ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ปลาป่น…กับการทำประมงที่ยั่งยืน
11 Jan 2015
ปลาป่น…กับการทำประมงที่ยั่งยืน

ปลาป่น…กับการทำประมงที่ยั่งยืน
โดย… อุษณีย์ รักษ์กสิกิจ : usanee.rak@gmail.com


ที่ผ่านมาเราได้เห็นความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาด้านการประมงทั้งระบบ ต่อข้อกล่าวหาของสหภาพยุโรปในการให้ใบเหลืองประเทศไทย เรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดรายงาน และไร้การควบคุม หรือ Illegal Unreported and Unregulated Fishing (IUU Fishing) และอีกด้านหนึ่งเพื่อให้ประเทศหลุดจากบัญชีเทียร์ 3 ที่สำนักงานเพื่อการติดตามและการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ กระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ขึ้นบัญชีว่าประมงไทยมีปัญหาของการค้ามนุษย์ และการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย
 
นับตั้งแต่ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ โดยศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บัญชาการทหารเรือ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2558 โดยให้เรือประมงที่ไม่มีอาชญาบัตร และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกรมประมง หยุดการจับปลา และให้มีอาชญาบัตร ตรงตามประเภทของเครื่องมือทำการประมง ตามติดมาด้วยการใช้ยาแรง จากคำสั่งที่ 10/2558 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ใช้กฎหมายมาตรา 44 (ม.44) ออกมาบังคับใช้กับเรือประมงไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม สหรัฐก็ยังคงประเทศไทยไว้ในบัญชี 3 หรือ เทียร์ 3 และจะจับตาดูการดำเนินการของไทยในช่วงต่อไปอย่างใกล้ชิด
 
อีกวาระหนึ่งที่ใกล้เข้ามาคือการประกาศ “ใบแดง” ประเทศไทย ในเดือนตุลาคม ของสหภาพยุโรป หลังจากจับตาดูการแก้ไขของประเทศไทย ภายใต้กฎเกณฑ์ IUU แม้ความหวังจะริบหรี่ที่ไทยจะไต่อันดับหรือคงอันดับไว้ก็ตาม สิ่งที่เกิดที่เป็นกังวลสำหรับผู้ส่งออกไทยกรณี อียูให้ “ใบแดง” คือ การห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากไทยทุกประเภท หากเป็นไปตามที่คาดการณ์นี้เท่ากับไทยโดน 2 เด้ง คือ รวมถึง เทียร์ 3 ของสหรัฐก่อนหน้านี้ด้วย
 
ในประเด็นนี้  รศ.ดร.กังวาลย์ จันทรโชติ ภาควิชาจัดการประมง มหาวิทยาลัยเกษตรกรศาสตร์ กล่าวว่า ศปมผ. ต้องมีความระมัดระวังในการประเมินผลและรายงานตอบกลับสหภาพยุโรป เพราะไทยจะต้องรักษาสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ว่าไทยจะให้น้ำหนักในเรื่องใดเราก็ต้องยอมเสียตัวหนึ่งไป ซึ่งในประเด็น IUU เป็นมุมมองของเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (food security) ไทยก็ควรหันมาให้ความสำคัญและปรับวิธีการให้เหมาะสม
ความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยการใช้ยาแรงกับกองเรือประมงไทยนั้นยังคงเดินหน้าต่อไป แม้ว่าจะถูกต่อต้านจากสมาคมประมงไทยและเจ้าของเรือที่มีการทำประมงเชิงพาณิชย์อย่างมาก เพราะมาตรการที่เข้มงวดของรัฐบาลทำให้พวกเขาไม่สามารถออกจับปลาได้ตามปกติทำให้สูญเสียรายได้มหาศาล บางรายโอดครวญอาจต้องเลิกกิจการ ส่วนเรือประมงชายฝั่งคงได้รับอานิสงส์จากมาตรการของรัฐบาลบ้างไม่มากก็น้อย เพราะไม่มีคนมาแย่งพื้นที่ทำกิน ล่าสุดสมาคมประมงทางภาคใต้รวมตัวกันประท้วงรัฐบาลด้วยการหยุดออกเรือและเรียกร้องให้มีการผ่อนปรนระยะเวลาและมาตรการออกไปอีก แต่รัฐบาลยังคงยืนไม้แข็งไม่ถอยสถานเดียว
 
จากมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีเรือประมงที่ไม่เข้าเกณฑ์ที่พรบ.ประมงฉบับใหม่กำหนด จำเป็นต้องจอดลอยลำอยู่เป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าย่อมมีผลกระทบเป็นห่วงโซ่ทั้งวงจรของการทำประมง ตั้งแต่เรือประมง ธุรกิจแพปลา ห้องเย็น โรงน้ำแข็ง โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
 
ปลาป่น (Fish meal) ซึ่งเป็นวัตถุดิบโปรตีนสูงใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป เป็นอีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว เพราะทำให้ปลาที่มาจากผลพลอยได้จากการประมง (by catch) ลดลง โรงงานปลาป่นต้องหันหาปลาที่มาจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูป (by product) มากขึ้น
 
แม้ว่าช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจะเริ่มมีเรือประมงพาณิชย์อวนล้อมจับ (อวนดำ) ออกทำประมงได้บ้าง แต่ก็ติดปัญหาสภาพอากาศเพราะเข้าสู่ช่วงมรสุมทำให้มีคลื่นลมมาก ทำให้ปัจจุบันปริมาณปลาป่นหายไปมากกว่า 50% นอกจากนี้ จากการที่ ศปมผ. มีคำสั่งให้ผู้ประกอบการเรือประมงขยายตาอวนลากเป็น 5 เซ็นติเมตร ซึ่งคาดว่าจะยิ่งทำให้วัตถุดิบปลาเป็ดในช่วงครึ่งปีหลังมีจำนวนลดลงไปอีก
 
ที่ผ่านๆมา การผลิตปลาป่นไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ  5 แสนตันต่อปี แต่ปีนี้ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการลงไปเกือบ 20% อยู่ที่ 4.2 แสนตัน โดยใน 6 เดือนแรกของปีนี้ ผลผลิตปลาป่นมีเกือบ 2 แสนตัน แต่จากมาตาการปราบปรามเข้มงวด อาจจะทําให้ผลผลิตลดลงไปจากเดิมอีกถึง 50% ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังผลผลิตอาจจะต่ำกว่า 1 แสนตัน โดยทั้งปีจะสามารถผลิตได้ประมาณ 3 แสนตันเท่านั้น
 
สำหรับปลาป่นทีมาจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มเศษซากจากโรงงานแปรรูปซูริมิ ได้รับผลกระทบ 2 ทาง คือจากการออกประกาศห้ามเรือประมงต่างชาติเข้าจับปลาในอินโดนีเซียและมาตรการเข้มงวดของรัฐบาลไทย ทำให้วัตถุดิบเข้าสู่โรงงานแปรรูปปลาลดลงมากกว่า 50% ส่วนกลุ่มปลาทูน่า ถือว่าได้รับผลกระทบน้อย หรือแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะวัตถุดิบมาจากการนําเข้ากว่า 90%
 
สำหรับการใช้ปลาป่นในไทยแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะไม่ค่อยมากนัก เพราะสถานการณ์โรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome) ในกุ้งทำให้ผลผลิตของประเทศลดลงกว่า 50% และเกษตรกรเริ่มกล้าที่จะลงลูกกุ้ง ประกอบกับการเลี้ยงปลาเจอภัยแล้งมากระทบ ทำให้ความต้องการอาหารสัตว์น้ำลดลง
 
อย่างไรก็ตาม  ปลาป่นถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญ โดยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กรกฎาคม) ไทยสามารถส่งออกปลาป่นได้กว่า 1 แสนตัน โดยตลอดทั้งปีคาดการณ์ว่าจะสามารถส่งออกได้ถึง 1.4 แสนตัน ซึ่งขณะนี้มีโบรกเกอร์ต่างประเทศเข้ามาหาซื้อปลาป่นจากแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ไทยเรากลับไม่มีสินค้าให้
 
ส่วนสถานการณ์ปลาป่นต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกสำคัญอย่างประเทศเปรู ปัจจุบันสต็อกปลาป่นอยู่ที่ 180,000 ตัน ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ได้หยุดการขายเพื่อรอดูสภาพอากาศ โดยคาดการณ์ว่าจะมีปรากฏการณ์เอลนิโน (El Niño) คือการที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลอุ่นขึ้น ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ จึงต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดปัญหาสินค้าขาดตลาดได้
 
สถานการณ์เรือประมงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับโรงงานปลาป่น ทำให้ภาคธุรกิจต้องหาทางออกของปัญหา โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1. แก้ปัญหาโดยต่างคนต่างแก้ไขกันเอง ซึ่งคนที่สามารถแก้วิกฤตินี้ ได้ ก็จะรอดพ้นจากสถานการณ์ไปได้ และ 2.สมาชิกโรงงานปลาป่นในแต่ละจังหวัด ต้องพูดคุยและรวมตัวกันให้เหลือจังหวัดละ 1 โรงงาน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาด้วยการร่วมมือกันนั้นถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีกว่าต่างคนต่างแก้ปัญหา เพราะจากประสบการณ์ของประเทศที่เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้ อาทิ จีน และเปรู ที่ใช้วิกฤติเป็นโอกาสด้วยการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ทำให้นอกจากจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติมาได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังได้ปลาป่นที่มีคุณภาพดี ขณะที่สิ่งแวดล้อมทางทะเลก็ดีขึ้น ถือเป็นการผลิตปลาป่นจากการทำประมงที่ยังยืนอย่างแท้จริง
 
เรื่องการแก้ปัญหาการทำประมงนี้ไม่เพียงภาครัฐเท่านั้นที่เดินหน้าอย่างเข้มแข็ง เช่น การที่หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมกุ้งไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ประกาศเจตนารมณ์สนับสนุนรัฐบาลในการใช้ พ.ร.บ. การประมง – พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ฯ ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมแก้ไข โดยไม่ซื้อวัตถุดิบอาหารทะเลจากเรือประมงที่ทำการประมงผิดกฎหมาย (IUU)  และใช้แรงงานเด็ก แรงงานการค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย  พร้อมเรียกร้องรัฐให้บังคับใช้กฎหมายฯอย่างเคร่งครัด
 
ส่วนภาคเอกชนเองก็มีความพยายามในการร่วมสนับสนุนเรื่องการประมงเพื่อความยั่งยืน อย่างเช่น ซีพีเอฟ ที่ถือเป็นผู้ซื้อปลาป่นซึ่งมีวัตถุดิบส่วนหนึ่งที่มาจากการทำประมง ก็ได้ออกนโยบายการซื้อปลาป่นภายใต้ข้อกำหนด คือ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลผลอยได้จากโรงงานแปรรูป ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Supply (IFFO RS) หรือ IFFO RS Improvers Programme (IFFO RS IP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้อมกับ Code of Conduct for Responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หรือต้องไม่เป็นผลผลอยได้จากสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ตามนิยามของบัญชีแดงขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (World Conservation Congress : IUCN Red List of Threatened Species) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้โดยหน่วยงานภายนอก หรือ Third Party
 
ส่วน ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากการประมงไทย ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล หรือสามารถตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งประกอบจากภาคส่วนต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนจากการประมง ผู้ประกอบการ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภค และนักวิชาการ เป็นต้น
นอกจากนี้ เรือประมง โรงงานปลาป่น และโรงงานแปรรูปต่างๆ ที่อยู่ในช่วงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จะต้องมีการรับรองการตรวจประเมินตามมาตรฐานแรงงานไทยหรือมีการตรวจประเมินเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมโดยหน่วยงานภายนอกตามมาตรฐานสากล
การแก้ปัญหาประมงซึ่งกลายเป็นปัญหาระดับชาตินี้ ต้องอาศัยความมุ่งมั่นที่และความร่วมมือกันอย่างจริงจังของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการเรืองประมง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้./

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x