เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นักวิชาการ ชี้ฉีดฟอร์มาลีนให้ปลาไม่มีจริง วอนหยุดส่งต่อข้อมูลคลาดเคลื่อนกระทบผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค
17 ก.พ. 2559
นักวิชาการ ชี้ฉีดฟอร์มาลีนให้ปลาไม่มีจริง วอนหยุดส่งต่อข้อมูลคลาดเคลื่อนกระทบผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค

นักวิชาการย้ำฟอร์มาลีนเป็นสารสำหรับฆ่าเชื้อโรคในการเลี้ยงสัตว์น้ำ และต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ชี้ไม่สามารถฉีดเข้าไปในตัวปลาได้เพราะจะทำให้อวัยวะภายในเสียหาย เตือนอย่างหลงเชื่อและหยุดส่งต่อข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค

 

ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง อธิบายข้อเท็จจริงว่า ในวงการเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิด ทั้งในบ่อดิน อ่างซีเมนต์ หรือกระชังในแม่น้ำ ล้วนมีโอกาสเกิดการติดเชื้อปรสิตชนิดต่างๆ เช่น ปลิงใส เห็บระฆัง ฯลฯ ที่จะอาศัยตามซอกเกล็ดหรือในเหงือกเพื่อเกาะกินเลือดปลา ก่อให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนังภายนอกของปลา ซึ่งต้องทำการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อก่อนจะเสียหายรุนแรง  

 

กรณีเช่นนี้ นักวิชาการประมงจะแนะนำให้เกษตรกรทำการแช่ปลาในสารเคมีบางชนิดเช่น ฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดเชื้อปรสิต และไม่เป็นอันตรายหรือตกค้างในตัวปลา 

 

ทั้งนี้ ฟอร์มาลีนไม่ใช่สารต้องห้าม แต่เป็นสารที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังของสัตว์น้ำ ช่วยกำจัดเชื้อหรือปรสิตของปลา ด้วยความเข้มข้นต่ำมากเพียง 100 ppm (100 ส่วนในล้านส่วน) หรือเท่ากับ ฟอร์มาลีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 1 ตันก็เพียงพอในการรักษาอาการได้แล้ว ขณะเดียวกัน ฟอร์มาลีนยังเป็นสารที่ระเหยง่ายมาก จะสลายไปในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ตกค้างในตัวปลา ผู้บริโภคจึงไม่ต้องกังวล  ที่สำคัญคือ ไม่มีความเป็นไปได้เลยที่เกษตรกรจะฉีดฟอร์มาลีนเข้าไปในตัวปลา เนื่องจากสารดังกล่าวจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในของปลา จนไม่สามารถเลี้ยงต่อหรือนำมาจำหน่ายได้  ดังนั้น จึงขอให้หยุดส่งต่อข้อความที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะส่งผลต่อผู้เลี้ยงปลาและผู้บริโภค

 

ด้าน นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวเสริมว่าการเลี้ยงปลานั้น หากไม่ป่วยก็จะไม่มีการใช้ยาหรือสารใดๆกับปลา แต่หากจำเป็นจะรักษาแผลที่ผิวหนังของปลาด้วยการแช่ปลาในฟอร์มาลีน ซึ่งสามารถทำได้ตามสัดส่วนที่กำหนด เพื่อกำจัดเชื้อปรสิตภายนอก 

 

สำหรับการฉีดฟอร์มาลีนเข้าไปในตัวปลาเพื่อรักษาความสดนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้ปลาตาย เนื่องจากเนื้อเยื่ออวัยวะถูกทำลาย โปรตีนจะเปลี่ยนสภาพ เนื้อปลาจะมีลักษณะแข็ง ไม่สด ไม่น่ารับประทาน และไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น จึงไม่มีใครนำฟอร์มาลีนมาฉีดให้ปลาเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่มีประโยชน์ใดๆเลย

“ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลามีการพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น นวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบ "โปร-ไบโอติก" (Pro-Biotic Farming) เพื่อการผลิตสัตว์น้ำปลอดสารสู่การบริโภคที่ปลอดภัย โดยอาศัยหลักการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ด้วยการจัดการภายในบ่อเลี้ยงให้ดี เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวที่จะกระทบต่อสุขภาพสัตว์น้ำ ควบคู่กับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทำให้สัตว์น้ำแข็งแรงและมีภูมิต้านทานป้องกันตัวเองได้” นายอดิศร์กล่าว

 

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อธิบายข้อสงสัยเรื่องนี้เช่นกัน โดยระบุถึงภาพที่อ้างว่าเป็นการฉีดฟอร์มาลินให้กับปลาว่าไม่ใช่ความจริง ภาพดังกล่าวเป็นเพียงการฉีดวัคซีนให้กับปลาขนาดเล็ก ราว 30-50-100 กรัม เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค ก่อนเกษตรกรจะนำไปเลี้ยงต่อให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการต่อไป./

 

cr.ประชาชาติ

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x