เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรฯ ชี้ภาวะแล้งกระทบหมูไทย-จีน-เวียดนาม-กัมพูชา-ลาวลด.. ภูมิคุ้มกันโรคต่ำเสียหายกว่า 20% หมูโตช้าส่งผลต้นทุนพุ่ง
10 พ.ค. 2559
สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรฯ ชี้ภาวะแล้งกระทบหมูไทย-จีน-เวียดนาม-กัมพูชา-ลาวลด.. ภูมิคุ้มกันโรคต่ำเสียหายกว่า 20% หมูโตช้าส่งผลต้นทุนพุ่ง

นายสัตวแพทย์ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่า สภาพอากาศร้อนที่เกิดขึ้นในปีนี้ ไม่เพียงยาวนานกว่าปกติ ยังเกิดภาวะขาดแคลนน้ำด้วย ทำให้สุกรขุนโตช้า โดยเฉพาะเกษตรกรที่เลี้ยงแบบโรงเรือนเปิด สุกรจะเครียดง่ายเพราะทนต่อความร้อนไม่ไหว มีอาการหอบ และอาจเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น มีอัตราเสียหายสูงขึ้น การกินอาหารลดลงจากมาตรฐาน ทำให้การเจริญเติบโตต่ำ ประกอบกับภาวะร้อนแล้งเป็นช่วงที่สุกรมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำมาก ส่งผลให้มีโรค PRRS และ PED ที่เกิดเฉพาะในสุกรไม่มีการติดต่อถึงคน เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ทำให้ลูกสุกรและสุกรขุนเสียหายมากกว่า 20% ในช่วงเวลานี้ สุกรขุนที่ส่งเข้าตลาดจึงลดน้อยลง และมีปริมาณออกสู่ตลาดลดลงทั้งภูมิภาค

“คาดว่าภาวะสุกรหายไปจากระบบอันเนื่องมากจากอากาศร้อนที่เกิดขึ้น จะเป็นเช่นนี้ไปอีกประมาณ 2-3 เดือน จึงเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งวัฎจักรสุกรเป็นแบบนี้ทุกปี แต่ปีนี้ภาวะรุนแรงขึ้นจากภัยแล้งที่เกิดยาวนานกว่าที่คาดการณ์ และเกิดขึ้นทั่วภูมิภาคนี้ ส่งผลให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มของประเทศเพื่อนบ้านในขณะนี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม กัมพูชา และลาว” น.สพ.ปราโมทย์ กล่าว

ปัญหาวิกฤตภัยแล้งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้แหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดินแห้งแล้งทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงสุกรมากที่สุดในประเทศต่างประสบปัญหาอย่างหนัก เพราะไม่มีน้ำสำหรับให้สุกรกินและใช้ภายในฟาร์มโดยเฉพาะน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงระบบความเย็นในโรงเรือนปิดแบบปรับอากาศได้ หรือโรงเรือนระบบอีแวป เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อน้ำมาใช้กลายเป็นต้นทุนที่แบกรับสูงขึ้นถึง 10 เท่าตัว ขณะเดียวกัน สุกรที่โตช้ากว่าปกติ ทำให้ต้องยืดอายุการเลี้ยงออกไป 2-4 สัปดาห์ จึงต้องเสียค่าอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

“เมื่ออุปสงค์กับอุปทานของตลาดไม่สมดุลกัน ราคาสุกรขุนจึงปรับขึ้นตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตามผู้บริโภคสามารถปรับเปลี่ยนแหล่งของโปรตีนได้ อาจชะลอการบริโภคสุกรไปก่อน แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรนั้นมีเพียงอาชีพเดียวที่เลี้ยงตนเองและครอบครัว เชื่อว่าภาวะราคาคงเข้าสู่ภาวะปกติในไม่ช้า” น.สพ.ปราโมทย์ กล่าว

น.สพ.ปราโมทย์ ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรว่า สภาพอากาศร้อนแล้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรจัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอ หากเกิดปัญหาการขาดแคลนและน้ำไม่สะอาด ควรใช้คลอรีน 2-3 ppm ผสมในน้ำ เพื่อปรับสภาพน้ำให้สะอาดไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ช่วยป้องกันอาการท้องเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ได้ อาจเพิ่มวิตามินละลายน้ำให้สุกร ควรให้อาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งขึ้น เพื่อกระตุ้นการกินอาหาร นอกจากนี้ อาจเพิ่มระบบน้ำหยดหรือน้ำพ่นฝอยควบคู่กับการเปิดพัดลมระบายอากาศเพื่อลดความร้อนให้กับสัตว์ แต่ต้องระวังอย่างให้ชื้นแฉะ และต้องมีการจัดการฟาร์ม การสุขาภิบาลและการป้องกันโรคที่ดี จำกัดยานพาหนะและบุคลากรที่จะเข้าภายในฟาร์ม โดยต้องผ่านการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง ที่สำคัญต้องหมั่นดูแลสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง กรณีที่พบสัตว์ป่วยหรือตายเกษตรกรต้องมีการกำจัดให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ไม่นำไปชำแหละเพื่อบริโภคหรือขาย ห้ามทิ้งซากสัตว์ลงคูคลองเพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว หากพบปัญหาสัตว์เจ็บป่วยผิดปกติควรรีบปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที./

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x