เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับสร้างความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีกว่าของคนรุ่นถัดไปภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainovation)
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
CPF ปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกร ... ต้นแบบความร่วมมือบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน      
14 ก.พ. 2568
CPF ปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกร ... ต้นแบบความร่วมมือบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน      

 
  
การสร้างความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญในการรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เป็นต้นเหตุของภัยแล้ง น้ำท่วม  ฯลฯ และต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน

 

เป็นเวลามากกว่า 20  ปีมาแล้ว ที่ความร่วมมือขับเคลื่อน “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร” ส่งผลเชิงบวกต่อเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในแง่ของผลผลิตที่ดีขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ลดลง จากการลดการใช้ปุ๋ยเคมี 

 

ความสำเร็จของกระบวนการบริหารจัดการน้ำภายในองค์กรของซีพีเอฟ ที่นำน้ำหลังการบำบัดด้วย Biogas ในฟาร์มเลี้ยงสุกร ซึ่งเป็นน้ำที่ยังมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับพืช เรียกว่า “น้ำปุ๋ย” กลับมาใช้ประโยชน์ในฟาร์ม ทั้งรดต้นไม้ สนามหญ้า และแปลงผักปลอดภัย ที่พนักงานปลูกในพื้นที่ว่างของฟาร์มไว้เพื่อบริโภค และด้วยสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกๆปี  น้ำปุ๋ยจากฟาร์ม จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรโดยรอบ

 

สิงห์คำ อินทะ เกษตรกรรุ่นบุกเบิกที่รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มสุกรจอมทอง จ.เชียงใหม่ มาใช้กับไร่ข้าวโพดหวาน มานานกว่า 20 ปี เล่าว่า เริ่มแรกที่ขอใช้น้ำปุ๋ยเพราะต้องการลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี เมื่อใช้น้ำปุ๋ยที่มีแร่ธาตุไนโตรเจนสูงเหมาะกับข้าวโพดหวาน ต้นโตไว ฝักใหญ่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น รายได้จึงเพิ่มตาม และยังลดค่าปุ๋ยได้ถึง 50-70% จากนั้นเกษตรกรรอบข้างก็ชวนกันมาใช้น้ำปุ๋ย ปัจจุบันใช้อยู่ 15 ราย ทั้งปลูกข้าวโพดหวานและผักสวนครัวโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ที่ผ่านมาไม่ต้องเสี่ยงกับภัยแล้ง มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี

 

ด้าน ณรงค์สิชณ์ สุทธาทิพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาเกษตรกร และประธานหมอดินจังหวัดจันทบุรี เล่าว่า รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มสุกรจันทบุรี 2 ซึ่งปัจจุบันปรับปรุงเป็นระบบท่อลำเลียงน้ำที่เปิดใช้วันละ 2-4 ราย ให้เกษตรกร 20 ราย บนพื้นที่ 200 กว่าไร่ ใช้ในสวนผลไม้ ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ กล้วย เฉพาะตนเองใช้ในสวนทุเรียน 10 กว่าไร่ ผลผลิตดีขึ้นมาก ติดผลดี คุณภาพผลผลิตดี เพราะน้ำปุ๋ยมีอินทรีย์วัตถุที่ดีแทนปุ๋ยเคมี ช่วยปรับโครงสร้างดิน ปรับปรุงบำรุงดิน ต้นไม้จึงเจริญงอกงาม ลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีไปกว่า 20-30% 

 

จากความสำเร็จของธุรกิจสุกร เป็นแนวทางที่ดีที่ธุรกิจอื่นๆ นำไปใช้เป็นต้นแบบ อาทิ คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟ จำนวน 9 แห่ง ที่ส่งต่อน้ำปุ๋ยให้เกษตรกรใกล้เคียง วิโรจน์ ใจด้วง ปลูกหญ้าเนเปียร์ บนพื้นที่กว่า 7 ไร่ ซึ่งการปลูกหญ้าต้องใช้ปุ๋ยยูเรียจำนวนมาก จึงเริ่มรับน้ำตั้งแต่ปี 2564 จากฟาร์มไก่ไข่สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยฟาร์มวางระบบท่อยาว 1 กิโลเมตร ส่งมาให้โดยต้องผสมกับน้ำจากคลองชลประทานอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ใช้ตอนหลังเก็บเกี่ยวหญ้าเพื่อปรับสภาพดิน ใช้น้ำ 3-4 เดือนต่อครั้ง หลังใช้พบว่าหญ้าลำต้นอวบใหญ่ใบใหญ่โตเร็ว โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยยูเรียอีกเลย ช่วยลดรายจ่ายไปถึง 4,000 บาทต่อปี และได้ผลผลิตเพิ่มเกือบ 50% 

 

ภูเมฆ ถ้ำขี้นาค เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ต.หนองเสาเล้า อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เล่าว่า ปี 2565 ในพื้นที่มีปัญหาภัยแล้ง ตนเองมีไร่อ้อยติดกับฟาร์มไก่ไข่ขอนแก่น จึงขอน้ำมาทดลองใช้ปลูกอ้อย 30 ไร่ ทางโรงงานต่อท่อน้ำให้ใช้โดยตรง เมื่อใช้ช่วงเตรียมดินสังเกตว่าดินคืนสภาพดี ต้นอ้อยเจริญเติบโตดีลำใหญ่ยาว ได้ผลผลิตไร่ละ 21-22 ตัน จากเดิมได้เพียง 15 ตันต่อไร่ และยังลดค่าปุ๋ยเคมีจากเดิม 9 หมื่นบาทต่อปี หลังใช้น้ำปุ๋ยก็ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีและไม่เคยประสบปัญหาแล้งอีกเลย ส่วนไร่อ้อยอีก 10 ไร่ ในอีกพื้นที่เลือกใช้ปุ๋ยกากไบโอแก๊สที่คอมเพล็กซ์ต่อยอดความสำเร็จของโครงการฯ โดยนำไปใส่รองพื้นก่อนปลูกอ้อย ช่วยประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ 60-70% ผลผลิตเพิ่มกว่า 30%    
 
เสียงสะท้อนจากเกษตรกร ที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ไม่เพียงเกิดประโยชน์กับองค์กร แต่ยังมองรวมไปถึงความมั่นคงด้านน้ำตลอดห่วงโซ่คุณค่าอีกด้วย.

 

คลิกชมคลิป TikTok >> 
https://www.tiktok.com/@cpf.journey/video/7471119244432837896?is_from_webapp=1&sender_device=pc&web_id=7416584634233243154
 

กิจกรรมอื่น ๆ
รร.บ้านเหมืองสองท่อ จ.กาญจนบุรี สอนเด็กนักเรียนเลี้ยงไก่ไข่ สร้างแหล่งอาหารในโรงเรียน ส่งต่อความมั่นคงอาหารสู่ชุมชน
17 ม.ค. 2568
รร.บ้านเหมืองสองท่อ จ.กาญจนบุรี สอนเด็กนักเรียนเลี้ยงไก่ไข่ สร้างแหล่งอาหารในโรงเรียน ส่งต่อความมั่นคงอาหารสู่ชุมชน

Tag:

#Schoollunch #Egg 
ซีพีเอฟ ปลุกพลังผู้นำรุ่นใหม่ ร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เข้าปีที่ 10
17 ธ.ค. 2567
ซีพีเอฟ ปลุกพลังผู้นำรุ่นใหม่ ร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เข้าปีที่ 10
CPF จัดกิจกรรม Together We Share ร่วมสร้างความหลากหลายและเท่าเทียม
16 ธ.ค. 2567
CPF จัดกิจกรรม Together We Share ร่วมสร้างความหลากหลายและเท่าเทียม
ไม่หยุดช่วยเหลือใต้ ... CP - CPF ส่งอาหารจากใจสู้ภัยน้ำท่วม
06 ธ.ค. 2567
ไม่หยุดช่วยเหลือใต้ ... CP - CPF ส่งอาหารจากใจสู้ภัยน้ำท่วม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x