ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ซีพีเอฟชวนเกษตรกรเปลี่ยนขี้หมูเป็นแก๊สปันชุมชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ชาวแพรกหา จ.พัทลุง
19 Sep 2014
ซีพีเอฟชวนเกษตรกรเปลี่ยนขี้หมูเป็นแก๊สปันชุมชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ชาวแพรกหา จ.พัทลุง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำปศุสัตว์ในปัจจุบันไม่ใช่ใครคิดจะทำก็ทำได้ง่ายๆ เหมือนในอดีตที่เกษตรกรรายใดพอจะมีทุน มีที่ดินห่างไกลชุมชนก็สร้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ได้ แต่ในวันนี้การจะทำฟาร์มสักแห่งจำเป็นต้องผ่านกระบวนการมากมาย โดยเฉพาะกระบวนการทางสังคม ที่นับเป็นด่านหินที่ผู้ประกอบการต้องผ่านให้ได้ นั่นคือ การทำประชาพิจารณ์ (public hearing) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะให้มีการก่อตั้งฟาร์มได้หรือไม่ ด้วยห่วงปัญหาที่จะตามมา ทั้งเรื่องกลิ่นเหม็น น้ำเสีย แมลงวันและยุงที่อาจรบกวนความเป็นอยู่ของชุมชน การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของฟาร์มและชุมชน จึงกลายเป็นโจทย์ยากที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่

          แต่ปัญหาที่ว่านี้กลับไม่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่ ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ชุมชนเล็กๆของชาวบ้าน 1,500 ครัวเรือน ที่ได้ชื่อว่าเป็นตำบลที่มีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงหมูมากที่สุดของอำเภอควนขนุน โดยเฉลี่ย 10 ครัวเรือน จะมีเกษตรกรเลี้ยงหมูตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4-5 ครัวเรือน ทั้งๆที่การเลี้ยงหมูมากมายขนาดนี้แต่ทำไมที่นี่ถึงไม่มีปัญหาระหว่างคนเลี้ยงหมูกับชุมชน?

          เรื่องนี้ ชาติชาย ศรีหนูสุด นายกเทศมนตรีตำบลแพรกหา ไขข้อข้องใจว่า ก่อนนี้ชุมชนแพรกหาก็มีปัญหาไม่ต่างจากชุมชนอื่นที่ชุมชนกับฟาร์มต้องอยู่ร่วมกัน แต่ปัญหามีไว้แก้ ในเมื่อการเลี้ยงหมูคืออาชีพที่เลี้ยงปากท้องลูกบ้าน และบางฟาร์มก็สร้างมาก่อนที่บ้านเรือนของเพื่อนบ้านจะขยับเข้ามาใกล้เสียด้วยซ้ำ นี่จึงกลายเป็นโจทย์ให้ทุกคนต้องมาขบคิดว่า ต้องทำอย่างไรให้ทั้งสองส่วนอยู่ร่วมกันได้ เป็นที่มาของการแก้ปัญหาสิงแวดล้อม ด้วยโครงการชวนเกษตรกรเลี้ยงหมูทำแก๊สชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส เพื่อแบ่งปันให้ชาวชุมชนใช้ในครัวเรือน ในโครงการ “แก๊สชุมชน” เมื่อปี 2546 โดยมีโต้โผใหญ่คือสำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง เข้ามาจัดโครงการพัฒนาแก๊สชีวภาพจากขี้หมูในตำบลแพรกหา สำหรับระบบจัดเก็บและระบบท่อจ่ายไปยังครัวเรือนต่างๆ นั้น กระทรวงพลังงานเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง 90% ส่วนอีก 10% เกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

          โดยโครงการได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ทั้งหมด 18 ฟาร์ม จัดทำบ่อแก๊สชีวภาพที่ฟาร์มของตนเอง เพื่อนำขี้หมูและน้ำเสียในกระบวนการเลี้ยงหมูเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดการหมักภายในจนได้เป็นก๊าซชีวภาพที่สามารถนำไปปั่นเป็นกระแสไฟฟ้า และที่สำคัญยังได้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ทดแทนการใช้ก๊าซ LPG นอกจากประโยชน์ด้านพลังงานแล้ว ในด้านสิ่งแวดล้อมโครงการนี้ยังช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นและก๊าซพิษจากฟาร์มหมู ที่เคยส่งกลิ่นรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียง ช่วยลดปัญหาการเกิดโรค เพราะไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรค และการแพร่เชื้อโรค นอกจากนี้ ยังลดปัญหาเรื่องคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากตัดต้นเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำสาธารณะเน่าเสีย โครงการนี้จึงสร้างประโยชน์แบบ 360 องศา ทั้งลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฟาร์มสุกรกับชุมชน และยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นได้อีกด้วย

          “ขนาดบ่อก๊าซรวม 2,822 ลูกบาศก์เมตร สามารถผลิตเป็นก๊าซหุงต้มได้ถึง 2,600 ครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันชาวชุมชน 1,500 ครัวเรือนของเราก็สามารถใช้ก๊าซที่ผลิตได้ทั้งหมด แม้จะมีปัญหาแรงดันของแก๊สสำหรับบ้านเรือนที่ไกลจากแหล่งจัดเก็บบ้างแต่โครงการนี้ก็เป็นประโยชน์มากต่อคนในชุมชน โดยจะแบ่งกลุ่มผลิตแก๊สและกลุ่มที่ใช้เป็น 3 กลุ่ม ทำให้ง่ายต่อการดูแลและบริหารจัดการของอบต. และชาวชุมชนจะมีค่าใช้จ่ายค่าบำรุงรักษา 30 บาท/ครัวเรือน/ เดือน เพื่อให้มีส่วนร่วมการเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีแผนที่จะต่อยอดสู่การผลิตไฟฟ้าชุมชนเพื่อส่องสว่างตามตรอกซอกซอยในอนาคต” ชาติชาย กล่าว

          ปรีชา กิจถาวร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจครบวงจรภูมิภาค บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ บอกถึงความร่วมมือในโครงการนี้ว่า ซีพีเอฟสนับสนุนเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย หรือคอนแทคฟาร์ม นำมูลสุกรเข้าสู่ระบบไบโอแก๊สแบบ Plug Flow ที่สามารถชักกากตะกอนได้ ทำให้ระบบผลิตแก๊สมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งแก๊สส่วนหนึ่งจะนำไปผลิตก๊าซชีวภาพเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม ช่วยลดค่าใช้ไฟฟ้าได้ 30% ต่อเดือน

          โดยเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มซีพีเอฟที่ร่วมโครงการแก๊สชุมชน มีจำนวน 4 ราย ได้แก่ จักรพงษ์ฟาร์ม ขนาดบ่อไบโอแก๊ส 100 ลบ.ม. สมเกียรติฟาร์ม ขนาดบ่อ 300 ลบ.ม. สุจินต์ฟาร์ม ขนาดบ่อ 100 ลบ.ม. และกำธรฟาร์ม ขนาดบ่อ 100 ลบ.ม. มีปริมาตรบ่อไบโอแก๊สรวมทั้งหมด 600 ลบ.ม. สามารถผลิตแก๊สมีเทนได้วันละ 300 ลบ.ม. และแก๊สอีกส่วนจะเข้าสู่ระบบท่อรวมเพื่อส่งต่อไปยังบ้านเรือนของชาวแพรกหาต่อไป เฉพาะของเกษตรกรซีพีเอฟผลิตได้นี้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านแก๊สหุงต้มในครัวเรือนได้กว่า 550 หลังคาเรือน ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่ใช้ในฟาร์มของเกษตรกร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรจากการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์จากขี้หมูที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบไบโอแก๊สที่มีแร่ธาตุเหมาะกับพืชสร้างรายได้หลักหมื่นบาทต่อรุ่นการเลี้ยง เรียกว่าเลี้ยงหมูขุนครบ 5 เดือน ได้ทั้งรายได้จากการเลี้ยงหมูและขายขี้หมู 10,000-70,000 บาทขึ้นอยู่กับปริมาณหมูที่เลี้ยง วันนี้ปุ๋ยขี้หมูนี้เป็นที่ต้องการของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม รวมถึงสวนผลไม้เป็นอย่างมาก บางช่วงถึงกับไม่พอจำหน่ายเลยทีเดียว ที่สำคัญน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วยังใช้เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพใส่แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ แปลงปลูกพืชและไม้ยืนต้นต่างๆ ซึ่งทั้งปุ๋ยขี้หมูและน้ำดังกล่าวช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรที่นำไปใช้เป็นอย่างมาก

          “ซีพีเอฟให้การสนับสนุนเกษตรกรที่ร่วมโครงการผลิตไบโอแก๊ส ในรูปแบบของผลตอบแทนการเลี้ยง ที่จะได้รับเพิ่มอีก 15 สตางค์ต่อ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวสุกรที่ผลิตได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับเกษตรกรที่หันมาใช้ระบบไบโอแก๊สที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ขณะเดียวกันยังช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งเรื่องกลิ่นมูลสุกรและแมลงวันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของชุมชน”

          ปรีชา เล่าอีกว่า ซีพีเอฟได้ดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกควบคู่กับการดำเนินธุรกิจมาตลอด ด้วยโครงการผลิตแก๊สชีวภาพมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยนำระบบมาใช้เป็นรายแรกๆของไทย เนื่องจากงานด้านปศุสัตว์จะเกิดของเสียทั้งมูลสัตว์และน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ที่มีจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้ ขณะเดียวกัน ก็ได้ประโยชน์ในแง่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบชุมชนด้วย โดยบริษัทได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้สู่เกษตรกรรายย่อยช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

          ด้าน ลุงอั้น-ป้าจิ้น เทพหนู ชาวชุมชน หมู่ 5 ต.แพรกหา ที่เปิดบ้านให้เข้าไปดูการใช้แก๊สชุมชน เป็นก๊าซหุงต้มสำหรับทำอาหาร บอกว่า ดีใจมากที่องค์กรต่างๆได้ร่วมกันคิดแก้ปัญหาระหว่างฟาร์มกับชุมชน จนเกิดเป็นโครงการนี้ที่ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ในส่วนของฟาร์มก็ได้พลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงหมู ขณะที่ชาวบ้านก็หมดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและแมลงรบกวน และยังมีก๊าซหุงต้มไว้ใช้ ลดรายจ่ายได้มากกว่า 350 บาทต่อเดือน เมื่อรวมกันทั้ง 1,500 ครัวเรือน สามารถประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ได้มากถึงปีละ 6,300,000 บาท ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของการแก้ปัญหาที่กลายเป็นสวัสดิการคืนสู่ชุมชน

          แก๊สชุมชนในตำบลแพรกหานี้ เป็นโครงการด้านพลังงานที่สะท้อนให้เห็นถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบสถานประกอบการ และมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมให้พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการประหยัดพลังงานช่วยเพิ่มรายได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญยังสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ฟาร์มกับชาวบ้านอยู่ร่วมกันได้ตามบริบทของชุมชน ภายใต้การพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน ถือเป็นอีกชุมชนต้นแบบที่เริ่มต้นจากปัญหาสู่การพัฒนาที่น่านำไปเป็นแบบอย่างอีกแห่งหนึ่งของไทย./

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x