เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ตามไปดูธุรกิจปลาดอรี่ ครบวงจร ของ ซีพี เวียดนาม
01 ม.ค. 2557
ตามไปดูธุรกิจปลาดอรี่ ครบวงจร ของ ซีพี เวียดนาม

ซีพี เวียดนาม คอปอร์เรชั่น (ซีพีวี) บุกเบิกทำธุรกิจปลาแพนกาเซียส ดอรี่ ครบวงจร เริ่มจากพ่อแม่พันธุ์จนถึงโรงงานแปรรูป หวังผลิตโปรตีนคุณภาพสูงเพื่อการส่งออก ตั้งเป้าปีนี้ 14,000 ตัน

 

          เวียดนามมีการเลี้ยงและผลิตเนื้อปลาแพนกาเซียส ดอรี่ หรือปลาจา ในภาษาท้องถิ่น ปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีการส่งออกประมาณ 90% โดยเป็นการส่งออกเป็นเนื้อปลาฟิเล่ไม่ต่ำกว่า 600,000 ตันต่อปี ไปยังตลาดหลัก คือ สหรัฐ ยุโรป และประเทศอื่นๆ กว่า 20 ประเทศ ทำให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกปลาชนิดนี้ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก กรมประมงของเวียดนามเองก็คาดการณ์ผลผลิตของปลาชนิดนี้ไว้ที่ 800,000 ตัน และจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2557

 

          เนื่องจากปลาแพนกาเซียส ดอรี่ เป็นปลาธรรมชาติในลุ่มแม่น้ำโขง ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญของเวียดนาม จึงได้รับการส่งเสริมตามนโยบายของรัฐฯ ซึ่งเวียดนามมีพื้นที่เลี้ยงปลาประเภทนี้ทั้งหมดประมาณ 5,500 เฮกตาร์ หรือประมาณ 34,375 ไร่ โดยพื้นที่เลี้ยงหลักอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยสามารถผลิตเป็นปลาเนื้อป้อนโรงงานต่างๆ ประมาณ 1.4 ล้านตันต่อปี

 

คุณธรรมนูญ จิวิริยะวัฒน์  รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจครบวงจรปลา แพนกาเซียส ดอร์รี่ ของ ซีพีวี กล่าวว่า บริษัทฯมีการทำการศึกษาข้อมูลทางธุรกิจอย่างละเอียด พบว่า เวียดนามมีความได้เปรียบเรื่องภูมิประเทศค่อนข้างสูง เรื่องแหล่งน้ำจืด  เพราะว่าทางตอนใต้ของเวียดนาม มีแม่โขงเดลต้า  สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง  ซึ่งจะแตกเป็น 9 สาย ก่อนจะลงทะเลที่เวียดนาม ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดมหาศาลและสามารถทำฟาร์มปลาชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี

 

นอกจากนี้ โปรตีนจากเนื้อปลายังเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูง เป็นอาหารสุขภาพ (healthy food) และจะเขามามีบทบาททดแทนปลาทะเล ที่นับวันมีแต่จะลดลงเรื่อยๆ 

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ซีพีวี จึงลงทุนทำธุรกิจปลาแพนกาเซียส ดอรี่ ครบวงจรในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์  ลูกพันธุ์  อาหารปลา ฟาร์ม  และโรงงานแปรรูป โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาเป็นอาหารพร้อมรับประทานให้มากขึ้น เช่น ปลาดอร์รี่ผัดฉ่า  ปลาดอร์รี่ชุบแป้งทอด  เพื่อรองรับการส่งออกไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก

 

คุณธรรมนูญ กล่าวว่า ปลาฯของบริษัทผ่านมาตรฐานควบคุมการผลิตระดับสากล ทั้งโกลบอลแกป ASC Farm  ตั้งแต่ต้นน้ำคือฟาร์มปลาเลี้ยง  จนสู่กระบวนการผลิตมาตรฐานของ ASC มาตรฐานฮาลาลของอิสลาม

 

คุณนเรศ พรมผิว รองกรรมการผู้จัดการ  ดูแลฟาร์มปลาเนื้อและโรงงานแปรรูปปลา ซีพีวี บอกกับทีมงานว่า ธุรกิจปลาครบวงจรที่เวียดนามประกอบด้วย โรงงานอาหารปลา 3 โรงงานที่จังหวัดด่องนาย, เบ๊นแจและเกิ่นเธอ ด้วยกำลังการผลิตรวม 360,000 ตันต่อปี  ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ ฟาร์มลูกปลา และฟาร์มปลาเนื้อ 8 ฟาร์ม จำนวน 150 บ่อ กระจายอยู่ทางจังหวัดตอนใต้บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ มีกำลังการผลิตรวม 27,000 ตัน โรงงานแปรรูปที่มีกำลังการผลิตปีละกว่า 30,000 ตัน (ปลาเป็น) และมีกำลังการผลิตฟิเลแช่แข็งปีละ 18,000 ตัน  ซึ่งเครื่องจักรในการผลิตของโรงงานเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีจากโรงกุ้งและไก่ เข้าด้วยกันเพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากปลา

 

“การทำฟาร์มปลาครบวงจรของ ซีพี ทำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางและสร้างความมั่นใจในเรื่องอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค” คุณนเรศ ย้ำกับทีมงาน

 

ต่อกรณีที่ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับปลาแพนกาเซียส ดอรี่ ว่าเป็นปลาสวายนั้นคุณสมบัติ สิริพันธ์วราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์น้ำจืด ซีพีเอฟ กล่าวว่า ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ กับปลาสวาย ถือเป็นปลาสปีชี่เดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ ซึ่งมีบริษัทฯทำการตรวจสอบดีเอ็นเอแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันมาก  เมื่อดูประวัติการแพร่พันธุ์ ปลายสวายไทยเป็นปลาแม่น้ำเจ้าพระยา  ส่วนปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ เป็นปลาแม่น้ำโขง

 

ปัจจัยความสำเร็จในการเลี้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ คือการเลี้ยงในบ่อบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยอาศัยระดับน้ำที่ต่างกันถึง 2 เมตร  จากการขึ้นลงตามธรรมชาติในช่วงเช้าและเย็น  ซึ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้  ที่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำในบ่อเป็นประจำทุกวัน กระแสน้ำที่ไหลเวียนตลอดเวลา ยังทำให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีค่าออกซิเจนสูงขึ้น  เอื้อต่อการเจริญเติบโต และสามารถเลี้ยงแบบหนาแน่นได้ 

 

ซีพีเวียดนามเป็นผู้นำเทคโนโลยีในการนำเครื่องให้อาหารอัตโนมัติเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมนี้เป็นครั้งแรก ผลที่ได้นับว่าน่าพอใจ  เพราะการทำงานของเครื่องนี้  จะช่วยเหวี่ยงเม็ดอาหารให้กระจายได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งบ่อ  ลดการผิดพลาดจากการให้อาหารด้วยแรงงานคน ช่วยให้ปลาทุกตัวได้รับอาหารทั่วถึง ผลผลิตที่ได้จึงมีขนาดใกล้เคียงกันตลอดช่วงการเลี้ยง 200 วัน  ที่สำคัญยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก

 

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ จะต้องผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ  เพื่อยืนยันคุณภาพ ก่อนส่งไปจำหน่ายต่อไป  เนื้อปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ มีความนุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว จึงเหมาะสำหรับนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท  อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลก./

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x