เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ ร่วมกับ SeaBOS เปิดตัวรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานฉบับแรก    มุ่งมั่นขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลสู่ความยั่งยืน
11 ก.ค. 2565
ซีพีเอฟ ร่วมกับ SeaBOS เปิดตัวรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานฉบับแรก มุ่งมั่นขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลสู่ความยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ร่วมกับ SeaBOS เปิดตัวรายงานการดำเนินงานฉบับแรก (SeaBOS Progress report 2017-2022) โชว์การผนึกพลังระหว่างนักวิทยาศาสตร์ และ 10 องค์กรธุรกิจสัตว์น้ำชั้นนำระดับโลก ขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลสู่ความยั่งยืน และปกป้องฟื้นฟูมหาสมุทรตลอดช่วง 5 ปี  

 

น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์น้ำ CPF กล่าวว่า บริษัทฯ ในฐานะ 1 ใน 10 ขององค์กรธุรกิจที่ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) ได้ร่วมเปิดตัวรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานฉบับแรกของกลุ่ม นับตั้งแต่มีการก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งนำเสนอความร่วมมือระดับสากลระหว่างภาควิชาการและภาคธุรกิจ ในการพิทักษ์มหาสมุทรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล  รวมถึงความก้าวหน้าตลอดระยะเวลา 5 ปีจนถึงปัจจุบัน การวิเคราะห์ความท้าทาย และโอกาส เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารทะเลด้วยกระบวนการที่รับผิดชอบ และสร้างความยั่งยืนตลอดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ก้าวสู่เป้าหมายในการปกป้องมหาสมุทร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงด้านอาหารของสังคมโลก บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาาศ (Climate Change) 

  

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนคณะทำงานด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบของเครือข่าย SeaBOS ซึ่งเป็น 1 ใน 6 คณะทำงาน (Taskforce) นับเป็นหนึ่งประเด็นที่สำคัญการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยคณะทำงานที่ซีพีเอฟ เข้าร่วม มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาวิธีแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์น้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์และสัตว์ สอดคล้องกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ซีพีเอฟได้ยึดถือและนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ คณะทำงานนี้ยังมีหน้าที่ในการร่วมกับรัฐบาลเพื่อขจัดปัญหาต่างๆที่คุกคามความยั่งยืนทางทะเล   

 

ทั้งนี้ คณะทำงานกำลังร่าง จรรยาบรรณด้านยาปฏิชีวนะของ SeaBOS (SeaBOS Antibiotics Code of Conduct) ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2565 นี้ เพื่อให้บริษัทสมาชิก SeaBOS นำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงขยายผลสู่คู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งส่วนการผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มสัตว์น้ำ 

 

ซีพีเอฟได้จัดลำดับความสำคัญการดำเนินนโยบายการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ อาทิ 1.) ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์และใช้เพื่อการรักษาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 2.) หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านจุลชีพประเภทที่ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (share-class antimicrobials) และใช้เมื่อจำเป็นอย่างระมัดระวัง โดยจะเลือกใช้ยาสำหรับสัตว์เป็นลำดับแรก 3.) ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพื่อหาแนวทางใหม่ที่ดีกว่าในการดูแลสัตว์ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) อันจะเป็นการลดความจำเป็นในการใช้ยาต้านจุลชีพ เป็นต้น โดยบริษัทจะทำงานตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหารโปรตีนทั่วโลก และร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการปกป้องสุขภาพของคน สัตว์ และสังคมโลกอย่างเหมาะสม ตามหลักการ ‘’สุขภาพหนึ่งเดียว” (One health) 

 

นอกจากการยุติการใช้ยาปฏิชีวนะในห่วงโซ่อาหารทะเลแล้ว  กลุ่ม SeaBOS ยังมีคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนสู่การทำประมงและผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืน เช่น การจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการส่งเสริมการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย ขจัดแรงงานผิดกฎหมาย พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ งดเว้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกด้วยการสรรหานวัตกรรมใหม่ๆ  

 

น.สพ.สุจินต์ เสริมว่า ซีพีเอฟ ได้ริเริ่มหลายกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการประมงยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่ม เช่น ร่วมมือกับ  “มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN เปิดช่องทางศูนย์ฮอทไลน์ Labour Voices by LPN ให้แรงงานของบริษัทได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อร้องเรียนผ่านองค์กรที่เป็นกลาง และร่วมมือกับ 6 องค์กรจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์ ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพื่อร่วมดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานต่างชาติและครอบครัวในอุตสาหกรรมประมง จังหวัดสงขลา ซึ่งจะนำไปสู่การขจัดและป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกรูปแบบในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศ นอกจากนี้ซีพีเอฟยังร่วมกับ กรมประมง ภาคเอกชน และเรือประมง เพื่อร่วมจัดการขยะทะเล ขยะชายฝั่ง และขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน   

 

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายงานความคืบหน้าของกลุ่ม SeaBOS ฉบับแรก ได้ที่ https://seabos.org/seabos-launches-first-progress-report-collaboration-starting-to-generate-results/ และ https://seabos.org/wp-content/uploads/2022/06/SeaBOS-progress-report-2017-2022.pdf

Tag: #CPF 
กิจกรรมอื่น ๆ
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
01 ก.ค. 2567
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก"  ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
10 มิ.ย. 2567
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก" ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
05 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
17 พ.ค. 2567
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x