ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
นักวิชาการ ชี้ฉีดฟอร์มาลีนให้ปลาไม่มีจริง วอนหยุดส่งต่อข้อมูลคลาดเคลื่อนกระทบผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค
17 Feb 2016
นักวิชาการ ชี้ฉีดฟอร์มาลีนให้ปลาไม่มีจริง วอนหยุดส่งต่อข้อมูลคลาดเคลื่อนกระทบผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค

นักวิชาการย้ำฟอร์มาลีนเป็นสารสำหรับฆ่าเชื้อโรคในการเลี้ยงสัตว์น้ำ และต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ชี้ไม่สามารถฉีดเข้าไปในตัวปลาได้เพราะจะทำให้อวัยวะภายในเสียหาย เตือนอย่างหลงเชื่อและหยุดส่งต่อข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค

 

ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง อธิบายข้อเท็จจริงว่า ในวงการเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิด ทั้งในบ่อดิน อ่างซีเมนต์ หรือกระชังในแม่น้ำ ล้วนมีโอกาสเกิดการติดเชื้อปรสิตชนิดต่างๆ เช่น ปลิงใส เห็บระฆัง ฯลฯ ที่จะอาศัยตามซอกเกล็ดหรือในเหงือกเพื่อเกาะกินเลือดปลา ก่อให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนังภายนอกของปลา ซึ่งต้องทำการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อก่อนจะเสียหายรุนแรง  

 

กรณีเช่นนี้ นักวิชาการประมงจะแนะนำให้เกษตรกรทำการแช่ปลาในสารเคมีบางชนิดเช่น ฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดเชื้อปรสิต และไม่เป็นอันตรายหรือตกค้างในตัวปลา 

 

ทั้งนี้ ฟอร์มาลีนไม่ใช่สารต้องห้าม แต่เป็นสารที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังของสัตว์น้ำ ช่วยกำจัดเชื้อหรือปรสิตของปลา ด้วยความเข้มข้นต่ำมากเพียง 100 ppm (100 ส่วนในล้านส่วน) หรือเท่ากับ ฟอร์มาลีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 1 ตันก็เพียงพอในการรักษาอาการได้แล้ว ขณะเดียวกัน ฟอร์มาลีนยังเป็นสารที่ระเหยง่ายมาก จะสลายไปในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ตกค้างในตัวปลา ผู้บริโภคจึงไม่ต้องกังวล  ที่สำคัญคือ ไม่มีความเป็นไปได้เลยที่เกษตรกรจะฉีดฟอร์มาลีนเข้าไปในตัวปลา เนื่องจากสารดังกล่าวจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในของปลา จนไม่สามารถเลี้ยงต่อหรือนำมาจำหน่ายได้  ดังนั้น จึงขอให้หยุดส่งต่อข้อความที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะส่งผลต่อผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค

 

ด้าน นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวเสริมว่าการเลี้ยงปลานั้น หากไม่ป่วยก็จะไม่มีการใช้ยาหรือสารใดๆกับปลา แต่หากจำเป็นจะรักษาแผลที่ผิวหนังของปลาด้วยการแช่ปลาในฟอร์มาลีน ซึ่งสามารถทำได้ตามสัดส่วนที่กำหนด เพื่อกำจัดเชื้อปรสิตภายนอก 

 

สำหรับการฉีดฟอร์มาลีนเข้าไปในตัวปลาเพื่อรักษาความสดนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้ปลาตาย เนื่องจากเนื้อเยื่ออวัยวะถูกทำลาย โปรตีนจะเปลี่ยนสภาพ เนื้อปลาจะมีลักษณะแข็ง ไม่สด ไม่น่ารับประทาน และไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น จึงไม่มีใครนำฟอร์มาลีนมาฉีดให้ปลาเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่มีประโยชน์ใดๆเลย

“ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลามีการพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น นวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบ "โปร-ไบโอติก" (Pro-Biotic Farming) เพื่อการผลิตสัตว์น้ำปลอดสารสู่การบริโภคที่ปลอดภัย โดยอาศัยหลักการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ด้วยการจัดการภายในบ่อเลี้ยงให้ดี เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวที่จะกระทบต่อสุขภาพสัตว์น้ำ ควบคู่กับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทำให้สัตว์น้ำแข็งแรงและมีภูมิต้านทานป้องกันตัวเองได้” นายอดิศร์กล่าว

 

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อธิบายข้อสงสัยเรื่องนี้เช่นกัน โดยระบุถึงภาพที่อ้างว่าเป็นการฉีดฟอร์มาลินให้กับปลาว่าไม่ใช่ความจริง ภาพดังกล่าวเป็นเพียงการฉีดวัคซีนให้กับปลาขนาดเล็ก ราว 30-50-100 กรัม เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค ก่อนเกษตรกรจะนำไปเลี้ยงต่อให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการต่อไป./

 

cr.ประชาชาติ

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x