บริษัทร่วมมือกับพันธมิตรตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรในการส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ทั้งในด้านการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การถ่ายทอดความรู้ และการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้
การยกระดับห่วงโซ่อุปทานด้านการเกษตรของไทยสู่ระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน
บริษัทร่วมกับ บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนระดับโลก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีผู้แทนเกษตรกร (เช่น เกษตรกรสมาชิก Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO) ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา ผู้ตรวจสอบอิสระ รวมถึงองค์กรอิสระทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมแบ่งปันมุมมองและข้อเสนอแนะต่อการใช้มาตรฐานการจัดซื้อจัดวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างยั่งยืนที่บริษัทพัฒนาขึ้นตาม

หลักเกณฑ์ของ ISEAL Alliance หน่วยงานที่กำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศในการพัฒนามาตรฐานความยั่งยืนรับระเบียบการค้าโลก โดยเป็นการทวนสอบยืนยันความถูกต้องของมาตรฐานการจัดซื้อวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และมันสำปะหลัง ที่จำเป็นต้องมีองค์กรอิสระ (Third Party) มาตรวจรับรองความโปร่งใส พร้อมรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยมาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมทั้งด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่าและการเผาแปลงเพาะปลูก บริหารจัดการแรงงานที่ดี เคารพหลักสิทธิมนุษยชน โปร่งใสและตรวจสอบได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ทางการค้าสากลทั้ง CBAM (มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน) EUDR (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่าของอียู) รวมถึง CSDDD (ข้อกำหนดให้ทุกบริษัทมีการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานอย่างรอบด้านด้านความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม)
ส่งเสริมความยั่งยืนในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยมาตรฐาน GAP
บริษัทตระหนักถึงความยั่งยืนในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศจากการเผาแปลงเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การเสื่อมโทรมของดิน การใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกรและระบบนิเวศ จึงได้ร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรจัดอบรมถ่ายทอดความรู้และพัฒนาแนวทางการเพาะปลูกข้าวโพดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP (Good Agricultural Practice) ให้แก่กลุ่มเกษตรกรในวิสาหกิจชุมชนนาคลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เพื่อนำความรู้มาปรับปรุงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และให้กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการตรวจประเมินเพื่อรับรองเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรในทุกขั้นตอนของการผลิตในระดับไร่และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของเกษตรกร

การดำเนินการ