การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ จึงดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2566 หัวข้อการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำในภาพรวมครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่คู่ค้า ไปจนถึงการดำเนินงานของซีพีเอฟ และลูกค้า (อาทิ การใช้ผลิตภัณฑ์) รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยพิจารณาทั้งตำแหน่งที่ตั้งและประเภทกิจกรรม การประเมินฯ จัดทำผ่านเครื่องมือและฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับระดับสากล เช่น ENCORE Biodiversity Module, WRI Aqueduct และ WWF Water Risk Filter นอกจากนี้ การประเมินฯ ยังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ-สังคม และฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางกายภาพ เช่น SSP1 RCP2.6, SSP3 RCP7.0, SSP5 RCP8.5 และ MICRO A1B ในแบบ optimistic, medium และ pessimistic
ผลการประเมินฯ ช่วยให้บริษัททราบถึงกระบวนการในห่วงโซ่คุณค่า กลุ่มคู่ค้า และกิจกรรมทางธุรกิจที่ต้องมุ่งเน้นในการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบ รวมถึงชี้ให้เห็นจุดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับน้ำในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและการวางแผนทางการเงินเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นด้านน้ำ ทั้งในการดำเนินธุรกิจและในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ พื้นที่ดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับการระบุว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจากเครื่องมือและฐานข้อมูลระดับสากลต่างๆ จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำเชิงลึกเพิ่มเติมโดยพิจารณาจากบริบทท้องถิ่น (Area-based Assessment) เพื่อยืนยันสถานะการเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ
บริษัทคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคัดเลือกสถานที่ตั้งสำหรับพื้นที่ดำเนินงานใหม่ทั้งหมด โดยครอบคลุมความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง
นอกจากนี้ CPF ยังมีมาตรการในการบริหารจัดการน้ำสำหรับพื้นที่ดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น
- การจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำและแผนการบรรเทาผลกระทบที่จำเพาะกับพื้นที่ โดยมีการกำกับดูแลจากผู้บริหารระดับสูง
- การทบทวนแผนรับมือความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ที่จำเพาะกับพื้นที่
- การติดตามตัวชี้วัดทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งภายในและภายนอกอย่างใกล้ชิด
- การติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ และการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำอย่างใกล้ชิด
- การวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำและจัดให้มีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างต่อเนื่อง
- การปรับปรุงหรือติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพิ่มเติม
- การสำรวจความคิดเห็นชุมชนและจัดทำแผนการมีส่วนร่วมกับชุมชน
- การร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับท้องถิ่นบนประเด็นต่างๆ
- การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับมาตรการการบริหารจัดการน้ำ
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง และการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพน้ำ
กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ