ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
โพรไบโอติก จุลินทรีย์มีประโยชน์ เสริมสร้างเกราะป้องกัน ให้ร่างกายแข็งแรง
14 Jul 2021
โพรไบโอติก จุลินทรีย์มีประโยชน์ เสริมสร้างเกราะป้องกัน ให้ร่างกายแข็งแรง
“โพรไบโอติก” (Probiotic) ไม่ใช่คำใหม่แต่อย่างใด แต่อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักและเข้าใจอย่างกว้างขวางมากนักในประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้คำจำกัดความว่าโพรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งเป็นคำจำกัดความที่มีการยอมรับในระดับสากลและใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
ในร่างกายของคนจะมีจุลินทรีย์จำนวนมหาศาลทั้งชนิดที่มีประโยชน์และจัดเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่น (normal flora) รวมทั้งชนิดที่มีโทษ โดยมีโพรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรา ซึ่งจำนวนและชนิดของจุลินทรีย์ที่พบในร่างกายแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม อาหารที่บริโภค พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุและสภาพร่างกาย นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานาน จะส่งผลให้จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ลดลง จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายจึงอาจฉวยโอกาสโจมตีได้ ส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย บกพร่องในการดูดซึมสารอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง
โพรไบโอติกมีคุณสมบัติ ช่วยปรับสมดุลของลำไส้ โดยสร้างสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และต้านการอักเสบ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงมักนำมาใช้ลดอาการหรือบรรเทาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ นอกจากนี้ มีงานวิจัยรายงานถึงการเชื่อมโยงระหว่างจุลินทรีย์โพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารและโรคต่างๆ พบว่า จุลินทรีย์บางสายพันธุ์สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ โดยต้องผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ ทดสอบคุณสมบัติ และทำการทดลองก่อนนำมาใช้จริง ขณะเดียวกัน “พรีไบโอติก” (Prebiotic) มักถูกพูดถึงร่วมกับโพรไบโอติก ซึ่งพรีไบโอติกไม่ใช่จุลินทรีย์ แต่เป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกในลำไส้ใหญ่ คนหรือสัตว์จะไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้โดยตรง พรีไบโอติกจัดอยู่ในอาหารกลุ่มอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Functional Food) พบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต กล้วย แอปเปิล และเมล็ดธัญพืชบางชนิด เป็นต้น
สำหรับการทานผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกอย่างต่อเนื่องคงไม่เป็นที่น่ากังวล เนื่องจากจุลินทรีย์โพรไบโอติกมีอายุที่จำกัด หากทานเข้าไปร่างกายจะขับถ่ายออกมาได้ด้วย ยกเว้นกรณีคนที่มีอาการแพ้อาหารหรือส่วนประกอบอื่นในผลิตภัณฑ์ร่วมด้วย เช่น บางคนแพ้นมวัวซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทานโพรไบโอติก หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน
ปัจจุบัน มีการนำโพรไบโอติกมาใช้ในปศุสัตว์ โดยการใส่ในอาหารสัตว์เพื่อช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งวิธีนี้ส่งผลดีใน 3 มิติด้วยกัน มิติแรก คือ สัตว์จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ลูกสุกรหลังหย่านมมีอัตราเจ็บป่วยและตายน้อยลง อัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าปกติ น้ำหนักเฉลี่ยต่อวันดีขึ้น มิติที่สองคือ ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่ทำให้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้เนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคและสามารถส่งออกจำหน่ายได้ในต่างประเทศ มิติสุดท้าย คือ ระบบนิเวศ เมื่อไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะส่งผลให้ไม่มีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะมาจากมูลสัตว์หรือการทำความสะอาดซึ่งอาจมีการปนเปื้อนได้ และลดโอกาสในการดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ดังนั้น ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ควรใช้โพรไบโอติกอย่างถูกวิธี มีการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างเหมาะสม มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ และมีระบบการขนที่ดีเพื่อให้คงคุณสมบัติของโพรไบโอติกมีชีวิตตลอดอายุผลิตภัณฑ์ส่งจนถึงมือผู้บริโภค
ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรเลือกผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด มีคุณภาพ ปลอดภัย อย่างไรก็ดี สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญและเป็นการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของทุกคน
ดร.กอบกุล เหล่าเท้งผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

Other Activities
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
05 Jul 2024
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
30 Apr 2024
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
13 Feb 2024
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
20 Nov 2023
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x