โดยปัจจุบันซีพีเอฟ บรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ (CPF 10 Point Plan) สู่ความยั่งยืน อาทิ การเลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ที่ซื้อวัตถุดิบปลาป่นจากผลพลอยได้ หรือ by-product ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 42% และวางเป้าหมายไว้ที่ 70% ภายในปี 2016 ซึ่งขณะที่ซีพีเอฟกำลังเพิ่มสัดส่วนนี้ การพึ่งปลาที่เหลือจากการจับก็ลดลงเป็นจำนวนมหาศาล โดยมีผู้ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของซีพีเอฟ คือ บริษัท Southeast Asian Packaging and Canning (SEAPAC) ในเครือ บริษัท Kingfisher Group ซึ่งใช้ผลพลอยได้จากทูน่าที่ได้จากมหาสมุทรแปซิฟิคและเป็นบริษัทปลาป่นรายแรกในทวีปเอเชีย ที่ได้รับมาตรฐานรับรองการผลิตที่ดี (GMP+) และการเป็นผู้ค้าที่รับผิดชอบ (responsible supply)
ผลจากการดำเนินมาตรการเพื่อรับรองการทำประมงอย่างถูกต้อง และรับผิดชอบ ภายใต้การตรวจสอบจากกรมประมง มาเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าขณะนี้ คู่ค้า 40 จากทั้งหมด 55 รายของบริษัทนี้ได้รับการรับรองภายใต้การตรวจสอบจากกรมประมงว่าด้วยการทำประมงอย่างถูกต้อง ซึ่งกำหนดให้โรงงานผู้ผลิตปลาป่นต้องยื่นเอกสารทั้งหมด รวมถึงเอกสารการซื้อสัตว์น้ำที่จับได้ หนังสือรับรองการจับสัตว์น้ำ คำแถลงของกัปตัน และหนังสือรับรองการทำประมง ซึ่งทั้งหมดคิดเป็น 73% ของคู่ค้าของซีพีเอฟ และได้ตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 100% ภายในปี 2557 นี้
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ได้สร้างแรงจูงใจโดยออกมาตรการให้ราคาพรีเมียม 3 บาทต่อกิโลกรัม ให้กับโรงงานปลาป่นซึ่งเป็นคู่ค้าที่ได้วัตถุดิบปลาจากแหล่งที่มาที่ถูกต้อง ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (supplier premium for non-IUU) โดยต้องมีเอกสารตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบได้อย่างถูกต้องเป็นหลักฐานรับรอง และผ่านการตรวจสอบของกรมประมง การจ่ายค่าส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ซีพีเอฟตัดสินใจทำทันทีเพื่อสนับสนุนให้ผู้ค้าปลาป่นทุกรายเข้าร่วมในโครงการนี้ โดยซีพีเอฟถือเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่จ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบว่าไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายแก่คู่ค้า ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปี 2556 บริษัทจ่ายค่าส่วนเพิ่มไปแล้วอีก 48.2 ล้านบาท
ขณะเดียวกันยังเดินหน้าการรับรองห่วงโซ่อุปทานอิสระผ่านทาง ห่วงโซ่อุปสงค์อุปทาน ด้วยการกำลังทำงานกับองค์กรปลาป่นสากล (International Fish Meal & Fish Oil Organization, IFFO) ในโครงการ IFFO RS IP (IFFO RS Improvers Program) ซึ่งเป็นโครงการตรวจสอบอิสระเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าทุกรายของเรานำกลไกที่ปรับปรุงการทำงานของตนมาใช้เพื่อนำไปสู่การผลิตปลาป่นอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS IP อย่างเป็นทางการคือคู่ค้าต้องได้รับมาตรฐานการรับรองการผลิตที่ดี (GMP+) และการเป็นคู่ค้าที่รับผิดชอบก่อน ที่สำคัญในเดือนมิถุนายนนี้ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านบึงของซีพีเอฟ จะเป็นโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในโลกที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS CoC (Chain of Custody) ว่าเป็นโรงงานที่จัดซื้อและใช้วัตถุดิบปลาป่นอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ผ่านคู่ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของซีพีเอฟ คือ บ. Southeast Asian Packaging and Canning (SEAPAC) และภายใน 3 ปี โรงงานแห่งนี้ตั้งเป้าว่าจะใช้ปลาป่น 100% จากคู่ค้าผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ตามพันธะสัญญาที่เราทำไว้ในแผน 10 ประการ
ส่วนการทำงานกับรัฐบาลไทย ซีพีเอฟนับว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียวในเอเชียที่ทำงานกับรัฐบาลไทย โดยกรมประมง เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายประมง โดยได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐตลอดปี 2556 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเดินหน้าผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมง – แถบอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สมาคมที่อยู่ในห่วงโซ่การประมงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำทั้ง 8 สมาคม ในนาม Thai Sustainable Fisheries Roundtable (TSFR) ร่วมกันลงนามในบันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU) พร้อมโครงร่างแผนที่นำทางเพื่อการพัฒนาการประมงไทยอย่างยั่งยืน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ซึ่งขณะนี้คณะทำงาน TSFR กำลังจัดทำแผนปรับปรุงการทำประมง (Fishery Improvement Plan – FIP) สำหรับอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ร่วมกับหน่วยงาน Sustainable Fisheries Partnership (SFP) และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-Thailand) ซึ่งมีทั้งทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำการศึกษา โดยตลอดทั้งโครงการอาจจะต้องใช้เงินทุนหลายล้านดอลลาร์ โดยซีพีเอฟกำลังอยู่ระหว่างการระดมทุนก้อนแรก ทั้งหมดนี้ ต้องชื่นชมซีพีเอฟที่กล้าที่จะเปลี่ยนและออกโรงเดินหน้าสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมประมงของไทย
อย่างไรก็ดี การทำประมงที่ยั่งยืนมิอาจเกิดขึ้นได้ด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ให้หันมาช่วยกันเร่งพัฒนาการทำประมงอย่างถูกต้อง การทำตามกฎหมาย บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมและตรวจสอบที่เข้มงวดรัดกุม ระบบนิเวศทางทะเล ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ยั่งยืนก็น่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ยากในบ้านเรา./