ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
หน้าร้อนนี้ต้องรู้…บริโภคอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย
07 Apr 2021
หน้าร้อนนี้ต้องรู้…บริโภคอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย

เชื่อว่าคนไทยคงมีความคุ้นชินกับอากาศร้อนกันพอสมควร เนื่องจากเราต้องเผชิญกับฤดูร้อนเกือบทั้งปี คงมีฤดูฝนและฤดูหนาวที่มาช่วยคลายร้อนกันได้บ้าง แต่ฤดูร้อนยังคงมีสัดส่วนค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับฤดูอื่นๆ ขณะเดียวกัน อากาศร้อนยังส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ภัยเงียบอย่างโรคลมแดด (Heat stroke) และความร้อนอาจกระตุ้นให้เกิดความเครียดซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มพฤติกรรมที่ก้าวร้าว 


สำหรับประเด็นเมื่อเข้าสู่หน้าร้อนส่งผลต่ออาหารอย่างไรนั้น คงต้องย้อนกลับไปเรื่องพื้นฐานก่อนว่าปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่ทำให้จุลินทรีย์เจริญเพิ่มจำนวนและทำให้อาหารเน่าเสียนั้นคือ FATTOM ประกอบไปด้วย F (Food) หมายถึง จุลินทรีย์สามารถเจริญได้ดีในอาหารเนื่องจากมีองค์ประกอบที่เหมาะสม A (Acid) อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำเสี่ยงต่อการเน่าเสียจากจุลินทรีย์มากกว่าอาหารที่เป็นกรด T (Time) คือระยะเวลาที่จุลินทรีย์เจริญเพิ่มจำนวน ถัดมา T (Temperature) ช่วงอุณหภูมิโซนอันตราย (Danger Zone Temperature) คือ ช่วงอุณหภูมิที่อาหารมีความเสี่ยงที่จะเสื่อมเสียและมีอันตรายต่อผู้บริโภคจากการเจริญของจุลินทรีย์ โดยจะมีช่วงอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 5 – 62 องศาเซลเซียส และ O (Oxygen) คือ จุลินทรีย์อาศัยออกซิเจนในอากาศในการเจริญ สุดท้าย M (Moisture) คือความชื้น หากยิ่งมีมากจุลินทรีย์จะเจริญได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ จุลินทรีย์จะเจริญเพิ่มจำนวนได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสม (Optimum Temperature) ซึ่งอยู่ระหว่าง 30-37 องศาเซลเซียส ในขณะที่หน้าร้อนจะมีอุณหภูมิสูงถึง 30 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้จุลินทรีย์เจริญได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร โดยจุลินทรีย์ก่อโรคจะทำให้อาหารเป็นพิษ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ง่ายขึ้น เพราะมีจุลินทรีย์ในอาหารสูงกว่าในสภาวะที่เป็นอากาศเย็น


ประเภทของอาหารแบ่งตามความยากง่ายของการเสื่อมเสีย ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 อาหารที่เสื่อมเสียยาก หมายถึง อาหารที่มีความชื้นต่ำ เพิ่มความเป็นกรด มีรสเปรี้ยว กลุ่มที่ 2 อาหารที่เสื่อมเสียค่อนข้างง่าย หมายถึง อาหารที่มีความชื้นค่อนข้างมาก มีความเป็นกรดต่ำ มีปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญของจุลินทรีย์มากขึ้น และกลุ่มที่ 3 อาหารที่เสื่อมเสียง่าย หมายถึง อาหารสด มีความชื้นสูง เป็นกรดน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเน่าเสียมากที่สุดในหน้าร้อน โดยมีช่วงอุณหภูมิโซนอันตราย (Danger Zone Temperature) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้น หากผู้บริโภคปรุงอาหารเสร็จแต่ยังไม่รับประทานทันที ต้องนำเข้าตู้เย็น ไม่ควรตั้งทิ้งไว้ ตามหลักการของ Food science คือทำอย่างไรก็ได้ให้อาหารนั้นผ่าน อุณหภูมิโซนอันตราย (Danger Zone Temperature) หรือช่วงอุณหภูมิ 5 – 62 องศาเซลเซียสให้เร็วที่สุด


แน่นอนว่าการรับประทานอาหารที่เน่าเสียย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ จุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคหากเจริญในอาหารจะไม่ทำให้อาหารเปลี่ยนแปลง ยังไม่เน่าเสีย แต่หากรับประทานเข้าไปแล้วจุลินทรีย์ก่อโรคจะมีผลต่อร่างกายมนุษย์แตกต่างกันไป บางชนิดมีผลต่อระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสีย ปวดท้อง หรือบางชนิดเป็นจุลินทรีย์ที่สร้างสารพิษมีผลต่อระบบย่อย ทำให้อาเจียน หรือบางชนิดมีผลต่อประสาทส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อของเราได้ 


ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการรับประทานอาหารช่วงหน้าร้อน จึงควรเลือกซื้ออาหารสด สะอาด มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ตลาดสดต้องได้รับการรับรองด้านความสะอาดจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรณีที่เป็นผู้ประกอบการต้องผ่านการรับรองจาก สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) หรือ อย. ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคอาหาร 


ผศ.ดร.รชา เทพษร 

อาจารwย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-641290

Other Activities
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
05 Jul 2024
CP Foods Employs Cutting-Edge Disease Surveillance Ensures Premium Chicken Safety
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
30 Apr 2024
CPF shares the sustainable broiler production adhering “One Health” Principle
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
13 Feb 2024
CP Foods Partners with Ramathibodi Hospital Elevates Thais Healthcare with Dietary Solutions
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
20 Nov 2023
CP Foods Advances Consumer Health with Commitment to Low Sodium Diets
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x