ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
อาหารไทย วินาทีนี้ต้อง FOOD SAFETY
16 Jun 2014
อาหารไทย วินาทีนี้ต้อง FOOD SAFETY

อาหารเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญสำหรับมวลมนุษยชาติอันขาดเสียไม่ได้ เพราะทุกชีวิตต้องดำรงอยู่ด้วยอาหารและคงไม่มีใครเถียงว่าที่เราทำงานหนักทุกวันนี้ก็เพื่อให้มีอะไร “กิน” ต่อไป ซึ่งเมื่อพูดถึงอาหารแล้วบางคนก็อาจจะนึกถึงการเกษตร การแปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร ราคาอาหาร ร้านอาหารอร่อยๆ ทุนนิยมกับอุตสาหกรรมอาหาร การส่งออกอาหาร การแข่งขัน ทรัพยากรและความอุดมสมบูรณ์ หรือแม้แต่แนวคิดขั้วตรงข้ามอย่างความจน ความอดอยาก วิกฤตด้านอาหารฯลฯ

ทว่า มีสิ่งหนึ่งที่เชื่อเหลือเกินว่า คนสมัยนี้เริ่มคิดถึงกันมากขึ้นก็คือ “ความปลอดภัยทางด้านอาหาร” ที่กินแล้วไม่เพียงแต่อิ่มท้อง ร่างกายได้พลังงานเท่านั้น แต่สำคัญอย่างยิ่งชีวิตต้องปลอดภัยไร้โรคด้วย

ปุจฉาจึงมีอยู่ว่า ปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นมีผู้ที่มีความรู้ด้านความปลอดภัยอาหารแล้วนำความรู้นั้นมาใช้อย่างถูกต้องเพียงพอหรือยัง และถ้ายัง…? คิดว่าจะมีผลต่ออุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทยสู่การเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน และการแข่งขันในเวทีโลกหรือไม่ เป็นโจทย์ที่ผู้มีหน้าที่ ทั้งภาครัฐ หน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่เอกชนจะนิ่งเฉยไม่ได้

ถึงเวลาผลิตผู้ผลิตผู้มีความรู้ด้าน FOOD SAFETY

และเมื่อเร็วๆนี้ คณะอุตสาหกรรมเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้นำร่องแถลงเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการจัดการความปลอดภัยของอาหาร หรือ FOOD SAFETY เป็นแห่งแรกของประเทศในระดับปริญญาโท

ตั้งเป้าหมายผลิตนักจัดการความปลอดภัยอาหาร 30 คนต่อปีสู่ตลาดแรงงานอาหาร เพื่อเตรียมยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปไทยสู่การเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน ผ่านจัดเด่นด้านการจัดการคุณภาพอาหารที่ได้มาตรฐานโลก ตอบโจทย์การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย

รศ.ดร.ประพันธ์ ปิ่นศิโรดม คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร (สจล.) ให้ความเห็นกับการเปิดหลักสูตรดังกล่าวว่า ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ร้านอาหารหรือภัตตาคาร ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารและอื่นๆ ทั่วประเทศรวมกันกว่าหลายแสนราย แต่มีจำนวนผู้มีความรู้ด้านความปลอดภัยของอาหารและนำมาใช้อย่างถูกต้องเพียงไม่ถึง 5% ของจำนวนดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน เพราะเมื่อปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โซนประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นกลุ่มในประเทศสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตของอาหารที่สำคัญอันดับหนึ่งของโลก และนั่นยอมหมายถึงความต้องการที่ใช้บุคลากรด้านความปลอดภัยอาหารย่อมมีมากขึ้นตามด้วย

“ประเทศไทยซึ่งมีความพร้อมและศักยภาพสูงสุดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านอุตสาหกรรมอาหาร มีพื้นฐานด้านการเกษตรที่มั่นคง ทำให้มีผลผลิตที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างหลากหลาย โดยอัจจุบันอุตสาหกรรมของไทยมีมูลค่าการส่งออกกว่า 9.13 แสนล้านบาท อีกทั้งภาครัฐยังมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารหลายโครงการ อาทิ โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ไทยแลนด์ฟู้ดวัลเลย์

ดังนั้น จึงควรเตรียมความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหารเพื่อรองรับการส่งออก พร้อมชูจุดเด่นของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทยที่ใส่ใจด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั่วโลกเป็นหลัก เนื่องจากแนวคิดด้านการควบคุมคุณภาพความปลอดภัยอาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคโดยตรง” คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร สจล.กล่าว

การจัดการความปลอดภัยอาหารอย่างเป็นระบบ

รศ.ดร.อดิศร เสวตวิวัฒน์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการจัดการความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า ในการจัดการความปลอดภัยในอาหารอย่างเป็นระบบต้องเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์เพื่อควบคุมอันตรายจากจุลินทรีย์ สารเคมี สารพิษ สารก่อภูมิแพ้ หรือสารอื่นๆที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งอาจเจือปนอยู่ในอาหารแปรรูปที่ถูกส่งต่อมาจากภาคอุตสาหกรรมสู่ผู้บริโภค หรือสารอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพซึ่งอาจเจือปนอยู่ในอาหารแปรรูปที่ถูกส่งต่อมาจากภาคอุตสาหกรรมสู่ผู้บริโภค

ประธานหลักสูตรฯ กล่าวต่อว่า ซึ่งในการก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก คุณภาพความอร่อยหรือรสชาติของอาหารนั้นไม่พอ ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย หรือ FOOD SAFETY ของอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีการแบ่งประเภทของอันตรายในอาหารออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ หนึ่ง อันตรายด้านกายภาพคือ อันตรายที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนเปื้อนมากับอาหาร อาทิ โลหะ เศษแก้ว ลวดเย็บกระดาษ ลูกแม็ก เป็นต้น ซึ่งเมื่อรับประทานก็จะได้รับอันตราย สอง อันตรายทางเคมี คือ อันตรายที่เกิดจากสารเคมีในวัตถุดิบที่ใช้แปรรูปอาหาร หรือเกิดจากการปกเปื้อนในระหว่างการผลิตวัตถุดิบการแปรรูปอาหาร การบรรจุ และการเก็บรักษา อาทิ สารพิษตกค้างจากสารกำจัดศัตรูพืช ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ ถ้าปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่มากผู้บริโภคจะได้รับอันตรายได้

“สาม อันตรายด้านชีวภาพ คืออันตรายในอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ก่อโรค อาทิ แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในเขตร้อน ทำให้มีโรคสารพัดชนิด ฉะนั้นวัตถุดิบบางอย่างถ้าไม่ปรุงให้สุกก่อนแล้วกินก็จะก่อโรค แต่บางอย่างถึงปรุงสุกก็วางใจไม่ได้ เช่น กรณีนักเรียนกินข้าวมันไก่ไม่สุก แต่เกิดจากการที่คนขายเอาเขียงสับเนื้อดิบหรือมีดสับเนื้อดิบที่ไม่ล้างแล้วเอามาสับไก่ ทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนในไก่สุกและข้าวเด็กกินแล้วท้องเสีย ประการสุดท้าย คือ อันตรายจากสารก่อภูมิแพ้เฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้สารบางอย่างในอาหาร ซึ่งไทยยังขาดการจัดการความปลอดภัยทางด้านนี้อยู่”

ไทยยังขาดฟู้ดเชฟตี้จากสารก่อภูมิแพ้

            รศ.ดร.ประพันธ์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองมาตรการในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารไทย ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงมาตรการในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้ระบบมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือโคเด็ซ์ (CODEX) โดยแบ่งมาตรฐานการควบคุมอาหารความปลอดภัยออกเป็น 6 ประการ ได้แก่ 1.สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2.เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 3.การควบคุมกระบวนการผลิต 4.การสุขาภิบาล 5.การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และ 6.บุคลากร ทั้งนี้ประเทศไทยยังขาดการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากอันตรายของสารก่อภูมิแพ้

                “ปัจจุบันสารก่อภูมิแพ้ในอาหารมีความสำคัญสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น โดยองค์กรภูมิแพ้โลกเผยสถิติว่า ในปี 2556 มีคนป่วยโรคภูมิแพ้อาหารกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในเด็กพบได้มากกว่า 8% และพบในผู้ใหญ่ประมาณ 3% ซึ่งอาหาร ส่วนใหญ่ที่แพ้ ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี อาหารทะเล ซึ่งหากผู้บริโภคกลุ่มนี้รับประทานอาหารที่ตนแพ้อาจเกิดอาการตั้งแต่เป็นผื่นคัน หายใจไม่ออก หรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอังกฤษ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยจากสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร สำหรับประเทศไทยยังขาดมาตรการในส่วนนี้ที่ชัดเจน”

                คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรอุตสาหกรรมให้ความเห็นทิ้งท้าย ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสนใจและกำหนดมาตรการป้องกันอันตราย สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อาจมีสารก่อภูมิแพ้เจือปนอยู่ โดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องสารก่อภูมิแพ้ในอาหารต่อผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อเป็นการส่งเสริมการควบคุมความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมอาหารที่ช่วยสร้างความปลอดภัยสู่ผู้บริโภคยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการระบุส่วนผสมข้างฉลากขงผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อเป็นการสร้างมาตรการป้องกันอันตายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                “การที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในตลาดอาเซียน รวมถึงการแข่งขันในเวทีตลาดโลกได้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าประเทศไหนที่นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศทั้งหลายก็ดี คุณภาพและความปลอดภัยต้องมาก่อน สมัยก่อนๆความปลอดภัยอาจไม่เน้นย้ำมากนัก แต่ปัจจุบันความปลอดภัยของอาหารถือว่ามีความสำคัญว่าคุณภาพและด้านอื่นๆด้วยซ้ำ เพราะเรื่องนี้ต่อรองไม่ได้ เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีมาตรฐาน กฎเกณฑ์ และกฎหมาย ที่เข้มงวดมาก แต่ถามว่าวันนี้เรามีผ็เชี่ยวชาญในการจัดการความปลอดภัยอาหารที่บาลานซ์ต่อโรงงานอุตสากรรมอาหาร ร้านอาหารทุกขนาด ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหาร และอื่นๆ ทั่วประเทศรวมกันกว่าหลายแสนรายหรือยัง คำตอบคือยัง เรายังขาดบุคลากรด้านนี้อยู่มาก ซึ่งเขาเหล่านี้แหละจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยให้ก้าวไกลในตลาดโลกไม่น้อยหน้าประเทศอื่นๆ”

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x