ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ย้อนรอยที่มาปลาป่น กับการทำประมงที่ยั่งยืน (1)
30 Jun 2014
ย้อนรอยที่มาปลาป่น กับการทำประมงที่ยั่งยืน (1)

“ปลาป่น” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการอบแห้งปลาสด และส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอาหารสัตว์น้ำจะมีปลาป่นเป็นองค์ประกอบประมาณ ร้อยละ 7 - 10 แต่ในอาหารสัตว์บางชนิดจำเป็นต้องใช้ปลาป่นเป็นส่วนผสมถึง ร้อยละ 20 - 30 เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์ เช่น ในอาหารกุ้ง เป็นต้น ส่วนขั้นตอนวิธีการกว่าจะได้มาซึ่งปลาป่นคุณภาพ จะเป็นอย่างไรวันนี้จะพาท่านผู้อ่านไปย้อนรอยกัน

เริ่มจากการออกเรือของผู้ประกอบการประมงใน 23 จังหวัดทั้งในแถบอันดามันและฝั่งอ่าวไทย โดยระบบฐานข้อมูลเรือประมงไทย จากสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง ระบุว่า มีเรือประมงกระจายอยู่ใน 23 จังหวัด มากถึง 57,141 ลำ เป็นเรือที่จดอาชญาบัตรเครื่องมือทำการประมง รวม 18,089 ลำ (ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมประมง) ที่เหลือส่วนมากเป็นเรือขนาดเล็กและเรือประมงพื้นบ้าน ที่ใช้เครื่องมือประมงเป็นเครื่องมือนอกพิกัด โดยชาวประมงต้องขอจดทะเบียนผู้ประกอบอาชีพการทำประมง ซึ่งปริมาณการจับสัตว์น้ำเค็มจากแหล่งธรรมชาติของเรือร่วม 5 หมื่นลำดังกล่าว เมื่อปี 2554 ประมาณ 1,610,400 ตัน ในจำนวนนี้เป็นปลา 1,273,700 ตัน ประกอบด้วยปลาเบญจพรรณ (Food Fish) สำหรับคนบริโภค อยู่ 917,900 ตัน ส่วนอีก 355,800 ตัน เป็นปลาเป็ด (by-catch Fish) หรือที่ชาวเรือเรียกว่า ปลาเรือ ซึ่งเป็นปลาที่คนไม่นิยมรับประทาน หรือไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ปลาเหล่านี้เองที่จะกลายมาเป็นปลาวัตถุดิบในการทำปลาป่น

ทั้งนี้ กรมประมงให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันการทำประมงในประเทศไทย  เป็นการทำประมงในน่านน้ำของประเทศไทยจำนวน 50%  อีก 50% ที่เหลือเป็นการทำประมงนอกน่านน้ำของประเทศไทย โดยเรือประมงก็มีหลากหลายประเภท หากจำแนกตามเครื่องมือประมง อาทิ อวนลาก อวนล้อมจับ อวนตา ส่วนการออกเรือก็จะมีรอบการออก หากเป็นเรือเล็ก ก็จะออกรอบละ 15 วัน ส่วนเรือใหญ่จะออกประมาณ 10 วัน บ้างก็ไปนานหลายเดือน โดยจะมีเรือทัวร์หรือเรือลำเล็กคอยขนถ่ายปลาที่จับได้มาส่งที่ฝั่ง บ้างก็เก็บปลาไว้ในท้องเรือแล้วนำขึ้นฝั่งคราวเดียว เมื่อนำปลามาที่ฝั่งแล้ว ที่ท่าปลาจะทำการคัดเอาปลาสำหรับบริโภคลงก่อน การทำงานขั้นตอนนี้จะต้องแข่งกับเวลา โดยปกติต้องถ่ายเทปลาให้เสร็จใน 10 ชม. ระหว่างนี้จะมีพ่อค้ามาคัดปลาที่ต้องการเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ รวมถึงคนในอุตสาหกรรมปลากระป๋อง และซูริมิ (เนื้อปลาแปรรูป) มารับซื้อปลาเข้าโรงงาน ขณะที่บางเจ้าจะมีโรงงานปลาป่นมารับปลาเป็ดที่ท่าเรือ หรือบางที่เอาเรือเล็กล่องไปรับปลาเรือจากเรือใหญ่เพื่อนำไปทำปลาป่นทันที และโรงงานปลาป่นบางแห่งก็จะให้เรือประมงมาขึ้นปลาที่ท่าของโรงงานเลยก็มีสุดแล้วแต่การประสานงานของแต่ละโรงงาน

สำหรับปลาเป็ดที่จะนำมาทำปลาป่นนั้นก็มีหลายเกรด ปลาที่เกรดดีหน่อย ก็จะได้จากการจับปลาด้วยอวนดำ คือการใช้อวนล้อมจับปลาทั้งฝูง ซึ่งจะจับได้ในช่วงเดือนแรม ปลาที่ได้จะมีคุณภาพดี ส่วนปลาที่ได้จากอวนลาก ด้วยการลากอวนไปที่บริเวณพื้นทะเล จะลากได้ปลาผิวดินปลาหน้าดิน คุณภาพปลาจะรองลงมา และปลาที่จับโดยอวนรุน หรือเรือรุน คุณภาพปลาจะต่ำสุด เนื่องจากปลาจะติดโคลน อย่างไรก็ดีตามกฎหมายแล้วอวนรุนสามารถทำได้แต่ต้องออกเรือหาปลาห่างจากชายฝั่งมากกว่า 3 กม. เพื่อไม่ให้การลงอวนไปทำร้ายปะการังและปลาหน้าดิน

ปัจจุบันไทยมีโรงงานผลิตปลาป่น 86 แห่ง กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด โดยจะใช้ปริมาณสัตว์น้ำในการผลิตปลาป่นรวมปีละ 1,287,709 ตัน แบ่งเป็น เศษปลาที่ได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (by-product) เช่น โรงงานซูริมิ โรงงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา รวม 783,824 ตัน คิดเป็น 61 % ของวัตถุดิบทั้งหมด และเป็นปลาที่จับได้แต่เหลือจากการบริโภคหรืออุตสาหกรรม (by-catch) ได้แก่ ปลาเป็ด 355,813 ตัน หรือ 28% ของวัตถุดิบทั้งหมด รวมถึงเป็นปลาอื่นๆอีก 148,072 ตัน คิดเป็น 11% ของวัตถุดิบทั้งหมด (ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมประมง) โดยปลาเหล่านี้จะรับซื้อจากเรือประมงหรือพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ ซึ่งปริมาณปลาทั้งหมดสามารถผลิตเป็นปลาป่นได้ประมาณ 327,666 ตันต่อปี มีมูลค่า 8,607,529 บาท (คิดจากราคาหน้าโรงงานเฉลี่ยที่ 30.50 บาท) ทั้งนี้ ปลาป่นนับเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่นำเงินตราต่างชาติเข้าประเทศไทย โดยมีประเทศปลายทางที่สำคัญได้แก่ เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินโดนิเซีย ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ในการทำปลาป่นของไทยยังคงมีข้อกังขาเกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบ ที่อาจได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้จัดทำระบบรับรองปลาป่น ซึ่งเป็นมาตรการด้านความยั่งยืนชุดแรกและมาตรการเดียวของไทย โดยเป็นระบบสมัครใจ มิได้มีการบังคับจากภาครัฐ และระบบการบันทึกยังคงเป็นการรับรองตัวเอง โดยชาวประมงเป็นผู้บันทึกข้อมูล ทั้งจุดจับปลา ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้จับปลา ประเภทของปลาที่จับได้ ลงในสมุดบันทึกการทำประมงด้วยตัวเอง เพื่อให้โรงงานผลิตปลาป่นนำไปใช้ โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมงเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึก นี่จึงยังคงมีช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างแท้จริง เพราะยังขาดแคลนเครื่องมือตรวจสอบ อาทิ ระบบระบุพิกัดผ่านดาวเทียม ที่จะช่วยบอกได้ว่าเรือประมงจับปลาตรงจุดที่รายงานจริงหรือไม่

หากกวาดตามองภาพรวมการทำประมงของไทยแล้ว ยังดีอยู่บ้างที่มีภาคส่วนที่ให้ความสำคัญและดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานสู่ความยั่งยืน อย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่ได้เปิดตัวโครงการ “ทำประมงในอ่าวไทยอย่างยั่งยืน” ครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน 2013 เพื่อคุ้มครองอนาคตของน่านน้ำของประเทศไทยและเพื่อให้ชุมชนชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ถึงรุ่นลูกหลาน โครงการของซีพีเอฟนี้ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการประมงผิดกฎหมาย...

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ! ใน Part 2  เผยถึง  “CPF 10 Point Plan” บรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ , มาตรการราคาพรีเมียน 3 บาท รายเดียวของประเทศ

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x