ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
กรมปศุสัตว์ยันฟาร์มมาตรฐานไม่มีการลักลอบใช้ยาปฏิชีวนะเกินกำหนด ย้ำทำผิดมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
23 Jan 2017
กรมปศุสัตว์ยันฟาร์มมาตรฐานไม่มีการลักลอบใช้ยาปฏิชีวนะเกินกำหนด ย้ำทำผิดมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

กรมปศุสัตว์ คุมเข้มการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ตามมาตรฐานสากล ย้ำเนื้อสัตว์จากฟาร์มมาตรฐานปลอดภัย100% เตือนเกษตรกรลักลอบใช้ยาเถื่อนมีความผิดทั้งจำทั้งปรับ 

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มุ่งพัฒนาการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงยิ่งขึ้น ด้วยการควบคุม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังยาหรือสารตกค้างในเนื้อสัตว์อย่างเข้มงวดที่สอดคล้องกับมาตรฐานโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันมีฟาร์ม 10,000 แห่งทั่วประเทศ ที่ได้รับการรองฯ โดยกรมปศุสัตว์ได้ควบคุมและติดตามการใช้ยาสัตว์ในฟาร์มเหล่านี้อย่างเข้มงวดท้้งเรื่องวิธีการใช้ คุณภาพของยาสัตว์ และตรวจสอบการตกค้างของยาทั้งก่อนและหลังการเชือดชำแหละ ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ที่มาจากฟาร์มมาตรฐานฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะและสารตกค้างแน่นอน 

ขณะเดียวกันได้เร่งปราบปรามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ลักลอบใช้ยาเถือน-ใช้เกินขนาด ตลอดจนผู้ประกอบการนำเข้า ผลิต หรือขายผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารสัตว์และยารักษาสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เป็นสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือสินค้าเลียนแบบที่ส่งผลเสียด้านสุขภาพต่อสัตว์โดยตรง ซึ่งผิดกฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง พรบ.ยา พศ.2510 ฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา72(4) ขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

“ที่ผ่านมาชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการลักลอบผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์และยาสัตว์เถื่อนอย่างต่อเนื่อง ขอเตือนผู้ลักลอบให้หยุดการกระทำดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และขอแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากฟาร์มมาตรฐานกรมฯ ที่มั่นใจในความปลอดภัยได้ 100%” 

น.สพ.อภัย กล่าวว่ากรมปศุสัตว์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินแนวทางการควบคุมยาสัตว์ในกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ และกำหนดแผนยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560–2564 เพื่อป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และกำกับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์อย่างเหมาะสม โดยกรมปศุสัตว์เดินหน้าควบคุมยาสัตว์ด้วย 6 แนวทาง คือ กำหนดนโยบายและพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์เพื่อการบริโภค, การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพ, การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, การกำกับดูแลด้านกฎหายในการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์, พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานแก้ปัญหา และศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง 

“แผนยุทธศาสตร์เรื่องเชื้อดื้อยามีเป้าหมายที่จะลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาลง 50% มีปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลง 20% ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลดลง 30% ประชาชนมีความรอบรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและมีความสามารถในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ในระดับดีมากเพิ่มขึ้น 20% และระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพมีสมรรถนะตามเกณฑ์สากลไม่ต่ำกว่าระดับ4” น.สพ.อภัย กล่าว 

จากการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนและดำเนินการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการมุ่งเน้นสร้างระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม ส่งผลให้การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ปัญหาและนโยบายของประเทศในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นระบบ และแสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมกันแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพกับนานาประเทศทั่วโลก ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวของโลก (One World, One Health) ทั้งสุขภาพมนุษย์ สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม 

น.สพ.อภัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ ทั้งรายใหญ่ รายกลาง และเกษตรกรรายย่อย ได้ให้ความร่วมมือในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ว่าได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากยาและสารตกค้าง สามารถสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิต โดยเฉพาะการผลักดันจุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรฐานปศุสัตว OK ที่ดำเนินการแล้วถึงกว่า 2,700 ร้าน 

ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ ยังร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือ FAO Regional Office for Asia and the Pacific (FAO-RAP) ในการประชุมโครงการ The Enhancing National Capacities for Antimicrobial Resistance Risk Management in Animal Food Production in Thailand เพื่อเสริมสร้างความสามารถของกรมปศุสัตว์ในการเฝ้าระวังปัญหาการดื้อยา และการใช้ยาต้านจุลชีพ รวมถึงการจัดการความเสี่ยงเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

***************** 
ข้อมูล/ข่าว : กรมปศุสัตว์สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์และกองควบคุมอาหารและยาสัตว์

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x