เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
คอลัมน์ กระดานความคิด: อนาคตเกษตรไทย...เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง!!
04 พ.ค. 2558
คอลัมน์ กระดานความคิด: อนาคตเกษตรไทย...เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง!!

          แนวคิดการปฏิรูปภาคเกษตรของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิรูปที่ดินและการปรับปรุงระบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งดูมีความเชื่อมโยงกันอยู่ และอาจจะเชื่อมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมของชาติได้อีกด้วย


          เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่ามีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งเอกชน ชาวบ้าน และชุมชนจำนวนหนึ่ง ได้เข้าไปทำกินในพื้นที่ของรัฐ เช่น ป่าสงวน พื้นที่ทับซ้อน หรืออาจเป็นพื้นที่ที่คนอยู่มาก่อนแล้วค่อยประกาศเป็นป่าในภายหลัง ในขณะที่บางพื้นที่ที่ไม่มีโฉนดก็จะจัดเป็นพื้นที่ป่าทั้งหมด เมื่อมีคนไปอยู่ก็ถูกฟ้อง ถูกจับ แนวคิด ดร.กอบศักดิ์นี้ จะได้ใช้วิธีใหม่ คือให้คนที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนยื่นเรื่องเข้าม แล้วรัฐหาทางออกให้ด้วยการจ้างให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่นั้น โดยรัฐจะไม่จ่ายค่าจ้างเป็นเงิน แต่จะเป็นการให้โอกาสเข้าทำกิน และมีเงื่อนไข คือต้องเฝ้ารักษาพื้นที่ป่าด้วยแนวคิดนี้น่าสนใจเพราะหากประสบความสำเร็จ นอกจากจะลดการบุกรุกพื้นที่ป่าของชาวบ้านแล้ว ยังทำให้มีการเฝ้ารักษาสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การลดการเผาป่า ช่วยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้อีกแรง


          เมื่อพูดถึงการปฏิรูปที่ดินที่เชื่อมโยงกับภาคเกษตรดังกล่าว..ก็ขอยกตัวอย่าง "โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า" ใน จ.ฉะเชิงเทรา ที่สามารถจัดการที่ดินอันรกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นแผ่นดินทองได้ อาจจะต่างกันตรงที่ ที่ดินหนองหว้าไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน หรือพื้นที่ป่า แต่เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่เจ้าของไม่สามารถเพาะปลูกพืชใดๆ ได้เนื่องจากเป็นดินปนทรายในลักษณะหลังเต่า ทั้งนี้ การปฏิรูปที่ดินให้สำเร็จ จะต้องจัดการควบคู่ไปกับ "โอกาสทำกิน" นั่นหมายถึง ต้องมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้เขาได้อย่างต่อเนื่องมั่นคงและยั่งยืน เมื่อมีความมั่นคงทางอาชีพทางรายได้แล้ว การใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชนของเขาด้วยความรักและหวงแหนก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ ดังที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า


          นับว่าภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันการเงิน ที่ร่วมกันดำเนินโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว มีวิสัยทัศน์ยาวไกลมาก เขาปฏิรูปที่ดินรกร้างว่างเปล่า 1,200 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ 25 ไร่ ไว้ให้เกษตรกรยากไร้ ใช้ทำกินโดยไม่ได้ยกที่ดินให้ทันที แต่นำระบบเกษตรพันธสัญญาเข้ามาใช้ โดยให้เกษตรกรนำไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อกู้เงินมาลงทุนประกอบอาชีพเลี้ยงหมู พร้อมให้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในยุคนั้น รวมถึงวางระบบรับซื้อผลผลิตคืน ทำให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลว่าเลี้ยงหมูแล้วจะเอาไปขายใคร...


          เกษตรกรยากไร้แต่ละราย กว่าจะได้โฉนดที่ดิน 25 ไร่มาเป็นของตนเอง ก็ใช้เวลาราว 10 ปี ซึ่งแน่นอนว่าเกษตรกรกลุ่มนี้จะมีความภาคภูมิใจในตนเองอย่างมาก พร้อมๆ ไปกับการมีทักษะอาชีพเลี้ยงหมูที่ดี ตลอดจนความรักหวงแหนในที่ดินถิ่นฐานของตนเอง กลายเป็นความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ในรุ่นลูกรุ่นหลาน


          นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่อยากชี้ให้เห็นก็คือกาารแข่งขันในโลกความจริงของภาคเกษตร มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ต่างจากวงการแพทย์ วงการผลิตรถยนต์ หรือวงการอื่นๆ ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้น การให้โอกาสเกษตรกรในที่ทำกินและในอาชีพทำกินแล้ว คงยังไม่เพียงพอ ...เรื่องของเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่จึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ และอาจจะไม่เกินจริงเลย ถ้าจะกล่าวว่า "อนาคตเกษตรกรไทย จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยง"


          ในแนวคิดของ ดร.กอบศักดิ์ ที่มองว่า "สุดท้ายแล้วเกษตรกรจะอยู่ด้วยตนเองได้ยากเพราะภาคเอกชนโดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ไปไกลถึงขนาดใช้เทคโนโลยีดาวเทียมควบคุมการผลิตทั่วประเทศได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่กรุงเทพฯ ตลอดจนใช้หุ่นยนต์ในการจัดการโรงงานแล้ว ดังนั้น ทางเดียวที่จะช่วยให้เกษตรกรเข้มแข็งได่ ก็คือต้องร่วมมือกับเอกชน" การร่วมมือของเกษตรกรกับภาคเอกชน จะสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตรไทย ให้สามารถอยู่รอดได้ด้วยกันทั้งคู่ รวมไปถึงประเทศไทยที่จะสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก การตั้งข้อรังเกียจเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ หรือรังเกียจภาคเอกชนที่มีการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะกลายเป็นการตีกรอบให้ภาคเกษตรไทยถอยหลังเข้าคลองได้


          การปรับตัว จึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับเกษตรกรรายใหญ่ที่สามารถเข้าถึงเงินทุนและเทคโนโลยีได้นั้น ก็ค่อนข้างจะมีศักยภาพในการปรับตัวได้ดีจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วนเกษตรกรรายย่อยที่ขาดแคลนเงินทุนมักถูกเอาเปรียบได้ง่าย ทางออกหนึ่งที่จะช่วยเหลือเกษตรกลุ่มนี้ได้พัฒนาไปพร้อมกับภาคส่วนอื่นในอุตสาหกรรม ก็คือการสร้างความเข้มแข็งโดยการรวมกลุ่มเกษตรกรซึ่งอาจเป็นในรูปสหกรณ์ก็ได้ เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองก่อนเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา


          ขณะเดียวกัน ผู้เขียนก็เห็นด้วยในมุมที่เล็กลงมาเกี่ยวกับสัญญาความเป็นธรรมต่างๆ ที่จะต้องมีการดูแลให้เกิดความเป็นธรรมและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ การเพิ่มการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากภัยธรรมชาติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ก็นับเป็นเรื่องที่ดีที่ต้องสนับสนุน เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรไทยทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคได้แน่นอน...ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

cr. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x