นายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ แถลงว่า ระหว่างวันที่ 19-25 ก.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), ผู้แทนสมาคมอาหารไทย 8 สมาคม และตนได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อพบปะหน่วยงานภาครัฐบาล, รัฐสภาของสหรัฐ และสมาคมผู้ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกากว่า 10 ราย รวมทั้งสหภาพแรงงานของสหรัฐ เพื่อชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานต่าง ด้าวและการค้ามนุษย์
โดยได้ยืนยันไปว่า คณะ รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เน้นเรื่องการบูรณาการปัญหาแรงงานต่างชาติกับปัญหาการค้ามนุษย์ และมีมาตรการสำคัญ โดยอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศ ไทยเข้าสู่ระบบ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ทั้งการถูกเอารัด เอาเปรียบ, ปัญหาการค้ามนุษย์ อีกทั้งยังชี้แจงถึงการตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน 12 จุด รวมถึงการแก้ไขปัญหา แรงงานประมง, ภาคอุตสาห กรรมทางทะเลแบบครบวงจร มีการเสนอร่างกฎหมายแรงงานทะเล ซึ่งจะคุ้มครองแรงงานภาคประมงอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดเวลาหยุดพักปีละ 30 วัน ซึ่ง คสช.อนุมัติแล้วและพร้อมจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป"สหรัฐมีความเข้าใจมากขึ้นถึงแนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างเป็นระบบของ คสช. รวมทั้งเห็นมาตรการและความจริงใจ และชี้ให้เห็นว่ามีศักยภาพที่จะถอดสินค้า 4 รายการ คือ อ้อย, กุ้ง, ปลาและเครื่องนุ่งห่ม ออกจากบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานภาคบังคับ โดยกรณีของสินค้าอ้อยมีความเป็นไปได้มากกว่าสินค้าอื่น ซึ่งจะ ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปในเดือน สิงหาคม และคงต้องรอดูประ กาศในเดือนกันยายน ส่วนภาคเอกชนของสหรัฐก็เข้าใจและเชื่อมั่นในแนวทางการทำงานของ คสช. จึงยังคงยืนยันที่จะสั่งซื้อสินค้าจากไทยต่อไป" นายทรงศักระบุ
ด้าน น.ส.ปถมาภรณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ทีมโฆษก คสช.ฝ่ายพลเรือน แถลงภายหลังการประชุม คสช.ว่า ที่ประชุม คสช.เห็นควรไม่ขยายระยะเวลาการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าว ที่มีสัญชาติเมียนมาร์, ลาว, กัมพูชา เพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ โดยต้องไปราย งานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะ เบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ด เสร็จในจังหวัดภายในวันที่ 31 ต.ค.57 รวมทั้งการจัดทำหนังสือเดินทางจากประเทศต้นทาง และการเข้าสู่กระบวน การปรับสถานะเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายภายในเดือน มี.ค.58
นอกจากนี้ คสช.ยังเห็น ชอบร่างกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งยกเลิกการหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และจูงใจให้คนต่างด้าวที่อยู่นอกระบบการจ้างงานเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย.