อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยมาจากการควบคุมกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารในระดับสากลอย่างเคร่งครัด
การรับรองมาตรฐานอาหารของซีพีเอฟ
ริเริ่มโครงการมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ (CPF Food Standard) ภายใต้ นโยบายคุณภาพ ซีพีเอฟ โดยร่วมกับสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (British Standards Institution: BSI) สร้างมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหารและการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ตลอดกระบวนการผลิตแบบครบวงจรของซีพีเอฟ เพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก โดยบูรณาการการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลต่างๆ อันได้แก่ มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และอาหารยั่งยืน ที่เราได้รับการรับรอง ดังนี้
- มาตรฐานสากล เช่น CODEX, ISO 9001, ISO 22000
- กฎระเบียบภายในและต่างประเทศ
- ข้อกำหนดของลูกค้า เช่น BRC, Genesis GAP
มาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่ดีสู่ผู้บริโภคได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
ประกาศใช้มาตรฐานอาหารซีพีเอฟนำร่องในสายธุรกิจไก่เนื้อและเป็ด โดยเริ่มนำไปปฏิบัติใช้ในสายธุรกิจไก่เนื้อครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์-แปรรูป ธุรกิจอาหาร และมีการตรวจรับรองจากหน่วยงานอิสระภายนอก (Third Party)
มีเป้าหมายการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระภายนอก (Third Party) และขยายผลให้ครอบคลุมธุรกิจไก่เนื้อส่งออกและธุรกิจเป็ดเนื้อภายในปี 2565 เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีสู่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทบรรลุเป้าหมายในการตรวจรับรองจากหน่วยงานอิสระภายนอก (Third Party) 100% ของโครงการนำร่อง (Korat Model)
ระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัล
เริ่มการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์อาหารตามมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยอาหารขององค์กรมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX)
ริเริ่มพัฒนาการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลซีพีเอฟ (CPF Digital Traceability) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า จากการเลี้ยงสัตว์-แปรรูป การผลิตอาหารไปจนถึงการกระจายสินค้า ตามนโยบายการตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการออกแบบและพัฒนาขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์ของซีพีเอฟโดยเฉพาะ โดยเริ่มที่สายธุรกิจไก่เนื้อ
เริ่มนำระบบ CPF Digital Traceability มาใช้ในสายธุรกิจไก่เนื้อได้เป็นผลสำเร็จ
- ประเทศไทย: อยู่ระหว่างการสร้างต้นแบบระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลในสายธุรกิจสุกร เป็ด กุ้ง และอาหารพร้อมรับประทาน และขยายผลต่อให้ครอบคลุมทุกสายธุรกิจ
- ประเทศเวียดนาม: นำระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัล มาใช้ในสายธุรกิจไก่เนื้อได้เป็นผลสำเร็จ และอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบฯ ในสายธุรกิจสุกร ไก่ไข่ กุ้ง ปลา และอาหารพร้อมรับประทาน
- ประเทศลาว กัมพูชา จีน มาเลเซีย และอินเดีย: อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัล
ฝึกอบรมผู้บริหารและพนักงานเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลตลอดห่วงโซ่คุณค่าไปยัง
- ทุกสายธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการต่างประเทศ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รัสเซีย อินเดีย และตุรกี
นำเทคโนโลยีBlockchain มายกระดับระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้บริโภค โดยนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคสามารถสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมา ได้แก่ โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสัตว์แล้ว ยังสามารถทราบข้อมูลอื่นเพิ่มเติมได้ด้วย อาทิ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ยั่งยืน และข้อมูลอาหารปลอดภัย ภายใต้ชื่อ “iTrace Blockchain”
จัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี Blockchain ในผลิตภัณฑ์ไก่สดและหมูสดแล้ว 100% ในกิจการประเทศไทย
การดำเนินการ