ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
มาตรฐานอาหารไทย ปลอดภัยระดับโลก
05 Jan 2015
มาตรฐานอาหารไทย ปลอดภัยระดับโลก

มาตรฐานอาหารไทย ปลอดภัยระดับโลก
โดย  เพ็ชร ชินบุตร  ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม


“อุตสาหกรรมอาหาร” เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาของภาครัฐ เพราะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการใช้วัตถุดิบในประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ที่เหลือเป็นการนำเข้า ดังนั้น การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารก็จะเป็นอานิสงค์โดยตรงกับเกษตรกรในประเทศผู้เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตให้เติบโตตามไปด้วย รวมถึงยังมีบทบาทเชื่อมโยงไปถึงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งค้าปลีก ค้าส่ง ร้านอาหารและโรงแรม ให้ขยายตัวตามไปด้วยตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

 

 ความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารในเชิงตัวเลขเศรษฐกิจ ก็จะเห็นได้จาก

1.)สร้างมูลค่าเพิ่ม (GDP) ให้กับระบบเศรษฐกิจสูงที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหมดของไทย โดยมีสัดส่วน 23.2% ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมการผลิต 

2.) สร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกสูงที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยในปี 2557 คาดว่าการส่งออกอาหารของไทยจะมีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านบาท

3.) ผลประโยชน์จากรายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายในประเทศ โดยในปี 2557คาดว่าไทยจะได้ดุลการค้าอาหารมูลค่า 6.7 แสนล้านบาท ตัวเลขเกินดุลการค้าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั้งหมด

4.) มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนสถานประกอบการกว่า 1 แสนราย หรือ 26% ของอุตสาหกรรมการผลิต (นับรวมผู้ผลิตขนาดเล็กที่ไม่ใช่โรงงานด้วย)

5.) มีการจ้างงานสูงที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งหมด ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีการจ้างงานประมาณ 8 แสนราย หรือ 20% ของอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งในจำนวนนี้จำแนกเป็นแรงงานมีทักษะมากกว่าแรงงานไร้ทักษะคิดเป็นสัดส่วน 54% ต่อ 46% โดยประมาณ

 

เมื่ออุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญขนาดนี้ อุตสาหกรรมนี้ก็ควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้เติบโตขยายตัวก้าวไกลไปในเวทีโลก ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีองค์ประกอบหลายด้าน ส่วนหนึ่งคือการสนับสนุนจากภาครัฐที่จำเป็นต้องมีนโยบายลดอุปสรรคที่เป็นข้อจำกัด รวมทั้ง ต้องมีมาตรการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวให้ทันกับกระแสของการบริโภคในอนาคต โดยมีประเด็นสำคัญคือ

 1.) ส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดต้นทุนให้ราคาสินค้าแข่งขันในตลาดโลกได้ เนื่องจากต้นทุนของอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่มาจากวัตถุดิบซึ่งมีราคาสูงมาตั้งแต่ระดับเกษตรกรต้นน้ำ

2.)ส่งเสริมการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้า (Value creation) มิได้มีความหมายเฉพาะนำสินค้าเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น แต่การสร้างคุณค่าเพิ่มที่ทำให้อาหารสามารถตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนมากกว่าโภชนาการ  ไม่ว่าจะเป็นคุณประโยชน์ด้านสุขภาพ  ด้านอารมณ์/ความรู้สึกดีที่ได้บริโภค ความสะดวก การคำนึงสิ่งแวดล้อม การแสดงความเป็นตัวตนที่เฉพาะเจาะจง  ต้องค้นหากระบวนการพัฒนาตัวสินค้าเพื่อให้ได้สินค้าที่มีความแตกต่างเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

3.) ส่งเสริมการเจาะตลาดแบบมีกลยุทธ์และตรงใจลูกค้า กลยุทธ์นี้เน้นการทำความเข้าใจตลาดในเชิงลึกเพื่อรู้จักผู้บริโภคให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยให้ผู้บริโภครู้จักและเชื่อมั่นในสินค้าไทย

4.) พัฒนาผู้ประกอบการเข้าสู่มาตรฐานและรักษาคุณภาพสินค้าให้เทียบเท่าสากล แนวทางนี้จะเน้นในด้านการพัฒนาด้านความปลอดภัยอาหาร (Food safety) ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเป็นใบเบิกทางในการเจาะตลาดอาหารโลกที่นับวันกฎระเบียบมาตรฐานอาหารโลกจะเพิ่มขึ้นความเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ

5.) เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่การแข่งขันในยุคดิจิตัล โดยใช้การสื่อสารบนโลกออนไลน์ให้เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจมากขึ้น และเข้าถึงลูกค้าอย่างใกล้ชิด จะเป็นการเปิดตลาดแบบไร้ข้อจำกัด ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรสูง

 

 ทั้งนี้ เพราะในตลาดอาหารโลกนั้น มีประเทศผู้ผลิตสินค้าอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่มีรายใดมีอิทธิพลเหนือตลาดอย่างชัดเจน (ในระดับภาพรวมทุกสินค้า) ราคาจำหน่ายสินค้าจึงถูกกำหนดโดยตลาด ขณะเดียวกันตลาดโลกก็เข้าสู่ยุคการค้าเสรี สินค้าและปัจจัยการผลิต สามารถเคลื่อนย้ายได้เสรีมากขึ้น จึงมีสินค้าที่ผลิตได้เหมือนๆ กันออกสู่ตลาด ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร มีส่วนเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าทดแทนได้ง่าย เมื่อผนวกกับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมอาหารโลกในอนาคต ก็พบว่า ความต้องการอาหารของผู้บริโภคยุคใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน และมีความซับซ้อนมากขึ้น

 

 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความต้องการอาหารเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีความซับซ้อนมากขึ้นเพียงใด แต่คุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่ไม่เคยล้าสมัย เห็นได้จากกฎระเบียบมาตรฐานอาหารของแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนา นับวันมีแต่จะเพิ่มความเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ผลิตที่อยู่ในวงจรการค้าโลกจำเป็นต้องก้าวให้ทันกับมาตรฐานความปลอดภัยดังกล่าว

 

 สำหรับประเทศไทยมีการนำระบบมาตรฐาน ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่อ้างอิงมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ มาตรฐานโคเด็กซ์, องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (IPPC) มาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ตั้งแต่การนำเข้า การผลิตวัตถุดิบระดับฟาร์ม  การผลิตและการแปรรูประดับโรงงาน  การบรรจุ  การเก็บรักษา และการจัดจำหน่าย จนกระทั่งถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ดังนั้น หากถามว่ามาตรฐานความปลอดภัยในอาหารไทยอยู่ในระดับไหน ก็ตอบได้อย่างมั่นใจว่า “มาตรฐานความปลอดภัยในอาหารของไทยนั้นอยู่ในระดับคุณภาพมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าทั่วโลกไม่แพ้ชาติใด”

 

 ไม่ว่าการแข่งขันในเวทีโลกจะเข้มข้นหนักหน่วงอย่างไร แต่ภาคเอกชนของไทยก็มีขีดความสามารถสูงมาก สามารถตอบสนองมาตรฐานต่างๆที่ประเทศคู่ค้านำมาบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วและก้าวหน้ามากกว่าหลายประเทศในอาเซียน แม้ว่ามาตรฐานนั้นจะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดสูงก็ตาม ซึ่งหากพิจารณาที่ตัวเลขการส่งออกอาหารของไทยในปี 2557 จะพบว่าไทยส่งออกอาหารปริมาณสูงถึง 1,010,000,000,000 บาท ซึ่งอาหารส่งออกเหล่านี้แน่นอนว่าจะต้องผ่านการผลิตที่ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าและหากพิจารณาประเทศคู่ค้าหลักๆของไทยที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน ต้องมีชื่อของ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นชื่อในด้านการกำหนดกฎระเบียบและมาตรการการนำเข้าที่เข้มงวด เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าอาหารนำเข้านั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในประเทศของตนอย่างแท้จริง เป็นการการันตีมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารของบ้านเราได้เป็นอย่างดี 

 

 เมื่อเกษตรกรและผู้ผลิตบ้านเรามีขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพและมาตรฐาน ความปลอดภัยระดับสากล  ตั้งแต่ฟาร์มจนกระทั่งถึงโต๊ะผู้บริโภคในประเทศ  ตลอดจนสินค้าอาหารส่งออก  ที่ผู้ผลิตของไทยเรามีความสามารถในการประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานที่มีความเข้มงวดในระดับสูง เช่น มาตรฐาน BRC, IFS และ FSSC 22000 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเช่นนี้ .... เราเองในฐานะคนไทยก็สามารถที่จะวางใจได้ว่า อาหารการกินในบ้านเรานั้นมีมาตรฐานความปลอดภัย ต่อการบริโภคไม่แพ้ชาติใดในโลก./

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x