ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่เปิดเผยในรายงานความยั่งยืนซีพีเอฟกำหนดขึ้นตามหลักการของ GRI Standard 2021 (GRI 3) เพื่อประเมินประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญภายใต้หลัก 4 ประการของ GRI Standard อันประกอบด้วย บริบทความยั่งยืน (Sustainability Context) ประเด็นที่มีนัยสำคัญ (Materiality) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Completeness) และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Inclusiveness) โดยมีกระบวนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เข้าใจบริบทขององค์กร
รวบรวมประเด็นด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับ GRI Standard ตามกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร G4-FP (Food Processing) และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 ระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง และอาจเกิดขึ้น
รวบรวมความคิดเห็น/ข้อกังวล (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) ของผู้มีส่วนได้เสียจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุผลกระทบที่ได้รับ ทั้งที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความสำคัญของผลกระทบ
วิเคราะห์ระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสในการเกิด เพื่อประเมินระดับของผลกระทบ
ขั้นตอนที่ 4 จัดลำดับความสำคัญของผลกระทบ
ทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเทียบกับมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ และประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน และจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนสำหรับการรายงานข้อมูล
สามารถดูรายละเอียดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของซีพีเอฟในปี 2566 ได้ที่ รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2566 หน้าที่ 18-19