เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
การประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบการดําเนินงานของคู่ค้าธุรกิจ
บริษัทได้พัฒนากระบวนการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจรายใหม่ บริษัทมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจรายใหม่ที่ครอบคลุมทั้งในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ และความยั่งยืน โดยคู่ค้าธุรกิจรายใหม่ (กิจการประเทศไทยและเวียดนาม) ต้องผ่านการประเมินตนเองด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสําหรับคู่ค้าธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสําคัญในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลกิจการที่ดี (ESG) และ/หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินภายใต้มาตรฐาน แรงงานไทย (มรท.) รวมถึงการพิจารณากระบวนการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ และการประกอบกิจการอย่างถูกต้องสอดคล้องกับข้อกฎหมายก่อนเริ่มดําเนินการซื้อขายกับบริษัท
สําหรับคู่ค้าธุรกิจรายปัจจุบัน บริษัทมีการประเมินและทบทวนความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk Assessment) ที่ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล รวมไปถึงคุณภาพและความปลอดภัยอาหารในทุกกลุ่มสินค้า ทั้งนี้ บริษัทระบุกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืนจาก Desk Research โดยผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนพบว่า กลุ่มคู่ค้าสําคัญที่ควรได้รับการจัดการ ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครื่องปรุง บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์และเครื่องจักร เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ ลอจิสติกส์ และวัตถุดิบสําคัญอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังมีการระบุคู่ค้าธุรกิจหลัก ซึ่งได้แก่ คู่ค้าธุรกิจที่มีมูลค่าการซื้อสูง คู่ค้าที่ส่งมอบวัตถุดิบที่สําคัญต่อกระบวนการผลิต หรือคู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้ โดยคู่ค้าธุรกิจกลุ่มนี้จะได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนผ่านแบบประเมินตนเองที่มีความเข้มข้นมากกว่าคู่ค้ารายอื่น และหากพบว่าคู่ค้าธุรกิจมีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูงจากแบบประเมินดังกล่าว คู่ค้ายังจะต้องได้รับการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน ณ สถานประกอบการของคู่ค้า โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือผู้ตรวจประเมินภายนอก
บริษัทมีเป้าหมายในการตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจหลักในด้านความยั่งยืนครอบคลุม คู่ค้าธุรกิจหลักร้อยละ 100 ในกิจการประเทศไทยและเวียดนาม ภายในปี 2568
บริษัทมีการสื่อสารให้คู่ค้าทราบถึงผลการประเมินด้านความยั่งยืนอันนำไปสู่การยกระดับผลการดำเนินงาน และอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบแสดงผลลัพธ์ในเชิงเปรียบเทียบกับคู่ค้าในกลุ่มเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
บริษัทร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อสนับสนุนการกําหนดมาตรการแก้ไขกรณีพบความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนด ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และยกระดับขีดความสามารถของคู่ค้าธุรกิจผ่านโครงการต่าง ๆ รวมถึงยกย่องชมเชยคู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ดีเยี่ยม โดยจากผลการตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจหลัก ในปี 2566 พบว่าหัวข้อที่คู่ค้าธุรกิจยังคงต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมมากที่สุด คือ การดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การปฏิบัติด้านแรงงาน และการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งบริษัทได้ประสานกับคู่ค้าธุรกิจเพื่อพัฒนาและติดตามผลการดำเนินงาน พร้อมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ และการปฏิบัติด้านแรงงานที่สอดคล้องตามแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทผนวกข้อพิจารณาด้านความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกคู่ค้า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คู่ค้าดำเนินงานสอดคล้องตามนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสําหรับคู่ค้าธุรกิจ และมีมาตรการจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
กรณีที่คู่ค้าไม่สามารถดำเนินมาตรการแก้ไขให้สอดคล้องตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการแก้ไขโดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และอาจมีการเพิกถอนออกจากการเป็นคู่ค้าของบริษัท
การพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า
บริษัทเล็งเห็นว่าการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนจําเป็นต้องพึ่งพาคู่ค้าธุรกิจทั้งองค์กรขนาดใหญ่และผู้ประกอบการ SMEs ที่มี ศักยภาพและความสามารถในการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน จึงมุ่งมั่นสร้างความรู้ความเข้าใจ และเสริมสร้างศักยภาพของคู่ค้า
ธุรกิจ โดยจัดการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าด้านความยั่งยืนผ่านหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรม Focus Group Training ซึ่ง เป็นการให้ความรู้ด้านกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ในภาพรวมของบริษัทและในเชิงลึกเพื่อนําไปสู่การยกระดับ การดาเนินงานในประเด็นที่มักพบจากการตรวจประเมิน และกิจกรรม CPF Partner Day ซึ่งเป็นเวทีในการมอบรางวัลเกียรติคุณยกย่องคู่ค้าธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมและมีส่วนสำคัญในการยกระดับความยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าของซีพีเอฟ รวมทั้งมีการสื่อสารทิศทางการพัฒนาคู่ค้าธุรกิจในด้านความยั่งยืน โดยตลอดปี 2566 มีคู่ค้าธุรกิจเข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้ากว่า 477 รายในประเทศไทย และ 85 รายในประเทศเวียดนาม รวม 562 ราย
ในปี 2566 หัวข้อที่บริษัทให้ความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพผ่านนวัตกรรมรวมถึงคุณภาพและความปลอดภัย ของวัตถุดิบ ในด้านสังคม ได้แก่ การปฏิบัติต่อแรงงานอย่าง เป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน และในด้านสิ่งแวดล้อม คือ การ เปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) การตรวจสอบย้อนกลับและห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจากการตัดไม้ทําลายป่า รวมถึงการจัดการเพื่อลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ ยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเป็นเลิศโดยคํานึงถึง การเติบโตอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงด้านการหยุดชะงักทางธุรกิจพร้อมดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมในห่วงโซ่อุปทาน
การยกย่องชมเชยและมอบรางวัล
บริษัทจัดงาน CPF Partner Day 2023 มอบรางวัลเกียรติคุณ เพื่อ ยกย่องคู่ค้าธุรกิจที่มีผลการดําเนินงานยอดเยี่ยมและมีส่วนสําคัญ ในการยกระดับความยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากลและส่งต่อความสําเร็จให้คู่ค้าธุรกิจเติบโตไปด้วยกันตาม แนวคิด “เติบโต เคียงข้าง อย่างยั่งยืน” โดยมอบรางวัลให้คู่ค้าธุรกิจ องค์กรขนาดใหญ่ และคู่ค้าธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs รวม 12 องค์กร ซึ่งมีการแบ่งรางวัลออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้ CEO Award "Best Business Partner", Rising Star Award, Best Innovation Award, Best Sustainability Award, Best Cost Competitiveness Award was Best Quality and Supply Performance Award โดยมีคู่ค้าธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 300 องค์กร
การดำเนินการ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x