ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ไทยจะตั้งรับการรุกคืบของเนื้อหมูนำเข้าอย่างไร โดย น.สพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์
13 Aug 2014
ไทยจะตั้งรับการรุกคืบของเนื้อหมูนำเข้าอย่างไร โดย น.สพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์

ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ครั้งที่ 5 ที่ศูนย์เครือข่ายการวิจัยเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ ด้วยความร่วมมือของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “การผลิตเนื้อสัตว์ภายใต้การแข่งขันทางการค้าโลก” มีการสัมมนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของบรรดาท่านผู้รู้ในวงการปศุสัตว์หลายท่าน วันนี้ขอหยิบยกประเด็น“ไทยจะตั้งรับการรุกคืบของเนื้อหมูนำเข้าอย่างไร” มาบอกต่อ โดย น.สพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย กล่าวว่า จนถึงขณะนี้สหรัฐอเมริกายังคงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขอนำเข้าหมูและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะเครื่องในหมู ที่เป็นเศษเหลือที่คนอเมริกันไม่บริโภค และหวังส่งออกเพื่อเพิ่มกำไร ด้วยการยกข้ออ้างมากมายมาประกอบ ทั้งเรื่องมาตรฐานการเลี้ยงและฟาร์มของสหรัฐฯ มีความเป็นสากลกว่า การเลี้ยงหมูของประเทศไทยซึ่งยังไม่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี

หากแต่ในความเป็นจริงมาตรฐานการผลิตเนื้อหมูของไทยมีความปลอดภัยที่สูงกว่า เนื่องจากไทยห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมอาหารสัตว์ทุกชนิด ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยไทยประกาศห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์อย่างเด็ดขาดตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน ปี 2542 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับสหภาพยุโรปและอีกหลายๆ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในอาหาร ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตหมูของไทยก็มีพัฒนาการและเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตเนื้อหมูที่มีคุณภาพสูงได้อย่างเพียงพอต่อการบริโภค

ถึงแม้สหรัฐฯ จะบอกว่าได้พยายามปรับค่าปริมาณสารเร่งเนื้อแดง แร็กโตปามีน (Ractopamine) ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Codex ที่อนุญาตให้ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้แล้วก็ตาม แต่เรื่องนี้ยังขัดต่อพรบ.อาหาร พ.ศ.2522 และพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 ของไทย ซึ่งห้ามไม่ให้มีการใช้สารเหล่านี้อยู่แล้ว และกรมปศุสัตว์ยืนยันห้ามใช้สารในกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ผสมอาหารสัตว์ทุกตัวไปผสมอาหารสัตว์ เนื่องจากสารดังกล่าวมีโทษต่อสัตว์และมนุษย์ โดยมีฤทธิ์กระตุ้นสมองและระบบไหลเวียนโลหิต

“ที่สำคัญสหรัฐฯยังเป็นแหล่งผลิตสารเร่งเนื้อแดงที่สำคัญ ทั้งยังเป็นประเทศที่อนุญาตให้มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงได้อย่างถูกกฎหมาย เรียกได้ว่าเนื้อหมูของสหรัฐมีสารเร่งเนื้อแดงทั้ง 100% ก็คงไม่ผิดนัก” น.สพ.ปราโมทย์ กล่าว

ส่วนจะดำเนินการกับเครื่องในนำเข้าเหล่านี้อย่างไรนั้น น.สพ.ปราโมทย์ ชี้ว่า ภาครัฐควรผลักดันให้เกิดกฎหมายห้ามนำเข้าชิ้นส่วนหมูโดยเฉพาะเครื่องใน เพื่อสกัดกั้นต้นเหตุของปัญหา และป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทย ทั้งยังช่วยปกป้องเกษตรกรไทยจากการเข้ามาตีตลาดของหมูสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณหมูล้นตลาดเพราะเกินความต้องการบริโภค ราคาหมูจะตกต่ำลง เกษตรกรต้องขาดทุนและอยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปถึงผู้ผลิตอาหารสัตว์ ยา-เวชภัณฑ์ เมื่อรวมทั้งอุตสาหกรรมหมูแล้วมีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท หากทั้งหมดต้องล่มสลายเพราะหมูสหรัฐเข้ามาตีตลาดแล้ว ย่อมกระทบภาพรวมเศรษฐกิจของชาติอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี กรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย จัดทำมาตรการร่วมกัน ในการเร่งปรับปรุงการเลี้ยงและจัดทำมาตรฐานฟาร์มให้ได้เกิน 85% ของจำนวนหมูทั้งประเทศ โดยตั้งเป้าให้สามารถผลักดัน 7,000 ฟาร์ม จาก 8,000 ฟาร์มในปัจจุบัน เข้าสู่มาตรฐานให้ได้ภายในปี 2558  พร้อมทั้งรณรงค์ให้เกษตรกรหยุด-ละ-เลิกการใช้สารเร่งเนื้อแดง โดยบังคับใช้กฎหมาย พรบ.อาหารสัตว์ พศ.2525 อย่างเข้มงวด ควบคู่ไปกับการทำเขตโซนนิ่งฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ที่เริ่มแล้วในเขต 2 ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่เลี้ยงหมูเพื่อการส่งออก ขณะเดียวกัน ก็ต้องหากระบวนการจำกัดการนำเข้า ตับและเครื่องในต่างๆ โดยมีการตรวจเช็คที่เข้มงวด รวมทั้งตรวจสอบและกักโรคจากการนำเข้าหมูและผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ PED PRRS และ SI พร้อมตรวจสอบสารตกค้างที่สหรัฐฯอนุญาตให้ใช้ เช่น Carbadox ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และ Chloramphenical Furazolidone เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้งสองหน่วยงานยังร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การผลิตและจำหน่ายเนื้อหมูสะอาด ตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่กระบวนการผลิตสัตว์จากฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหาร ประกอบด้วย กระบวนการผลิตสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ กระบวนการฆ่าและการแปรรูปเนื้อสัตว์ภายในโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งสัตว์มีชีวิตและเนื้อสัตว์ และกระบวนการจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่จุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ รวมทั้งระบบการตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์ถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์นั้นๆ ณ จุดจำหน่าย ยุทธศาสตร์นี้จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตหมูให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้เนื้อหมูที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากที่สุด

นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ทิ้งท้ายด้วยคำแนะนำถึงวิธีการเลือกซื้อเนื้อหมูที่ปลอดภัยจากสารเร่งเนื้อแดงว่า ผู้บริโภคควรสังเกตเนื้อหมูก่อนตัดสินใจซื้อ โดยดูสีสันไม่ควรเป็นสีแดงสด ชื้นเนื่อควรมีสีชมพูอ่อน เนื้อต้องมีน้ำเจือปน หรือที่เรียกว่าฉ่ำน้ำ เพราะสารเร่งเนื้อแดงจะทำให้เนื้อมีลักษณะแห้ง ควรมีไขมันแทรกในชั้นกล้ามเนื้อ  เวลากดเนื้อแล้วจะนิ่ม ต่างจากเนื้อที่ใช้สารเร่งที่เนื้อจะแข็ง และเวลาปรุงสุกเนื้อหมูที่ใช้สารเร่งฯ จะมีลักษณะกระด้าง เคี้ยวแล้วจะรู้สึกแข็ง ที่สำคัญสำหรับคนที่แพ้สารเร่งเนื้อแดง จะมีอาการหัวใจเต้นเร็วจนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จึงแนะนำให้เลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งน่าเชื่อถือได้

ข้อมูลทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าเนื้อหมูของบ้านเรา มีคุณภาพสูงกว่าและมีปริมาณการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเปิดรับชิ้นส่วนหมูที่คนอเมริกันไม่กิน และหวังว่าความพยายามเดินหน้ายุทธศาสตร์ที่ทั้งกรมปศุสัตว์และสมาคมฯกำลังทำอยู่จะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมหมูทั้งระบบที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย

 

ขอขอบคุณ : มติชน

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x