เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
“ธนาคารน้ำใต้ดิน” หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า แหล่งเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำยั่งยืน
10 ส.ค. 2566
“ธนาคารน้ำใต้ดิน” หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า แหล่งเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำยั่งยืน

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ และยังช่วยรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ต่างๆด้วย หากแต่ปริมาณน้ำบนโลกนี้เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกเพียงร้อยละ 3 เป็นน้ำจืด ถ้าหากแบ่งในปริมาณน้ำจืดนี้เป็น 100% พบว่าเป็นธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งมากถึง 70% ส่วนอีก 29% เป็นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล และมีเพียง 1% เป็นน้ำผิวดิน

การเก็บกักน้ำไว้บนผิวดินเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ กลายเป็นทั้งเรื่องที่จำเป็นและเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก วันนี้พามารู้จักกับหนึ่งในตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในภาคเกษตร ที่ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาตั้งแต่ปี 2520 ด้วยการพลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้งให้เกษตรกรทั้ง 50 ราย ได้มีอาชีพเลี้ยงหมูเป็นอาชีพหลัก และมีการเพาะปลูกพืชสวนพืชไร่เป็นอาชีพเสริม จนถึงปัจจุบันที่นี่กลายเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ มีสวนผลไม้ สวนยาง แปลงผักปลอดสาร ฟาร์มเห็ด สุดแต่ความถนัดของเกษตรกรช่วยสร้างรายได้เสริมให้ตลอดปี 

สำหรับการเลี้ยงหมูและการเพาะปลูกพืช ของเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ซึ่งมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก และที่ผ่านมาที่นี่ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรจึงร่วมกับทีมงานของธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่ช่วยสนับสนุนทั้งการผลิตหมูและทุกๆกิจกรรมของเกษตรกร ด้วยการร่วมกันคิดหาวิธีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมคือ “ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)” 

ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด เล่าว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน ถือเป็นนวัตกรรมด้านสังคมที่เกษตรกรร่วมกับซีพีเอฟดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำใช้ จากแต่ก่อนที่เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อน้ำมาใช้มากถึง 50,000 คิว ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละ 1,000,000 บาท ส่งผลกระทบต่อรายของได้เกษตรกร ทุกคนจึงร่วมกันคิดหาวิธีที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับทั้งการเลี้ยงหมูและปลูกพืชได้ทั้งปี โดยนำแนวคิดการทำ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ของหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ มาใช้ ด้วยหลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน ด้วยการขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร 

“เมื่อก่อนพอฝนตกจะเกิดน้ำท่วมขังและไหลทิ้งออกนอกพื้นที่ ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ธนาคารน้ำใต้ดิน คือสถานที่เก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไปกักเก็บไว้ใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำให้ได้มากที่สุด จากบ่อที่ทุกคนร่วมใจกันประดิษฐ์ขึ้นมา ในรูปแบบนวัตกรรมทางธรรมชาติ จัดการน้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินให้ลงไปเก็บไว้ใต้ดิน มีการเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายธนาคารน้ำ ร่วมกับแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เป็นการนำความรู้พื้นฐานการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งด้าน วิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา สังคม ชุมชน และธรรมชาติ ทิศทางการไหลของน้ำ การหมุนของโลกมาผนวกกัน เมื่อมีธนาคารน้ำใต้ดิน พอถึงฤดูแล้งระดับน้ำใต้ดินจะเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรสามารถนำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ได้เพียงพอตลอดฤดูกาล” ภักดี กล่าว 

ธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เริ่มดำเนินการในปี 2563 หลังจากทีมงานได้ศึกษาดูงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเชิญวิทยากรของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ มาให้ความรู้กับเกษตรกร พร้อมวางแผนสำรวจตำแหน่งที่จะทำธนาคารน้ำใต้ดินในหมู่บ้าน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของซีพีเอฟทำการสำรวจข้อมูลปริมาณน้ำใต้ดินเบื้องต้น จนเริ่มสร้างธนาคารน้ำใต้ดินรูปแบบบ่อปิดบริเวณรอบสำนักงานและพื้นที่ส่วนกลาง และทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดที่บ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน โดยน้ำที่นำมาเก็บมาจากหลายแหล่ง ทั้งน้ำฝนที่ตกลงมา และน้ำจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ต่อมาในปี 2564 ต่อยอดสู่ธนาคารน้ำใต้ดินรูปแบบรางระบายน้ำบริเวณถนนภายในหมู่บ้านฯ และในปี 2565 ผลักดันสู่แหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจได้มาศึกษาดูงาน 

ปัจจุบันที่นี่มีธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดบริเวณพื้นที่ส่วนกลางรวม 31 บ่อ แบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อปิด 30 บ่อ และแบบรางระบายน้ำ 1 บ่อ ส่วนธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดบริเวณรอบหมู่บ้านมีทั้งหมด 64 บ่อ แบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อปิด 9 บ่อ และรูปแบบรางระบายน้ำจำนวน 55 บ่อ ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ภายในฟาร์ม ส่วนธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บ่อเดิม ความจุ 37,000 ลบ.ม. โดยทำการขุดบ่อเพิ่มเติมเพื่อเก็บกักน้ำให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เชื่อมต่อจากบ่อเดิม อีก 1 บ่อ มีความจุ 17,000 ลบ.ม. ทำให้สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้มากกว่า 18 เดือน จึงช่วยแก้ไขทั้งปัญหาภัยแล้ง การขาดน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังทั้งภายในและภายนอกฟาร์ม เพิ่มปริมาณระดับน้ำบาดาลในพื้นที่เก็บไว้ใช้อนาคต และเพิ่มความอุมดมสมบูรณ์ของพื้นดินสำหรับปลูกพืช ความสำเร็จนี้ได้ถูกต่อยอดไปยังฟาร์มหมูของธุรกิจสุกรซีพีเอฟภาคตะวันออกอีก 6 แห่ง รวมถึงขยายผลไปยังธุรกิจสุกรใน ซี.พี.ลาว ด้วย 

“ธนาคารน้ำใต้ดินเปรียบเสมือนการฝากน้ำไว้กับดิน เป็นการเก็บน้ำส่วนเกินเพื่อเติมน้ำที่ขาด ช่วยแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งทุกปี และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำได้ถึงปีละ 1 ล้านบาท เกษตรกรและทีมงานซีพีเอฟทุกคนภูมิใจที่ ได้มีโอกาสเปิดรับผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานธนาคารน้ำใต้ดินของเราและนำไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้ และให้คำปรึกษาเรื่องการทำธนาคารน้ำแก่หน่วยงานต่างๆ และยังได้ไปร่วมงานสัมมนาบริหารจัดการน้ำนานาชาติด้วย” ภักดี กล่าว 

หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าพิสูจน์ ทำให้เห็นแล้วว่าน้ำบาดาลและแหล่งน้ำใต้ดินมีความสำคัญ และเป็นแหล่งขุมทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ หากมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 038-557-081 ./

กิจกรรมอื่น ๆ
“Waste No More สานต่อความยั่งยืน” ... ธุรกิจสุกร CPF คิดสร้างสรรค์ … ฟื้นคืนของเสียสู่ของดีอย่างมีประสิทธิภาพ 
06 พ.ย. 2567
“Waste No More สานต่อความยั่งยืน” ... ธุรกิจสุกร CPF คิดสร้างสรรค์ … ฟื้นคืนของเสียสู่ของดีอย่างมีประสิทธิภาพ 
บางจากฯ จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF
28 ต.ค. 2567
บางจากฯ จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF

Tag:

#MoU #SAF #oil 
เจ้าแรกของไทย! 'ห้าดาว' ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกได้รับรองมาตรฐาน FSC สร้างต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์ยั่งยืน
08 ต.ค. 2567
เจ้าแรกของไทย! 'ห้าดาว' ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกได้รับรองมาตรฐาน FSC สร้างต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์ยั่งยืน
ซีพีเอฟหนุนพันธมิตรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน มอบรางวัลคู่ค้าธุรกิจยอดเยี่ยม ในงาน Partner Day 2024
04 ต.ค. 2567
ซีพีเอฟหนุนพันธมิตรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน มอบรางวัลคู่ค้าธุรกิจยอดเยี่ยม ในงาน Partner Day 2024
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x