เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ ร่วมมือ SeaBOS สานต่อพันธกิจพัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารทะเลที่รับผิดชอบต่อโลก
17 พ.ย. 2566
ซีพีเอฟ ร่วมมือ SeaBOS สานต่อพันธกิจพัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารทะเลที่รับผิดชอบต่อโลก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะสมาชิกของ SeaBOS เครือข่ายความร่วมมือของผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบและเหมาะสม เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ปลอดภัย ปลอดสารตกค้าง  ในงานประชุมประจำปี 2566 ของ SeaBOS ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้

 

น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ ในฐานะเป็นองค์กรเอกชนร่วมก่อตั้ง SeaBOS กล่าวว่า  ซีพีเอฟมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนคณะทำงานด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบของเครือข่าย SeaBOS ด้วยการถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงกุ้ง ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลและรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่อยู่ในเครือข่าย SeaBOS ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยอาหารทะเล และสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก  ตามวิสัยทัศน์ของซีพีเอฟ การเป็น “ครัวของโลก” ที่ยั่งยืน

 

ซีพีเอฟได้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ตลอดกระบวนการผลิต อาทิ การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งเติบโตรวดเร็ว แข็งแรง และมีความต้านทานโรคสูง ส่งเสริมการเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพสูง การใช้โปรไบโอติกใส่ในอาหารสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กุ้งมีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดน้ำ เช่น การใช้จุลินทรีย์ช่วยบำบัดน้ำในบ่อ (Biofloc) ตลอดจน การแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร เป็นต้น

 

“เครือข่าย SeaBOS มุ่งมั่นที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อร่วมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นแนวทางขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหาร มีระบบการผลิตที่ยั่งยืน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศ และร่วมปกป้องฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติให้แก่คนรุ่นๆ ต่อไป” น.สพ. สุจินต์ กล่าว

 

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรยกระดับห่วงโซ่อาหารทะเลของไทยตามหลักสากล ภายใต้ คณะทำงานการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย (TSFR)  เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งการทำประมงในทะเลอ่าวไทย พัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐานการรับรองวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำจากพื้นที่ที่มีสัตว์น้ำแบบหลากหลายสายพันธุ์ และพัฒนากระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมกุ้งไทย

 

ในงานประชุม SeaBOS ที่เมืองปูซานครั้งนี้ SeaBOS ได้อนุมัติการดำเนินโครงการ Keystone Project เพื่อให้บริษัทสมาชิกร่วมจับมือเร่งเครื่องสร้างความยั่งยืนท้องทะเลและอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยซีพีเอฟและเครือข่าย SeaBOS ได้ดำเนิน โครงการนำร่องตรวจสอบยีนดื้อยาในอาหารทะเล (AMR Gene Testing) เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังและลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป นอกจากนี้ SeaBOS ได้เปิดตัวรายงานสรุปผลลัพธ์สู่ความยั่งยืน (Impact Report) ฉบับปฐมฤกษ์ แถลงความคืบหน้าในประเด็นสำคัญ ได้แก่การป้องกันประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ผลกระทบต่อระบบนิเวศ การดื้อยาปฏิชีวนะ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพลาสติก รวมถึงประเด็นอื่นๆ รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในการแก้ไขอุปสรรคเหล่านี้ โดยบริษัททั้ง 9 แห่งในเครือข่าย SeaBOS  โดยสามารถเข้าไปดูข้อมูลรายงานฉบับเต็มได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://seabos.org/wp-content/uploads/2023/10/SeaBOS_impact_report_2023.pdf

 

กิจกรรมอื่น ๆ
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก"  ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
10 มิ.ย. 2567
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก" ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
05 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
17 พ.ค. 2567
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
CPF ร่วมขับเคลื่อน  Food Bank ต้นแบบการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน  สร้างความมั่นคงทางอาหาร
16 พ.ค. 2567
CPF ร่วมขับเคลื่อน Food Bank ต้นแบบการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน สร้างความมั่นคงทางอาหาร
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x