ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
“คอมพาร์ทเมนต์” ความสำเร็จการป้องหวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก
08 Dec 2014
“คอมพาร์ทเมนต์” ความสำเร็จการป้องหวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก

“คอมพาร์ทเมนต์” ความสำเร็จการป้องหวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก

โดย น.สพ.พยุงศักดิ์สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านบริการวิชาการ ซีพีเอฟ

          นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแนวหน้าซึ่งนานาชาติให้การยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการป้องกันโรคไข้หวัดนกเข้มแข็งที่สุดด้วยระบบ “คอมพาร์ทเมนต์” ทำให้ไทยปราศจากเชื้อไวรัสที่ระบาดในสัตว์ปีกและสามารถคร่าชีวิตผู้คนได้ แม้โรคระบาดชนิดนี้ยังคงแพร่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทยแล้วระบบการจัดการและเฝ้าระวังที่เคร่งครัดเป็นหลักประกันอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1/12/57) หน่วยงานภาครัฐของเนเธอแลนด์ ได้มีคำสั่งทำลายสัตว์ปีกกว่า 50,000 ตัว หลังพบการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N8 ขณะเดียวกัน ในอีกซีกโลกหนึ่งฟาร์มไก่ไข่ที่เมืองคุตทนาด รัฐเคเรล่า (Kerala) ทางตอนใต้ของอินเดียทางการได้มีคำสั่งให้ทำลายเป็ดถึง 180,000 ตัว หลังจากที่มีเป็ดจำนวนกว่า 15,000 ตัว ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ จนผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในซากสัตว์ที่ตายข่าวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่เน้นมาตรฐานความสะอาดในฟาร์มที่สุด ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อดังกล่าวได้

 

หันกลับมามองประเทศไทยพบว่าบ้านเราดำเนินการป้องกันไข้หวัดนก ด้วยระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกในระบบฟาร์มปิดหรือ ระบบ “คอมพาร์ทเม้นท์” (Compartment) เป็นระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่ลดโอกาสและความเสี่ยงการเกิดโรคโดยมีสัตว์เป็นศูนย์กลางคอมพาร์ทเม้นท์นี้ จะช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือปัจจัยของการเกิดโรคของสัตว์ เพื่อหาทางป้องกันและจัดการกับปัจจัยความเสี่ยงตามแนวคิดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มาใช้ในระบบเลี้ยงสัตว์ปีก โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นโต้โผใหญ่ในการผลักดันให้ภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีกและเกษตรกรร่วมกันดำเนินการซึ่ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟและเกษตรกรในโครงการคอนแทรคฟาร์มของบริษัทได้ร่วมกับกรมฯจัดทำโครงการปลอดโรคไข้หวัดนก ตามหลักการของ OIE ขึ้นตั้งแต่พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการในระบบคอมพาร์ทเม้นท์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจรอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแนวคิดที่ว่า “วิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องป้องกันตั้งแต่ต้นทาง” จนประสบความสำเร็จอย่างสูงเพราะสามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ปีกเกิดโรคดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ความสำเร็จของระบบคอมพาร์ทเม้นท์นี้ไม่ได้ถูกจำกัดไว้เพียงในประเทศเราเท่านั้น เพราะเมื่อเร็วๆนี้ ผมได้รับเกียรติเป็นผู้แทนของทั้ง ซีพีเอฟและอุตสาหกรรมผู้ผลิตไก่เนื้อประเทศไทย ไปบรรยายพิเศษในงานสัมมนาระดับนานาชาติถึง 2 งาน ในหัวข้อ “Success story on Sustainable Broiler production” ในงาน “World Nutrition Forum 2014” ณ International conference Centre Munchen (ICM) เมืองมิวนิคสาธารณรัฐเยอรมันและในงาน18th Federation of ASIAN Veterinary Association (FAVA) Congress หรือการประชุมวิชาการสมาพันธ์สัตวแพทย์ภาคพื้นเอเซีย-แปซิฟิคร่วมกับสมาพันธ์สัตวแพทย์โลก ที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อถ่ายทอดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของมาตรฐานการผลิตไก่เนื้อระดับโลก โดยเน้นถ่ายทอดความสำเร็จเรื่องการป้องกันหวัดนกของไทยด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นท์ที่ สามารถกำหนดมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้ตั้งแต่ต้นทาง และมาตรการอื่นๆที่ช่วยป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทั้งนี้ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 5 ประการ ได้แก่การบูรณาการตลอดกระบวนการผลิตสัตว์ปีก (Vertical integration) , การใช้อาหารสัตว์คุณภาพสูงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของสัตว์ (Best quality Feed) , การป้องกันโรคในสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์และการมีระบบการจัดการฟาร์มที่ดี (Best practice on Bio security, Animal welfare, Farm management) , การพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเลี้ยงสัตว์ปีกในฟาร์มปิด (Updated technology-computerized control chicken house) และระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนควบคู่กับการดำเนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ (Environment friendly and CSR)

 

สำหรับคอมพาร์ทเมนท์ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจร ที่สามารถควบคุมและตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการ ประกอบด้วย คอมพาร์ทเม้นท์สำหรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์คอมพาร์ทเมนท์สำหรับฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์ คอมพาร์ทเม้นท์สำหรับโรงฟักไข่สัตว์ปีกคอมพาร์ทเมนต์สำหรับฟาร์มสัตว์ปีกเนื้อ และคอมพาร์ทเม้นท์สำหรับโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกโดยหัวใจสำคัญของความสำเร็จมีองค์ประกอบด้านการจัดการ 4 หมวดหลักได้แก่

1.) มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับสถานประกอบการตามหลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (HACCP) สำหรับโรคไข้หวัดนก

2.) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์มตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์

3.) การควบคุมโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์มตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ และ

4.) การตรวจสอบย้อนกลับทำให้สามารถติดตามข้อมูลการผลิตได้ตลอดห่วงโซ่อาหารเริ่มจากโรงงานอาหารสัตว์ถึงโรงงานอาหารแปรรูป

 

ภายใต้คอมพาร์ทเมนท์เหล่านั้น จะมีการควบคุมอย่างเข้มงวด 3 จุด คือ

จุดที่1 : โรงงานอาหารสัตว์ที่ทำการคัดสรรวัตถุดิบอย่างดี ผ่านกระบวนการผลิตด้วยความร้อนในระบบปิดก่อนจะขนส่งด้วยรถที่ออกแบบเฉพาะ โดยรถทุกคันต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนเข้ารับอาหารสัตว์ จึงมั่นใจได้ว่าอาหารสัตว์มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะและปราศจากเชื้อก่อโรค ขณะที่โรงฟักไข่สัตว์ปีกจะใช้ระบบการผลิตตามหลักการอาหารปลอดภัยโดยการขนส่งไข่ฟักและลูกสัตว์ปีกแรกเกิดใช้รถขนส่งเฉพาะในระบบปิดปรับอากาศ และต้องได้รับอนุมัติการเคลื่อนย้ายจากกรมปศุสัตว์จึงมั่นใจได้ว่าไข่ฟักและลูกสัตว์ปีกแรกเกิดปลอดจากโรค

 

จุดที่ 2 : ฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์และสัตว์ปีกเนื้อจะแยกพื้นที่เลี้ยงออกจากพื้นที่อยู่อาศัยของพนักงานโดยเลี้ยงในโรงเรือนปิดระบบอีแวป และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมจากภายนอกโดยผู้เลี้ยงไม่ต้องเข้าไปภายในโรงเรือนช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์สู่คนได้ กรณีจำเป็นต้องเข้าไปภายในโรงเรือน ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อมือและรองเท้าก่อน ส่วนอุปกรณ์และยานพาหนะทุกประเภทต้องผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าเขตฟาร์มและพื้นที่เลี้ยง ตลอดจนมีโปรแกรมการควบคุมและกำจัดสัตว์พาหะเพื่อป้องกันไม่ให้โรคเข้าไปปนเปื้อนสัตว์ปีกภายในโรงเรือนและโปรแกรมการเฝ้าระวังโรค ทั้งที่ฟาร์มและพื้นที่กันชนรัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม รวมทั้งมีมาตรการตรวจสอบก่อนการจับสัตว์ปีก และการขออนุมัติจับและเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกสู่โรงงานแปรรูปจากกรมปศุสัตว์ก่อนส่งมอบโรงงานแปรรูปเพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์ปีกปราศจากเชื้อก่อโรคและปลอดจากสารตกค้าง

 

จุดที่ 3 : โรงงานแปรรูปสัตว์ปีกถือเป็นจุดสุดท้ายก่อนจะได้เป็นผลิตภัณฑ์ไก่ส่งถึงมือผู้บริโภคโดยไก่เนื้อที่ถูกเลี้ยงจากฟาร์มในระบบคอมพาร์ทเม้นท์เท่านั้นที่จะถูกส่งเข้าโรงงานแปรรูปที่มีมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพตามหลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมสำหรับโรคไข้หวัดนก

ส่วนแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกสำหรับพี่น้องเกษตรกร ที่ผมอยากฝากไว้ คือ

1) ต้องเข้มงวดกวดขันและทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งบุคคลที่จะเข้า-ออกฟาร์ม อุปกรณ์การเลี้ยง และยานพาหนะที่เข้าฟาร์ม

2)หมั่นตรวจสอบโรงเรือนไก่หรือเป็ดต้องปิดมิดชิดสมบูรณ์อย่าให้สัตว์พาหะนำโรคเช่นนก เข้าไปสัมผัสไก่-เป็ดในโรงเรือน

3)อย่าสัมผัสสัตว์ปีกที่ไม่ใช่ไก่หรือเป็ดของฟาร์มตนเองและ

4)หากพบว่าไก่หรือเป็ดมีปัญหาสุขภาพต้องรีบแจ้งสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที

 

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่เห็นผลเป็นรูปธรรมแล้วและความสำเร็จขยายไปมากกว่านี้หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาเอาจริงเอาจังกับการจัดการที่ถูกต้องตามมาตรฐานซึ่งจะทำให้ปัญหาไข้หวัดนกไม่กลับมาสร้างความเสียหายกับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของไทยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อนอีก./

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x