ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
กรมปศุสัตว์ ชูสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อสุขภาพที่ดีของคนและสัตว์
17 Nov 2021
กรมปศุสัตว์ ชูสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อสุขภาพที่ดีของคนและสัตว์

กระแสความสนใจกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิกฤตที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติ ได้ขับเคลื่อนสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวบนพื้นฐานของแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One health approach) เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้คนทั่วโลก


ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่แสดงความมุ่งมั่นในการร่วมแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพกับนานาประเทศทั่วโลก และได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2560 - 2564 โดยจัดทำ แผนยุทธศาสตร์จัดการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ.2560-2564  ประกอบด้วย  6  ยุทธศาสตร์ วางเป้าหมายชัดเจนในการจัดการกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ  ซึ่ง กรมปศุสัตว์เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เป็นแกนหลัก ในการบูรณาการจากภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และภาคสังคม ในการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคเกษตรและการเลี้ยงสัตว์


กรมปศุสัตว์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีความปลอดภัยตามหลักอาหารปลอดภัย (Food safety) และสามารถสอบย้อนกลับได้ (Traceability) ในด้านปัญหาเชื้อดื้อยา ได้มีการดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการลดเชื้อดื้อยาในสัตว์ เช่น ยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะทุกชนิดเพื่อการเร่งการเจริญเติบโต (Growth Promoter) การกำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated Feed) การเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพตามวิธีสากล (OIE) จากความมุ่งมั่นนี้ส่งผลให้ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในภาคปศุสัตว์ไทยปี 2562 เทียบกับปี 2560 ภาคปศุสัตว์ได้ลดใช้ยาลงได้ 49% ซึ่งเกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้


ปัญหาเชื้อดื้อยาส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนหรือตกค้างของยาต้านจุลชีพในสิ่งแวดล้อม สาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มากเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม จึงมีแนวทางที่พึงปฏิบัติในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องสมเหตุผล คือ ใช้เท่าที่จำเป็นในการรักษาสุขภาพของสัตว์ที่เจ็บป่วย ซึ่งเป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข ด้านเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หมุดหมายในการป้องกันเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพบรรลุเป้าหมายที่วางไว้


กรมปศุสัตว์ ได้ริเริ่มและดำเนินโครงการที่ป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค 1.โครงการ “การลดใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์” เพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการทำปศุสัตว์ ซึ่งเป็นการต่อยอดโครงการการผลิตสินค้าปศุสัตว์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น โครงการเขียงสะอาด โครงการเนื้ออนามัย โครงการปศุสัตว์ OK 2.โครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ (Raised Without Antibiotics; RWA)” จะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงจนถึงแหล่งจำหน่าย หากสัตว์มีการเจ็บป่วยระหว่างการเลี้ยงจะมีการรักษาสัตว์ป่วยตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) โดยการรักษาจะอยู่ภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ โดยใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีระยะหยุดให้ยาตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริม และจัดทำโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ทางเลือกอื่นๆ (Alternatives) เพื่อทดแทนและลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น สมุนไพร Prebiotics และ Probiotics


ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรไทยให้ความสำคัญเรื่องการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น และ กรมปศุสัตว์ได้ให้การรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะแล้วมากกว่า 200 แห่ง ทั้งฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free)  นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน NSF ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ยืนยันผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มาปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดูอีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าจะได้รับประทานอาหารคุณภาพสูง ปลอดภัย ปลอดสารตกค้าง ดีต่อสุขภาพ


นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล 

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์

Other Activities
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
05 Jul 2024
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
30 Apr 2024
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
13 Feb 2024
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
20 Nov 2023
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x