บริษัทเชื่อมั่นว่าการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างรากฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน อนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทคือ องค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกและลบจากการดำเนินธุรกิจภายในและภายนอกองค์กร
ทั้งนี้ บริษัทดำเนินการวิเคราะห์ ทบทวน เพื่อชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านกิจกรรมและช่องทางการสื่อสารต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีความถี่ในการสื่อสารแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนงานของบริษัทและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อรับทราบความต้องการ มุมมองความคิดเห็น ข้อกังวล ข้อเสนอแนะ และนำมาใช้พัฒนาแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อไป
ในปี 2566 บริษัทได้รวบรวมประเด็นและข้อคิดเห็นซึ่งครอบคลุมมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนร่วมจัดลำดับความสำคัญของประเด็นดังกล่าว ผ่านการสัมนาเชิงปฏิบัติการกับตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับมุมมองการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท และนำประเด็นที่มีนัยสำคัญมาใช้ในการกำหนดเนื้อหาของรายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 ด้วย
ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- ประชุมทางโทรศัพท์ (Conference call) ตลอดปี
- ประชุมรายไตรมาสกับกลุ่มนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน ผ่านช่องทางออนไลน์ ตลอดปี
- ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
- สอบถามทางโทรศัพท์ email และแชท Line
ตัวอย่างของประเด็น
- ผลการดำเนินงานและแผนงานในระยะ 3-5 ปี
- ความเสี่ยงด้านโรคระบาดในการเลี้ยงสัตว์และการป้องกัน
- ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ต่อผลการดำเนินงาน มาตรการของบริษัท การปรับตัวและโอกาสจากการระบาดของโรค
- ความสามารถในการทำกำไรและเป้าหมายของธุรกิจใหม่ เช่น ผลิตภัณฑ์ Meat Zero
- การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
พนักงานและครอบครัว
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- CEO Town Hall อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- CPF Family Website, CPF Connect Mobile Application; CPF Facebook Page
- E-mail, E-Newsletter, HR Communications (Clip, ประกาศ) ตลอดปี
- การประชุมคณะกรรมการสวัสดิการรายไตรมาส, ความปลอดภัย
- ศูนย์ Labour Voice Hotline by LPN
- แบบสำรวจความพึงพอใจประจำปี
- พูดคุย, ประชุมตลอดปี
- การประเมินผลงานประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
- การพัฒนาบุคลากร
- ความมั่นคงและก้าวหน้าในสายอาชีพ
- ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ
- การสื่อสารภายในองค์กร
- ความสมดุลในชีวิต
ลูกค้าและผู้บริโภค
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- สำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจประจำปี
- ศูนย์รับข้อร้องเรียนลูกค้า (Call Center) สื่อออนไลน์ โทรศัพท์ และอีเมลตลอดปี
- การทำวิจัยความต้องการของผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ตลอดปี
- การเยี่ยมชมดูงานและการตรวจประเมินปีละ 1-2 ครั้ง
ตัวอย่างของประเด็น
- คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
- การสื่อสารข้อมูลบนฉลากสินค้า
- นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
- สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
- การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- การบริหารจัดการผลกระทบทางสังคมต่อชุมชน
คู่ค้าธุรกิจ
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- การประชุมผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ การติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ หรืออีเมล์ ตลอดปี
- งานสัมมนา, ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- โครงการความร่วมมือพิเศษตามความเหมาะสม
- ตรวจประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ตัวอย่างของประเด็น
- การส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรและคู่ค้าธุรกิจ
- จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
- คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
- สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน
- การบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
- การจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ,ตรวจสอบย้อนกลับได้
- ความปลอดภัยของข้อมูล
ชุมชนและสังคม
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- รับฟังและสำรวจความคิดเห็นประจำปี
- การเปิดช่องทางรับข้อร้องเรียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน
- การลงพื้นที่เยี่ยมเยียนประจำปีและการสานเสวนา
ตัวอย่างของประเด็น
- การมีส่วนร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน
- การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
หน่วยงานภาครัฐ
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- ประชุมตลอดปี
- ร่วมมือและสนับสนุนการริเริ่ม พัฒนาโครงการและกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ตามความเหมาะสม
- รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านการประชุมและสัมมนาตลอดปี
ตัวอย่างของประเด็น
- การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
- ความให้ความร่วมมือกับนโยบายของภาครัฐ
- สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
- การมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
- การจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต
- การเปิดเผยข้อมูลบริษัทต่อสาธารณะ
ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านการประชุมและสัมมนาตลอดปี
- การสัมภาษณ์เชิงลึกตลอดปี
- สนับสนุนการทำงานเป็นเครือข่ายตามความเหมาะสม
ตัวอย่างของประเด็น
- การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
- สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
- การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ทันเวลา
- การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหาร
- สวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพ
- การดำเนินโครงการเพื่อสังคม
- การจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
- การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
- การประยุกต์ใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
- เป้าหมาย Net Zero Carbon
สื่อมวลชน
ช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม
- สื่อสารผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ตลอดปี
- รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดปี
- งานแถลงข่าว, การสัมภาษณ์เดือนละ 2 ครั้ง
- สนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามความเหมาะสม
ตัวอย่างของประเด็น
- เป้าหมายการขยายการลงทุนและการขยายธุรกิจ
- การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
- สวัสดิภาพสัตว์
- การประยุกต์ใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
- สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
- การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเนื้อจากพืช
- การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
- การมีส่วนร่วมในโครงการเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน
- การส่งเสริมการเข้าถึงอาหารของเด็กและเยาวชน