ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
สถานการณ์ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไทยปี 2557 และแนวโน้มปี 2558
22 Dec 2014
สถานการณ์ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไทยปี 2557 และแนวโน้มปี 2558

สถานการณ์ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไทยปี 2557 และแนวโน้มปี 2558


โดย ดร. พจน์  อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย

 

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในลำดับต้นของโลกโดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้ากุ้ง หมึก ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ทูน่ามากกว่าสามแสนล้านบาท ถือว่าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศในอันต้นของประเทศ ปัจจุบันการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำมีปัญหาในระดับวิกฤติที่ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขโดยเร่งด่วน  เห็นได้จากสินค้ากุ้งซึ่งไทยเคยส่งออกและมีรายได้ 107,277 ล้านบาท แต่มูลค่าการส่งออกที่สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งคาดการณ์ไว้ตลอดทั้งปี 2557 จะเหลือเพียง 60,4800 ล้านบาทเท่านั้น

ดร.พจน์  อร่ามวัฒนานนท์  นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย  ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย ประธานคณะกรรมการประมงและแรงงาน กรรมการและรองเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  กล่าวถึงสาเหตุหลักจนเข้าขั้นวิกฤติในปีนี้คือ


1. ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้ง เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากโรคระบาด EMS
2.  วัตถุดิบที่จับจากทะเลมีปริมาณจำกัด โดยมีสาเหตุจากทรัพยากรประมงเริ่มลดน้อยลง และสหภาพยุโรปเข้มงวดในเรื่องการบังคับมาตรการ IUU อย่างจริงจัง ทำให้วัตถุดิบที่จับจากทะเลทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำขาดแคลน
3. สหภาพยุโรปยกเลิกการช่วยเหลือประเทศไทย โดยเริ่มตัดสิทธิ GSP สำหรับสินค้าประมงในหมวด 0306 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นมา ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนรวมถึงประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอื่นยังคงได้สิทธิพิเศษทางภาษี ส่งผลให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดสหภาพยุโรป 
4. ค่าเงินในประเทศคู่ค้าหลักทั้งสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น  อ่อนค่าลง ทำให้กระทบต่อราคาซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำ

 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทยจะค่อยเริ่มดีขึ้นเนื่องจาก


1. การแก้ไขปัญหาโรคระบาด EMS โดยกรมประมงเห็นผลอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของการปรับปรุงสภาพบ่อเลี้ยง การปรับปรุงลูกพันธุ์กุ้งให้แข็งแรง มีการผลิตน้ำชีวภาพเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยง นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง ประกอบกับการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติงบพิเศษจำนวน 200 ล้านบาทให้กรมประมงทันทีเมื่อได้รับทรบปัญหา ทำให้

กรมประมงสามารถจัดหาพ่อแม่พันธุ์กุ้งนำเข้ามาในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อผลิตลูกพันธุ์กุ้งคุณภาพแจกจ่ายเกษตรกร  จากนั้น พณฯ พลเอกประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี  หม่อมราชวงษ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี  ร่วมด้วยพลเอกฉัตรชัย สาริกายะ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ความสำคัญในภาคเศรษฐกิจได้สนับสนุนแนวทางและมาตรการต่างๆ เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  (กรมประมง) สามารถแก้ไขปัญหากุ้งได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ  และโดยความร่วมมือของบริษัทเอกชนผู้ผลิตและเพาะเลี้ยงกุ้งรายใหญ่คือ ซีพีเอฟ ได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในเรื่องของวิชาการเพื่อปรับปรุงพันธุ์กุ้งให้เหมาะกับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกรในประเทศ เกิดลูกพันธุ์ที่แข็งแรง เห็นได้ชัดว่าอัตราการรอดจากการเลี้ยงสูงขึ้นโดยอ้างอิงจากสถิติเดือนสิงหาคมของกรมประมงที่มีวัตถุดิบกุ้งจากการจับออกสู่ตลาดมาก  และเป็นจุดที่ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจและมั่นใจที่จะลงกุ้ง คาดว่าปี 2558 เกษตรกรจะเพิ่มการเลี้ยงกุ้งขึ้น และอัตราการรอดเพิ่มขึ้น สมาคมฯ จึงคาดว่าผลผลิตปี 2558 จะมีปริมาณไม่น้อยกว่า 300,000 ตัน


2. ปัญหาแรงงาน สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย ซึ่งเกิดขึ้นจาก 8 สมาคมฯ ที่ได้ร่วมมือกันและมีความตั้งใจในการที่จะแก้ไขปัญหาแรงงาน โดยเริ่มตั้งแต่การที่ คสช. ได้เข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการแรงงานที่ผิดกฎหมายให้เข้าสู่ระบบ รวมทั้งการมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดลำดับความน่าเชื่อถือแรงงานประเทศไทย (Trips Report) ของสหรัฐฯ  และจากการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น ร่วมกับหน่วยงานของเอกชน ได้มีการทำรายงานและแผนการแก้ไขส่งไปยังสหรัฐฯ คาดว่าสหรัฐฯ จะถอดประเทศไทยออกจากบัญชีรายชื่อได้ในปี 2558
อีกทั้ง คู่ค้าสหรัฐฯ ยังคงให้ความเชื่อมั่นในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำของไทย โดยสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้มีการจัดทำ Road Map กับกลุ่มผู้นำเข้าสินค้าประมงในสหรัฐฯ (NFI : National Fisheries Institute) ซื้อสินค้ากับผู้ผลิตไทยที่มีการใช้แรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


3. การแก้ไขปัญหา IUU (Illegal Unreported and Unregulated fishing) และปัญหาแรงงานในเรือประมง ตามที่สหภาพยุโรปกดดันประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ผลักดันเต็มที่ที่จะแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง โดยขณะนี้ได้ผ่าน พรบ. การประมง เข้าไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่า สภาฯ จะผ่านกฎหมายออกมาในเดือนนี้ พรบ. การประมงฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ทันสมัยและมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหา IUU ได้ คาดว่าสถานการณ์ด้าน IUU จะผ่อนคลายได้ในช่วงไตรมาสสองของปี 2558

 อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกก็ได้มีการปรับตัวโดยการผลิตสินค้าแปรรูปมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งพัฒนาด้านการตลาด เนื่องจากโอกาสและความต้องการของผู้บริโภคสินค้าประมงในตลาดรอง เช่น รัสเซีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมทั้งจีน ยังคงต้องการสินค้าสัตว์น้ำจากไทย

ทั้งนี้ สมาคมฯ ต้องขอขอบคุณ พณฯ พลเอกประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี  หม่อมราชวงษ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและข้าราชการประจำทั้งกระทรวงพาณิชย์ (ท่านพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ)  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กรมศุลกากร (คุณสมชัย สัจจพงษ์) ที่เป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากมาตรการทางการค้าและไม่ใช่การค้า ให้กับอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าสัตว์ของไทย ดร. พจน์ กล่าวในที่สุด

 

อ้างอิง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย

 

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x