เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ทลายสัญญาทาส คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง
20 มี.ค. 2558
ทลายสัญญาทาส คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง

เกษตรกรไทยหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ดิ้นรนทำมาหากินไปทางไหนก็หนีไม่พ้นบ่วงนายทุน พ่อค้าผูกขาด...“คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง”...อีกระบบการเกษตรที่เกษตรกรต้องลงทุน น่าสนใจว่าระบบสัญญาส่วนใหญ่ที่ออกแบบร่างกันขึ้นมานั้น ถ้าในภาวะปกติก็มักจะไม่สร้างปัญหา...

ประเด็นปัญหา...เกิดขึ้นในภาวะที่ไม่ปกติ ความเสี่ยงต่างๆก็จะถูกโยนมาให้ “เกษตรกร”...?

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) สะท้อนมุมมองเอาไว้ว่า ลักษณะการลงทุนคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งจะคล้ายธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะการลงทุนโรงเรือนต้องใช้เงินมาก ส่วนใหญ่ก็เป็นล้าน และใช่ว่าเกษตรกรทุกรายลงทุนได้

ประเด็นสำคัญคือ “สัญญา” ถ้าเป็นธรรม มีความกระจ่างชัด กระจายความเสี่ยงกันอย่างเหมาะสมก็เป็นเรื่องดี “คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง”...ไม่ใช่เป็นความชั่วร้าย แต่ภาครัฐหรือองค์กรที่เป็นกลางจะต้องเข้ามาติดตามดูแล คอยควบคุมกำกับ...สัญญากลางจะต้องเป็นยังไง และเมื่อมีความเสี่ยงคู่สัญญาเกิดความเสียหาย จะต้องชดเชย หรือไม่ต้องมีการชดเชยอย่างไรบ้าง หรือการให้ลงทุนระยะยาว แต่สัญญาเป็นระยะสั้น เป็นธรรมมากน้อยแค่ไหน

สำหรับบริษัทไหนที่อ้างว่า...สัญญาเป็นความลับ เปิดเผยไม่ได้ เพราะกลัวคู่แข่งจะลอกเลียนแบบ ดร.วิโรจน์ มองว่า เป็นเรื่องเหลวไหล คุณจะทำธุรกิจยังไงบนความเคลือบแคลงสงสัย?

เมื่อเป็นเช่นนั้น...“สัญญาคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง” ที่ลึกลับ อาจตีความได้ว่าเป็นความไม่โปร่งใส เสมือนเป็น “สัญญาทาส” ที่พ่อค้าเจ้าสัวหัวใสเอาไว้เบียดบัง หากินกับหยาดเหงื่อเกษตรกร

ในมุมเอกชน “คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง” (Contract Farming) เป็นระบบการทำการเกษตรที่เป็นสากล มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยเฉพาะค่ายอเมริกาที่เรียกว่าเป็นต้นแบบของระบบนี้ สำหรับประเทศไทยมีการนำระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งมาใช้ทั้งในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มากว่า 30 ปี

หากจะจำแนกคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งเลี้ยงสัตว์ในบ้านเราแล้ว พบว่ามีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่หลายแบบ ณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ขอแยกออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ แบบประกันรายได้ แบบประกันราคา และ แบบประกันตลาด

“แต่ละแบบก็มีรูปแบบ วิธีการ การลงทุน ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน”

“แบบประกันรายได้”...ลงทุนน้อยที่สุด เกษตรกรต้องลงทุนด้านโรงเรือน อุปกรณ์ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิต...ค่าแรงงาน ค่าไฟ ค่าน้ำ ขณะที่บริษัทจะจัดหาพันธุ์สัตว์ อาหาร ยา วัคซีนสัตว์มาให้ เมื่อสิ้นสุดรอบการเลี้ยง เกษตรกรจะมีรายได้มาก...น้อยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการผลิต อัตราเสียหายของสัตว์ในรุ่นนั้นๆ

น่าสนใจว่ารูปแบบนี้ บริษัทมีความเสี่ยงสูง ต้องเป็นผู้ลงทุนเอง และถือว่าพันธุ์สัตว์ที่นำมาเลี้ยงเป็นทรัพย์สินที่พร้อมจะเสียหายได้เสมอ ในทางกลับกันเกษตรกรจะมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน...มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ

ถัดมา “แบบการประกันราคา” เกษตรกรจะลงทุนด้านปัจจัยการผลิตทั้งหมด โดยมีการทำข้อตกลงเรื่องราคาพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ตลอดจนราคาผลผลิตที่จะขายคืนให้บริษัท

“สัญญาจะทำกันรุ่นต่อรุ่น รูปแบบนี้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ มีเงินลงทุนสูง พร้อมจะใช้เทคโนโลยี...อุปกรณ์ที่ทันสมัย ทำให้สามารถเลี้ยงสัตว์ในปริมาณที่มากขึ้น และมีโอกาสที่การผลิตจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า จึงมีต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลต่อรายได้ที่สูงขึ้น”

สุดท้าย “แบบประกันตลาด” แบบนี้ลงทุนสูงที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายใหญ่ที่ดำเนินงานด้านการเกษตรในลักษณะธุรกิจส่วนตัว ที่มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ด้านการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะลงทุน

เกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งพันธุ์...อาหารสัตว์ของบริษัท เนื่องจากเป็นคู่ค้ากันมายาวนาน และมีบริษัทให้คำปรึกษาด้านวิชาการ สรรหาเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยมาแนะนำ พร้อมทั้งชี้แนะทิศทางการเจริญเติบโต

“แบบนี้บริษัทจะรับผิดชอบด้านการตลาดให้ทั้งหมด เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีตลาดในการขายผลผลิตที่มั่นคง เรียกว่า...เกษตรกรกลุ่มนี้พร้อมที่จะเสี่ยงในด้านการผลิต ทั้งด้านราคาพันธุ์สัตว์...อาหารสัตว์...ผลผลิต เพียงแต่ต้องการให้บริษัทช่วยรับซื้อผลผลิตเท่านั้น”

ณรงค์ ย้ำว่า ไม่ใช่เกษตรกรทุกรายจะประสบความสำเร็จด้วยระบบนี้ บางรายที่กระโดดเข้ามาอยู่ในอาชีพการเลี้ยงสัตว์ เพียงเพราะเห็นเพื่อนบ้านทำแล้วมีรายได้ดีจึงอยากจะเลี้ยงบ้าง ทั้งๆที่เขามีคุณสมบัติไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักลงทุนประเภทจับเสือมือเปล่า ลงทุนกู้ธนาคาร 100 เปอร์เซ็นต์...เล็งผลเลิศ โดยมั่นใจว่าร่วมโครงการกับบริษัทใหญ่แล้วอยู่รอดแน่นอน ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้แทบจะไม่มีรายใดประสบผลสำเร็จเลย

คุณสมบัติหนึ่งของเกษตรกรที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ การไม่ใส่ใจ...ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด

ผศ.ดร.อภิญญา วนเศรษฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาเรื่อง “เกษตรพันธสัญญาในรูปแบบสหกรณ์ : ทางเลือกเพื่อเกษตรกรรายย่อย” พบว่า เกษตรกรรายย่อยจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุน และไม่สามารถลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้เงินทุนสูงได้ จึงไม่สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นคู่สัญญากับบริษัทใหญ่ที่มีมาตรฐานสูง ในเรื่องระบบการเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม

ดังนั้น...“เกษตรกรรายย่อย” เหล่านี้ มักเลือกทำเกษตรพันธสัญญากับบริษัทเล็กที่มีความยืดหยุ่นและไม่เข้มงวดในเงื่อนไขต่างๆมากนัก ส่วน “เกษตรกรรายใหญ่” ที่มีเงินทุนเพียงพอ...เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดี ก็สามารถลงทุนในระบบการเลี้ยงที่ทันสมัยได้ ทำให้สามารถเลือกบริษัทเอกชนที่จะมาเป็นคู่สัญญาได้

ความแตกต่างข้างต้น นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า...เกษตรกรรายใหญ่ที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ จะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนต่ำจากการผลิตในปริมาณมากแล้วทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง หรือที่เรียกว่า การประหยัดจากขนาด (Economy of scale) ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน

“เกษตรกรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา ส่วนเกษตรกรรายย่อยมักมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยและอัตราการสูญเสียในกระบวนการผลิตสูงกว่ากลุ่มแรก หากมีการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอก็อาจประสบผลขาดทุนและมีหนี้สินตามมา”

ผศ.ดร.อภิญญา บอกว่า แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยต้องใช้การรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์สร้างจุดแข็ง ลดจุดอ่อน ช่วยให้สามารถเข้าถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเกษตรพันธสัญญา ทั้งเรื่องเงินทุน เทคโนโลยีที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดจากขนาดด้วยการรวมกลุ่ม การแบ่งงานกันทำจนเกิดความชำนาญเฉพาะด้าน นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

รวมทั้งการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์จะได้ประโยชน์จากการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ประการสำคัญคือช่วยแก้ปัญหาในเรื่องเงินทุน โดยการระดมทุน และการกู้ยืมที่จะทำได้ง่ายขึ้น

กลุ่มที่ประสบความสำเร็จแล้ววันนี้ อาทิ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร สันกำแพง จ.เชียงใหม่, โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง, โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย, สหกรณ์การเกษตรหนองพลับ จำกัด, โครงการตามพระราชประสงค์กลัดหลวง จ.เพชรบุรี, โครงการหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าละอู-ป่าเด็ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในผืนดินพระราชทาน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

พลัง “สหกรณ์”...พลัง “การรวมกลุ่ม” จะช่วยให้เกษตรไทยเข้มแข็งขึ้น ลืมตาอ้าปากได้.

ที่มา : ไทยรัฐ

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x