นอกเหนือจากการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทแล้ว บริษัทได้ประกาศ
ความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทําลายป่า
สอดคล้องตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามแนวทางของ Science Based Targets initiative (SBTi) โดยมีเป้าหมายการตัดไม้
ทําลายป่า เป็นศูนย์สําหรับวัตถุดิบหลักทางการเกษตร ซึ่งได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และมันสําปะหลัง ภายในปี 2568 สําหรับกิจการทั่วโลก บริษัทได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับบน เทคโนโลยีบล็อกเชนและใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมที่ทันสมัยในการกํากับดูแล รวมถึงการเชื่อมต่อฐานข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับร่วมกับคู่ค้าธุรกิจและเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานควบคู่กับการจัดหาวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้มีการดําเนินโครงการส่งเสริมการปลูกพืชเกษตร (เกษตรพันธสัญญา) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หลักการทํางานของระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Maize Traceability System)
เกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานต้องลงทะเบียนด้วยข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมระบุข้อมูลตําแหน่งที่ตั้งแปลง ขนาดแปลงปลูก รวมถึงลักษณะการถือครอง ที่ดิน โดยอ้างอิงตามเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือเป็นเอกสารรับรองพื้นที่ที่รัฐอนุญาตให้ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
สําหรับผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะต้องลงทะเบียนด้วยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการจดทะเบียนสถานประกอบการ พร้อมระบุข้อมูล ตําแหน่งที่ตั้งของสถานประกอบการ และเมื่อมีการซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรและผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องบันทึกข้อมูล การซื้อขายในระบบทุกครั้ง ปัจจุบันบริษัทได้นําเทคโนโลยีบล็อกเชนมาติดตามทุกธุรกรรมการซื้อขายเพื่อสร้างความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งยัง ได้ต่อยอดข้อมูลตําแหน่งที่ตั้งแปลงเพาะปลูก (พิกัด GPS) ที่ได้ลงทะเบียนไว้ กับระบบติดตามจุดความร้อนด้วยดาวเทียมแบบ Realtime โดยใช้ ฐานข้อมูลเดียวกันกับ NASA (NASA FIRMS: Fire Information for Resource Management System) เพื่อใช้ในการติดตามการเผาแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทาน
เมื่อพบจุดความร้อนบนแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ในระบบ บริษัทจะดําเนินการตรวจสอบและตักเตือนเกษตรกร พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงวิธีการจัดการตอซังที่ถูกต้องโดยปราศจากการเผาแปลง โดยหากพบว่าเกษตรกรรายใดยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีจัดการตอซัง บริษัทขอสงวนสิทธิ์ ในการไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากแปลงดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ทั้งนี้ บริษัทได้กําหนดช่องทางการแจ้งเบาะแสการเผาแปลงข้าวโพดแก่ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นการเผาแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อร่วมกันกํากับดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับบริษัทตามนโยบาย “ไม่รับซื้อและไม่นําเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา”
ช่องทางแจ้งเบาะแสการเผาแปลงข้าวโพด
ผ่านทางเว็บไซต์
ผ่านทางแอปพลิเคชัน ฟ. ฟาร์ม
สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยเท่านั้น
บริษัทมุ่งมั่นในการควบคุมคุณภาพของน้ำมันปาล์มก่อนเข้าสู่ระบบการผลิตอาหารและอาหารสัตว์เพื่อให้ได้สินค้าที่สอดคล้องตามมาตรฐานของบริษัท บริษัทยังได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มาทำพื้นที่การเกษตรปลูกปาล์มน้ำมันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ บริษัทในฐานะผู้นำการเกษตรและอาหารมีเป้าหมายให้ร้อยละ 100 ของน้ำมันสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่าในปี 2568 โดยสำหรับน้ำมันปาล์มในธุรกิจอาหารสัตว์ บริษัทได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับน้ำมันปาล์มและพร้อมขยายผลในปี 2567 สำหรับน้ำมันปาล์มใน 7 ธุรกิจอาหารในกิจการประเทศไทยและเวียดนาม บริษัทจัดหาน้ำมันปาล์มส่วนหนึ่งจากแหล่งที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล อาทิ Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำมันปาล์มที่จัดซื้อมาปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
มันสำปะหลังเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่รับซื้อเป็นอย่างยิ่ง โดยบริษัทได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับมันสำปะหลังสำหรับธุรกิจการผลิตอาหารสัตว์ และได้ขยายผลในเขตประเทศไทยเมื่อไตรมาสที่ 4 ปี 2566 โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างคู่ค้าและเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานที่ร่วมลงทะเบียนภายใต้ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่บริษัทพัฒนาขึ้น
สำหรับมันสำปะหลังแปรรูปที่ใช้ในธุรกิจการผลิตอาหาร บริษัทได้่ร่วมมือกับคู่ค้าและเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อรวบรวมข้อมูลและเตรียมขยายผลตรวจสอบย้อนกลับไปยังพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปราศจาการตัดไม้ทำลายป่า
บริษัทให้ความสำคัญในการตรวจสอบคุณภาพก่อนการรับซื้อปลาป่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแหล่งโปรตีนที่สำคัญในอาหารสัตว์น้ำ บริษัทตระหนักดีว่าปลาป่นเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงต่อประเด็นด้านความยั่งยืน ทั้งในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ การทำประมงผิดกฎหมาย รวมถึงการใช้แรงงานบังคับในห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น แม้บริษัทจะไม่มีธุรกิจการจับปลาและไม่มีการครอบครองเรือประมง แต่บริษัทมีความุ่งมั่นอย่างสูงที่จะสนับสนุนการจัดหาปลาป่นอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อประเด็นด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน บริษัทได้จัดทำข้อกำหนดการจัดหาปลาป่นอย่างรับผิดชอบจาก 2 แหล่งที่มาของสัตว์น้ำ ดังนี้