ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
อาหารและบรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 ผู้บริโภคมั่นใจได้
24 Mar 2021
อาหารและบรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 ผู้บริโภคมั่นใจได้

กว่า 1 ปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งคาดว่ามีต้นตอมาจากค้างคาว แต่ยังมีบางกระแสระบุว่าการแพร่ระบาดนั้นมาจากอาหาร หรือบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงทำให้เกิดข้อสงสัยในประเด็นนี้


โดยปกติไวรัสต้องอยู่ในเซลล์ร่างกายของคนหรือสัตว์ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกร่างกายคนจะอ่อนแอลง แต่โดยทั่วไปไวรัสชนิดนี้จะสามารถอยู่ได้ 2-3 ชั่วโมง บนพื้นผิวราบเรียบ และสามารถอยู่ในสภาพอากาศหนาวและความชื้นที่เหมาะสมได้ 2-3 วัน เชื้อไม่สามารถทนต่อรังสี UV ความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง 30 นาที แอลกอฮอล์ 75 % และน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของคลอรีน มีข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าเชื้อไวรัส SARS - CoV2 สามารถมีชีวิตรอด และส่งผ่านเชื้อได้หากติดตามอากาศและพื้นผิวต่าง ๆ ดังนี้ 1) ฝอยละอองที่เกิดจากการไอหรือจาม ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ในฝอยละออง/Aerosol ได้ 3 ชั่วโมง 2) พื้นผิวของทองแดง ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 4 ชั่วโมง 3) พื้นผิวของกระดาษลัง - พัสดุไปรษณีย์ ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมง 4) พื้นผิวของพลาสติก - สแตนเลส เป็นพื้นผิวที่ไวรัสอยู่ได้นานที่สุดคือ 72 ชั่วโมงหรือ 3 วัน


ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานโดยตรงว่าอาหารทะเลหรืออาหารแช่แข็งเป็นแหล่งระบาดของโรคโควิด -19 และยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคโควิด -19 ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร การสัมผัสอาหารและบรรจุภัณฑ์ของอาหาร สาเหตุหลักการติดต่อของเชื้อไวรัสเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คน ผ่านละอองฝอยน้ำลายของผู้ป่วยที่มาจากการไอ จาม พูด หรือแม้กระทั่งการหายใจ ถึงแม้จะมีรายงานการตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารทะเล อาหารแช่แข็ง และบรรจุภัณฑ์ หรือการตรวจพบพนักงานในโรงงานผลิตอาหารติดเชื้อโควิด -19 ก็ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ผลิตจากโรงงานดังกล่าว


จากข้อมูลการเก็บตัวอย่างอาหารของสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ตั้งแต่วันที่ 7 - 21 มกราคม 2564 เพื่อตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอาหาร ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทรายแดง ปลาซาบะ ปลาทู ปลาอินทรีย์ ปลาใบขนุน ปลาน้ำดอกไม้ หอย หมึก กุ้ง เป็นต้น สำหรับบรรจุภัณฑ์ เช่น กระป๋อง กล่องกระดาษ จำนวน 117 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง


สรุปว่าการตรวจพบไวรัสในอาหารแช่แข็งมีสาเหตุมาจากการสัมผัสอาหารระหว่างการผลิตและขนส่ง โดยพนักงานที่ติดเชื้อนั้นยังไม่มีข้อมูลที่จะยืนยันได้ ซึ่งหลักการการป้องกันที่ดีที่สุดของการผลิตอาหาร การปรุง ประกอบอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี Good Manufacturing Practice (GMP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลกว่าเป็นวิธีการที่ดีสำหรับการผลิตในทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร ว่าจะทำให้ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย


สำหรับคำแนะนำในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาหาร คือทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ ไม่ทานอาหารร่วมกัน แยกอุปกรณ์ แก้วน้ำ จาน ชาม เป็นต้น ความปลอดภัยของอาหารจะเริ่มจาก สุขลักษณะที่ดีของผู้ผลิต/สัมผัสอาหาร โดยอาหารต้องไม่ปนเปื้อน การจัดเก็บอาหารต้องอยู่ในอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสม อุปกรณ์หรือภาชนะต้องสะอาด สถานที่ผลิต ประกอบและจำหน่ายอาหาร ต้องทำความสะอาดสม่ำเสมอ และควรปฏิบัติตาม 4 ขั้นตอนของอาหารปลอดภัยคือ 1) ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เมื่อซื้อหรือจับบรรจุภัณฑ์อาหาร ก่อน ระหว่าง และหลังการเตรียมอาหาร รวมทั้งก่อนการรับประทานอาหาร ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ มีด เขียง และบริเวณที่เตรียมอาหารด้วยสบู่ ล้างผัก/ผลไม้ โดยให้น้ำไหลผ่าน 2) ใช้ภาชนะ อุปกรณ์ และเขียง แยกกันระหว่างอาหารที่ปรุงสุกและอาหารดิบเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ควรแยกเก็บอาหารดิบและอาหารสุก รวมถึงขณะซื้ออาหารควรแยกรถเข็นอาหารสุกและอาหารดิบ 3) ปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น เนื้อสัตว์ ใช้ความร้อนในการปรุงอย่างน้อย 63 องศาเซลเซียส ผัก ใช้ความร้อนในการปรุงอย่างน้อย 57 องศาเซลเซียส เป็นต้น


นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ

รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

เครดิต: https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-63412

Other Activities
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
05 Jul 2024
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
30 Apr 2024
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
13 Feb 2024
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
20 Nov 2023
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x