ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ซีพีเอฟ แนะวิธีเลี้ยงสัตว์ช่วงอากาศเปลี่ยน
10 Nov 2014
ซีพีเอฟ แนะวิธีเลี้ยงสัตว์ช่วงอากาศเปลี่ยน

ช่วยปลายปีเช่นนี้ ปกติต้องมีลมหนาวพัดผ่านเข้ามาให้ได้สบายตัวกันแล้ว แต่วันนี้ยังคงเห็นหลายพื้นที่ยังมีฝนตกชุก สลับกับอากาศร้อนในช่วงกลางวัน พอตกเย็นอุณหภูมิกลับลดต่ำลง อากาศเช่นนี้นับว่าเป็นอุปสรรคสำหรับการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่ต้องเร่งหามาตรการรับมือกับปัญหาไว้ก่อนจะสาย

 

วันนี้จึงนำแนะนำดีๆจาก พี่ใหญ่ในวงการปศุสัตว์บ้านเรา อย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มาบอกต่อ โดยได้แนะแนวทางการเลี้ยงสัตว์แก่พี่น้องเกษตรกร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่เฝ้าระวังไว้แต่เนิ่นๆ ยิ่งอากาศอย่างที่ว่ามาด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์ป่วยไข้ได้ง่ายๆ

 

น.สพ.นรินทร์  ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ผู้ชำนาญการด้านสุขภาพสัตว์ บอกว่า อากาศหนาวเย็นที่สลับกับอากาศร้อนจัดและมีฝนมาสำทับภายในวันเดียวอย่างนี้ ย่อมส่งผลโดยตรงให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเครียด ก่อให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันโรคลดลง จึงไม่แปลกที่สัตว์มักจะเจ็บป่วยง่ายขึ้นในช่วงนี้ สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ การปรับสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม สำหรับสัตว์กีบคู่ อาทิ โค กระบือ สุกร ช่วงนี้ต้องเฝ้าระวังเรื่องโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคที่มักพบบ่อย คือ โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) โดยเฉพาะเขตภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ซึ่งสัตว์ป่วยจะแสดงอาการซึม ไข้สูง ทำให้แม่สุกรแท้งลูก น้ำลายไหลฟูมปาก ต่อมาเกิดเม็ดตุ่มใส มีเม็ดตุ่มที่ปาก-จมูกและกีบเท้า เมื่อสัตว์เจ็บปากจะกินอาหารไม่ได้ เดินกระเผลก กีบหลุด ซูบผอม โดยโรคนี้มาจากหลายสาเหตุ  ทั้งจากสัตว์พาหะนำเชื้อโรค อาทิ นก หนู สุนัข แมว และการเข้าออกของบุคคลภายนอก รวมถึงเชื้อติดมากับรถและอุปกรณ์ขนส่ง ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องระมัดระวังสาเหตุเหล่านี้ โดยอาจป้องกันด้วยการโรยปูนขาว (Calcium carbonate 4%) ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัส FMD ได้ที่สำคัญต้องเน้นการให้วัคซีนอย่างเข้มงวด

 

 สำหรับสุกรมีอีกโรคที่ควรต้องระวังเป็นพิเศษ คือ โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) ที่ก่อความเสียหายให้กับวงการเลี้ยงสุกรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี2556 ที่ผ่านมา ยิ่งช่วงนี้ที่อากาศเป็นอย่างที่ว่ามาตอนต้น พบว่ามีการระบาดได้ง่ายขึ้น โดยโรคนี้เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีการติดต่อถึงคน สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการหอบ ไอ มีไข้ ผิวหนังเป็นปื้นแดง กินอาหารน้อย หมดแรง ในสุกรท้องแก่จะพบอาการแท้ง หรือลูกตายแรกคลอด ลูกที่รอดจะอ่อนแอ โตช้า โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสPRRS จึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ต้องทำการรักษาตามอาการป่วย โดยให้ยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และให้สารเกลือแร่-วิตามิน เพื่อบำรุงร่างกายสัตว์ป่วยให้แข็งแรง

 

สิ่งที่เกษตรกรต้องเข้มงวดในการป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส คือการจัดการกับสุกรสาวทดแทนที่ต้องมีการแยกเลี้ยงก่อนนำเข้ารวมฝูงเดิมอย่างน้อย 1 เดือน และต้องจำกัดยานพาหนะและบุคลากรที่จะเข้าภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ที่ต้องผ่านการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง หากมีการระบาดของโรคในพื้นที่ใด ควรงดนำสุกรฝูงใหม่เข้ามาเลี้ยง และปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อย่างใกล้ชิด

 

ด้านการเลี้ยงสัตว์ปีก หมอนรินทร์ บอกว่า ต้องดูแลสุขภาพภายในโรงเรือนให้มีอุณหภูมิเหมาะสมกรณีที่อุณหภูมิต่ำมากอาจต้องเพิ่มผ้าม่านกั้นแนวลมที่โรงเรือน และควรเพิ่มหลอดไฟกก อีกทั้งต้องควบคุมการให้อาหารให้เหมาะสม อาจต้องให้อาหารบ่อยครั้งขึ้น เพื่อกระตุ้นการกินอาหาร พร้อมเพิ่มวิตามินละลายน้ำให้แม่ไก่ได้ตามสมควร   

 

สำหรับการเลี้ยงปลาช่วงอากาศเปลี่ยน อดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการ ผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ผู้คร่ำหวอดในวงการเพาะเลี้ยงปลา บอกว่า ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็นจึงมีอุณหภูมิร่างกายเท่ากับสภาพแวดล้อม หากอุณหภูิน้ำลดต่ำลง จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของสัตว์น้ำ เพราะระบบเมตาบอลิซึ่มในร่างกายของปลาจะมีความผิดปกติ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันที่จะลดต่ำลงด้วย ทำให้ปลากินอาหารลดลงและอ่อนแอ

 

“สภาวะอากาศในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปลานิลและปลาทับทิม ซึ่งปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาอยู่ที่ประมาณ 26-30 องศาเซลเซียส ขณะที่ปัจจุบันอุณหภูมิในช่วงเช้ากับค่ำอุณหภูมิลดต่ำลง ส่วนสายถึงบ่ายอากาศกลับสูงขึ้น ที่สำคัญแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลาบางแห่งปริมาณน้ำก็ลดลงเป็นอย่างมากเนื่องจากปัญหาภาวะแล้ง ทำให้ปลากระชังที่เลี้ยงในแม่น้ำสายต่างๆ ได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น” อดิศร์ อธิบาย

 

การเลี้ยงปลาในช่วงนี้ เกษตรกรจึงต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ หากเลี้ยงในกระชังต้องระวังอย่าปล่อยปลาจนหนาแน่นจนเกินไป ควรปล่อยลูกปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และหมั่นสังเกตการกินอาหารที่อาจลดลงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ควรยึดหลักการให้อาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงการให้อาหารช่วงเช้าที่มีอุณหภูมิต่ำ เกษตรกรควรผสมวิตามินซีและสารกระตุ้นภูมิต้านทานในอาหารให้ปลากินสัปดาห์ละ 3 ครั้งเพื่อภูมิต้านทาน

 

ส่วนการเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ อดิศร์ บอกว่า  หากพบปัญหาน้ำแห้งอาจต้องลงเลี้ยงปลาให้เหมาะสมไม่เลี้ยงหนาแน่นจนเกินไป และต้องลากกระชังลงไปในบริเวณน้ำลึกขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพน้ำแนะนำให้ผสมวิตามินซีในอาหารเพื่อลดความเครียด ควรหมั่นสังเกตการกินอาหารของปลาอย่าให้เหลือมาก อาจแบ่งการให้อาหารเป็น 5-6 มื้อต่อวันเพื่อกระตุ้นการกิน การให้อาหารแต่ละครั้งควรให้ทีละน้อย เท่าที่ปลากินหมดและต้องสังเกตปริมาณอาหารที่เหลือลอยบนผิวน้ำ หากมีปริมาณมาก ควรปรับลดอาหารให้พอเหมาะ นอกจากนี้ ต้องหมั่นตรวจสอบสุขภาพปลาโดยการสุ่มตรวจพาราไซต์ทุกๆสัปดาห์


นอกจากนี้ อดิศร์ ยังแนะนำการเลี้ยงปลาในรูปแบบบ่อดิน ที่ปัจจุบันถือว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ และยังแนะนำมิติใหม่ในการผลิตปลาที่ซีพีเอฟค้นคว้าและพัฒนาขึ้น  ด้วยนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบ “โปร-ไบโอติก” (Pro-Biotic Farming) ที่ใช้แบคทีเรียที่เป็นมิตรไปจัดการสภาพบ่อ โดยไม่มีการใช้ยาหรือสารปฏิชีวนะใดๆ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยควบคุมคุณภาพน้ำ ทำให้ได้ปลาที่เลี้ยงมีสุขภาพดี ได้ผลผลิตปลาเนื้อคุณภาพสูง ทั้งนี้ เกษตรกรควรวัดคุณภาพน้ำเป็นประจำ โดยค่าของแอมโมเนียรวมที่ละลายน้ำไม่ควรเกิน 0.5 ppm. และควรติดตั้งเครื่องให้อากาศและควรเปิดตลอดเวลาโดยเฉพาะในเวลากลางวัน เพื่อให้น้ำมีการผสมกันตลอดตามแนวลึกของบ่อ ไม่เกิดการแบ่งชั้นของน้ำ และเกิดการผสมของอากาศกับน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรให้มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่ไม่น้อยกว่า 4 ppm.

 

คำแนะนำทั้งหมดนี้คงจะช่วยลดผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ หากพี่น้องเกษตรกรนำเทคนิควิธีการเหล่านั้นไปปรับใช้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้น ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของเกษตรกรเป็นสำคัญ

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x