วโลกนั้น....แค่คิดก็น่าสะพรึงยิ่งนัก

         จริงอยู่ เชื้อนี้ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่น คนยังคงบริโภคหมูได้อย่างปลอดภัย แต่เมื่อใดที่เกิดการแพร่ระบาด จะต้องทำลายหมูในฟาร์มลงทั้งหมดเพื่อจำกัดวงแพร่กระจายซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณหมูขาดแคลน ระดับราคาจะดีดตัวสูงขึ้น และอาจแพงเป็นประวัติการณ์หากไม่มีหมูเพื่อการบริโภคอีกต่อไป

         หนทางที่ดีที่สุดของประเทศไทยคือ การป้องกันทุกวิถีทาง ไม่ให้เชื้อดังกล่าวกล้ำกรายเข้ามายังอาณาเขตของเรา พร้อมๆ ไปกับการเรียนรู้ความล้มเหลวในการบริหารจัดการแก้ปัญหา ASF ของสองประเทศ และวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมหากเกิดวิกฤต ASF ในบ้านเราลองเปรียบเทียบการเลี้ยงหมูและวิธีจัดการ ASF ในเวียดนาม จีน และไทย เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการช่วยป้องกันมหันตภัยนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย

        ประการแรก : เวียดนามและจีน มีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้ไม่มีระบบป้องกันโรคที่ได้มาตรฐาน ไม่มีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์หรือสัตวบาลประจำฟาร์ม ทำให้การควบคุมดูแลเป็นไปอย่างยากลำบาก ขณะที่ในประเทศไทยอาจได้เปรียบกว่า ตรงที่บ้านเรามีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือเลี้ยงหมูหลังบ้านค่อนข้างน้อย ฟาร์มส่วนใหญ่ในประเทศเป็นฟาร์มมาตรฐานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีระบบการป้องกันโรคในระดับที่ดี นับเป็นจุดแข็งที่น่าจะทำให้การป้องกันและควบคุมสถานการณ์เป็นไปได้ดีกว่า

         ประการต่อมา : ช่วงแรกที่พบการระบาดในประเทศจีน รัฐบาลจีนได้จัดเตรียมงบประมาณฉุกเฉินสำหรับเยียวยาเกษตรกรทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วงต้น แต่สุดท้ายเมื่องบประมาณหมดลง ขณะที่ราคาหมูในท้องตลาดสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถจูงใจเกษตรกรได้อีกต่อไป และทยอยเทขายหมูออกสู่ตลาดส่งผลให้เหตุการณ์บานปลายขณะที่เวียดนามเองไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่ชัดเจนให้แก่เกษตรกร เกษตรกรจึงเร่งขายหมูออกเช่นเดียวกับจีน โดยไม่แจ้งทางการ สถานการณ์จึงเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว

          เหตุการณ์นี้ทำให้รู้ว่านอกเหนือจากการป้องกันทุกรูปแบบแล้ว รัฐบาลไทยต้องเตรียม งบประมาณฉุกเฉินในจำนวนที่มากพอ เพื่อเยียวยาเกษตรกรที่พบโรค สร้างแรงจูงใจให้เขางดขายหมูที่อาจติดเชื้อ พร้อมๆ กับให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรทุกคนอย่างทั่วถึง และต้องสร้างจิตสำนึกการคำนึงถึงส่วนรวมด้วย เชื่อว่าจะช่วยจำกัดบริเวณการพบเชื้อได้

          ประการที่ 3 : การที่กรมปศุสัตว์ออกมาตรการเข้ม ห้ามนำเข้าชิ้นส่วนหมูและผลิตภัณฑ์จากทุกประเทศอย่างเด็ดขาดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และควรตรวจสอบสัมภาระของนักท่องเที่ยวให้เข้มงวดรัดกุม รวมถึงควรประชาสัมพันธ์แจ้งไปยังทุกประเทศอย่างเป็นทางการ เพื่อให้นักท่องเที่ยวรับทราบ คล้ายๆ กับการห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องหรือห้ามโหลดเพาเวอร์แบงก์ไว้ใต้เครื่อง เป็นต้น

          ประการที่ 4 : การสร้างจุดฆ่าเชื้อพาหนะทุกคันที่ผ่านด่านชายแดนทุกด่าน ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ประจำด่าน ซึ่งต้องมีความรู้และตระหนักถึงมหันตภัย ASF ให้มาก ที่สำคัญคือจำเป็นต้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งผลัดเวรกันตลอด 24 ชั่วโมง

           ประการที่ 5 : อีกทางที่ดีที่สุด ในเมื่อเชื้อดังกล่าวยังไม่พบในกัมพูชาและลาว ไทยจึงควรใช้กัมพูชาและลาวเป็นกำแพงป้องกัน ไม่ให้เชื้อ ASF เข้าใกล้ไทยมากไปกว่านี้ โดยกรมปศุสัตว์ของไทยควรยื่นมือเข้าปรึกษาหารือและร่วมช่วยเหลือสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่ใช่เพียงน่ากลัวสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหรืออุตสาหกรรมหมูทั้งระบบ แต่มันหมายถึงเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ ซ้ำเติมปัจจัยลบด้านอื่นๆ ที่มีมากมายอยู่แล้วในปัจจุบัน

มาช่วยกันครับ ลำพังในฐานะนักท่องเที่ยว ก็งดนำหมูและผลิตภัณฑ์เข้ามาเป็นของฝากของขวัญกัน และโปรดให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบทุกครั้ง ไม่ใช่เพื่อใคร...ก็เพื่อเศรษฐกิจประเทศไทยของเราทุกคน

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x