ฉลากผลิตภัณฑ์
บริษัทให้ความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกต้อง ชัดเจน เพียงพอ ต่อการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค รวมถึงมีช่องทางรับฟังเสียงสะท้อนและข้อร้องเรียนจากลูกค้าและผู้บริโภคผ่านศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟ
เสียงตอบรับจากผู้บริโภค
เสียงสะท้อนจากลูกค้าและผู้บริโภคมีความสำคัญต่อการสนับสนุนและผลักดันให้บริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค เราจึงสร้างช่องทางการสื่อสารหลากหลายรูปแบบขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามของลูกค้าและผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารและบริการของเรา สอดคล้องตามนโยบายการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้บริโภค นโยบายการจัดการข้อร้องเรียนด้านการค้าและการส่งออก และนโยบายด้านการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ สำหรับช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของเรา ได้แก่ ศูนย์ผู้บริโภค ซีพีเอฟ (CPF Consumer Center) การเข้ามาติดต่อที่บริษัทโดยตรง อีเมล เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก กระทู้ออนไลน์ เป็นต้น อนึ่ง บริษัทมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อลดการเรียกคืนสินค้าอันเนื่องมาจากปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยให้เป็นศูนย์
ศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟ
ทำหน้าที่ให้บริการแบบครบวงจร ทั้งให้ข้อมูล รับเรื่องร้องเรียนและบริการ ตลอดจนรับสั่งและจัดส่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยกำหนดรูปแบบในการจัดการข้อร้องเรียนไว้ 3 ระดับเวลาตามความรุนแรงของปัญหา ศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามผลการตรวจสอบจนกระทั่งปัญหาที่ลูกค้าร้องเรียนได้รับการแก้ไข สำหรับการร้องเรียนผ่านทางช่องทางอื่นๆ ก็จะส่งต่อเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟเพื่อดำเนินการต่อไป
ทำหน้าที่ให้บริการแบบครบวงจร ทั้งให้ข้อมูล รับเรื่องร้องเรียนและบริการ ตลอดจนรับสั่งและจัดส่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยกำหนดรูปแบบในการจัดการข้อร้องเรียนไว้ 3 ระดับเวลาตามความรุนแรงของปัญหา ศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามผลการตรวจสอบจนกระทั่งปัญหาที่ลูกค้าร้องเรียนได้รับการแก้ไข สำหรับการร้องเรียนผ่านทางช่องทางอื่นๆ ก็จะส่งต่อเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟเพื่อดำเนินการต่อไป
ความพึงพอใจของลูกค้าในสินค้าตราซีพีเอฟ
ผลการสำรวจความพึงพอใจลูกค้า (B2B) ประจำปี 2566 ซึ่งครอบคลุมธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจเลี้ยงสัตว์-แปรรูป และธุรกิจอาหาร อยู่ที่ 92.6% โดยผลจากการสำรวจนี้ได้นำมาพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการของบริษัทในหลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากที่สุด อาทิ คุณภาพของสินค้า ระยะเวลาในการจัดส่ง และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริการออนไลน์
ในยุคที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยดิจิตัล การนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขนส่ง การขาย และการบริการ ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ ด้วยผู้บริโภคปัจจุบันเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว บริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์ที่สามารถเข้าหาผู้บริโภคได้ตลอดเวลา จึงได้พัฒนาการสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบออนไลน์ให้บริการกับลูกค้าคู่ค้าธุรกิจ (Business-to-Business: B2B) กลุ่มธุรกิจอาหารที่ขายในประเทศไทย โดยปัจจุบันดำเนินการให้บริการกับลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการอาหารและกลุ่มร้านค้าปลีกสมัยใหม่แล้ว และอยู่ระหว่างการพัฒนาบริการให้กับลูกค้ากลุ่มตลาดสด
การดำเนินการ